Sunday, 24 November 2024

สมุนไพรไทยรักษามะเร็ง

13 Apr 2021
1609
สมุนไพรไทยรักษามะเร็ง

สมุนไพรไทยรักษามะเร็ง การใช้สมุนไพรไทยในการรักษาโรคร้ายอย่าง โรคมะเร็ง ปัจจุบันก็เห็นมีการวิจัย อย่างกว้างขวางมากขึ้น และวันนี้ทางอินดี้จะมาแนะนำ สมุนไพรไทยที่สามารถ รักษามะเร็งได้ ว่ามีสมุนไพรตัวไหนบ้าง โดยบทความนี้จะอ้างอิงบทความจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรายละเอียดดังนี้

การใช้ สมุนไพรไทยรักษามะเร็ง

การรักษาผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งตามทฤษฎีการแพทย์แผนตะวันตก มี 2 วิธีหลักที่ปฏิบัติกันแพร่หลาย คือ การใช้รังสี และ การใช้เคมีบำบัด ซึ่งทั้งสองวิธี ต่างก็ใช้หลักการเดียวกัน คือ ทำลายเนื้อร้าย แต่ทั้งนี้ไม่สามารถเลือกทำลายเฉพาะเนื้อร้ายได้ เซลล์ดีจำนวนมากต้องถูกทำลายไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วเช่น เซลล์ผม เซลล์ผิวหนัง เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และ เซลล์เม็ดเลือดในไขกระดูก จึงเกิดผลข้างเคียงตามมาเช่น ผมร่วง แผลในปาก ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย อีกทั้งผู้ป่วยยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นอีก จากการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง โดยเหตุนี้จึงมีผู้ป่วยตายด้วยโรคมะเร็งปีละ 50,000 คน นับเป็นการสูญเสียทรัพยากรเนื่องจากเคมีบำบัดล้วนเป็นยานำเข้าทั้งสิ้น ยังไม่นับถึงค่าใช้จ่ายในส่วนบุคลากรที่ต้องใช้เวลาในการอภิบาลผู้ป่วยเหล่านี้เป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถช่วยชีวิตบุคคลเหล่านั้นได้

มะเร็งนับเป็นโรคที่ร้ายแรง และ คร่าชีวิตผู้คนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องมาจนถึงศตวรรษที่ 21 นับเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตในอเมริกา (ร้อยละ 25) ปัจจุบันมีผู้แสวงหาแนวทางอื่นในการรักษามากขึ้น เช่นจากการแพทย์อายุรเวทของอินเดียที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล ในตำราอายุรเวทได้มีการกล่าวถึงมะเร็งว่าเป็นเนื้องอกที่เกิดจากการอักเสบ หรือ ไม่อักเสบก็ได้ อาจเกิดจากความไม่สมดุลย์ของระบบ วาตะ (ระบบประสาท) ปิตตะ (ระบบโลหิตดำ) หรือ เสมหะ (ระบบโลหิตแดง) หนึ่ง หรือ สองระบบ เป็น benign neoplasm แต่ถ้าเกิดจากความผิดปกติของทั้งสามระบบจะกลายเป็น malignant tumour หรือ เนื้อร้ายนั่นเอง

สาเหตุของโรคและ สมุนไพรไทยรักษามะเร็ง

สาเหตุของการเกิดมะเร็งนั้นตำราอายุรเวทได้กล่าวถึงการบาดเจ็บของผิวชั้นที่หกที่เรียกว่า โรหิณี (epithelium) ของกล้ามเนื้อ และ หลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการใช้ชีวิตที่ผิดพลาด การกินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ สุขอนามัยที่ไม่ดี และ พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องอันก่อให้เกิดความไม่สมดุลย์ของระบบในร่างกาย (dosha) นำไปสู่การเกิดเนื้องอก ในแต่ละคนเกิดมะเร็งแตกต่างกันไปแล้วแต่ปัจจัยเสี่ยงและพันธุกรรมซี่งทำให้แต่ละคนมีการตอบสนองต่ออาหารชนิดเดียวกันได้ต่างกัน (ขึ้นอยู่กับ dosha ของแต่ละคน) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสื่อมของระบบในร่างกายได้แก่

  • สิ่งกระตุ้นระบบวาตะ การกินรสขม รสเผ็ด หรือ รสฝาดมากเกินไป อาหารแห้ง หรือ อยู่ในสภาวะเครียดมากไป
  • สิ่งกระตุ้นระบบปิตตะ การกินรสเปรี้ยว รสเค็มมากเกินไป อาหารทอด หรือ อยู่ในสภาวะโกรธมากไป
  • สิ่งกระตุ้นระบบเสมหะ การกินรสหวานมากเกินไป อาหารมัน หรือ ชอบอยู่นิ่งๆเกินไป
  • สิ่งกระตุ้นระบบเลือด (rakta) กินอาหารที่เป็นกรด หรือ เป็นด่างมากเกินไป อาหารทอดหรือย่าง เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ อารมณ์โกรธ หรือ โศกเศร้ามากไป การตากแดดจัด หรือ ทำงานภายใต้ความร้อนนานไป
  • สิ่งกระตุ้นระบบกล้ามเนื้อ (mamsa) การกินอาหารจำพวกเนื้อ ปลา โยเกิต นม และ ครีมมากไป การนอนกลางวัน และ การกินมากเกินไป
  • สิ่งกระตุ้นระบบไขมัน (medo) การกินอาหารประเภทน้ำมัน อาหารหวาน แอลกอฮอลล์ และ ความขี้เกียจ

หลักการรักษามะเร็ง และ สมุนไพรไทยรักษามะเร็ง

หลักของการรักษามี 4 อย่างคือ บำรุงสุขภาพ (health maintenance) รักษาโรค (disease cure) การคืนสู่สภาพปกติ (Rasayana /restoration of normal function) จิตวิญญาณ (spiritual approach) หลักที่สำคัญคือต้องหาสาเหตุของการเจ็บป่วยที่ทำให้เกิดการขาดความสมดุลย์ และ แก้ไขส่วนขาด และ ลดส่วนเกิน โดยทั่วไปจะเป็นส่วนประกอบของสมุนไพรหลายๆ ชนิด ซึ่งจะเข้าไปช่วยระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายพร้อมๆ กัน และ บำรุงร่างกายไปด้วย สมุนไพรสามารถออกฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้

  • ระงับการสร้างเส้นเลือดใหม่ (antiangiogenesis)
  • ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง (antiproliferative)
  • ระงับการอักเสบ
  • ซ่อมแซม DNA
  • ต้านการอ็อกซิไดส์ กำจัดอนุมูลอิสระ
  • ยับยั้งจุลชีพ เป็นต้น สมุนไพรต่อไปนี้ล้วนมีผลการทดสอบที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษามะเร็ง

สมุนไพรที่สามารถรักษามะเร็งได้

ปัจจุบันการวิจัยของไทยพบว่าสมุนไพรไทยหลายตัวสามารถยังยั้งการเกิดมะเร็งได้ แต่ทั้งหมดก็อยู่ในขั้นตอนของการทดลองเท่านั้น ยังไม่มีการทดลองจริงในคน แต่ก็มาดูกันว่าสมุนไพรตัวไหนรักษายับยั้งมะเร็งได้บ้าง

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรไทยรักษามะเร็ง

ฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ในอินเดียใช้กันมานานรักษาไทฟอยด์ แก้อักเสบ แก้มาเลเรีย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน สารสำคัญคือ andrographolide สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด

สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และ ยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งช่องปาก งานวิจัยบางชิ้นได้มีการทดสอบการออกฤทธิ์ของสาร androgra-pholide ในฟ้าทะลายโจร และ พบว่ามีฤทธิ์ในการเพิ่มอัตราการตายของเซลล์มะเร็ง ตับบางชนิด และ ยับยั้งการลุกลามของมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งปอด

สมุนไพรไทยหลายชนิดมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคต่างๆได้อย่างอัศจรรย์ อย่างเช่น ฟ้าทะลายโจร ที่เราคงเคยได้ยินว่ามีสรรพคุณในการลดไข้บรรเทาอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำมูกไหล แต่ล่าสุด นักวิจัยไทยได้ค้นพบสรรพคุณในการต้านมะเร็งของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร

ฤทธิ์การต้านมะเร็งของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร andrographolide ต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี ว่า ที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยทั้งในระดับเซลล์ และ สัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และ ยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งช่องปาก งานวิจัยบางชิ้นได้มีการทดสอบการออกฤทธิ์ของสาร androgra-pholide ในฟ้าทะลายโจร และ พบว่ามีฤทธิ์ในการเพิ่มอัตราการตายของเซลล์มะเร็ง ตับบางชนิด และ ยับยั้งการลุกลามของมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งปอด แต่ยังไม่มีการ ศึกษาวิจัยถึงการออกฤทธิ์ของสารชนิดเดียวกันในมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งคนไทยโดยเฉพาะในภาคอีสานเป็นกันมาก

ที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีมักไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยรังสี และ เคมีบำบัด จึงน่าที่จะมีการวิจัยวิธีการรักษาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มนี้ ซึ่งหากงานวิจัยครั้งนี้สำเร็จจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีเป็นอย่างมาก

มะตูม

มะตูม

มะตูม (Aegle marmelos) สารจากผลมะตูมสามารถยับยั้ง thyroid cancer และ มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัส และ ต้านการอักเสบ เชื่อกันว่ามะตูมมีสรรพคุณในการรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ ซึ่งจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของมะตูมในการต้านเซลล์มะเร็ง และ ป้องกันสารเคมีบางชนิด ซึ่งอาจส่งผลดีต่ออาการของโรค ดังปรากฏในการศึกษากับเซลล์มะเร็งบางชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการยับยั้งเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และ มะเร็งระบบประสาทนิวโรบลาสโตมา

นอกจากนี้ การรับประทานมะตูมยังอาจส่งผลดีต่ออาการของโรคมะเร็งตับ เนื่องจากมีการทดลองในสัตว์ชิ้นหนึ่งเผยให้เห็นว่าหนูที่ป่วยเป็นมะเร็งตับมีอาการอักเสบ และ การเจริญเติบโตของเนื้อร้ายลดลงหลังจากได้กินสารสกัดมะตูมเข้าไป ทั้งนี้ สารสกัดมะตูมจะมีประสิทธิภาพ และ ปลอดภัยต่อการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมากน้อยเพียงใด จำเป็นต้องมีการทดสอบกับผู้ป่วยจริงโดยตรงต่อไป เนื่องจากงานวิจัยในปัจจุบันล้วนศึกษากับสัตว์ หรือ เซลล์มะเร็งในหลอดทดลองเท่าน้้น ไม่อาจรับรองผลได้อย่างชัดเจนหากนำมาใช้รักษาคน สำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานมะตูมเพื่อสรรพคุณทางยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากมะตูมอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อภาวะสุขภาพบางประการ หรือ ทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคบางตัวได้

บัวบก

บัวบก

บัวบก (Centella asiatica) มีสาร asiaticoside ที่ช่วยให้แผลเรื้อรังหายได้เร็วขึ้น เพิ่มภูมิคุ้มกัน และ ในบราซิลมีการใช้เพื่อรักษามะเร็งมดลูก คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยถึงการวิจัยศึกษา และ พัฒนาผลิตภัณฑ์ จากบัวบกที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ว่า จากการทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากบัวบก ต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูขาว พบว่า สารสกัดจากบัวบกมีฤทธิ์ป้องกัน และ ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างดี โดยกลุ่มหนูขาวที่ถูกกระตุ้นให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลังจากการได้รับสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในอาหารประเภทปิ้ง-ย่าง ตรวจพบจำนวนเซลล์ก่อมะเร็งขนาดใหญ่ และ มีเซลล์มะเร็ง ที่มีลักษณะเป็นเซลล์ร้าย และ ลุกลาม ขณะที่กลุ่มหนูขาว ซึ่งได้รับสารสกัดจากใบบัวบก ไม่ว่าก่อน หรือ หลัง ถูกกระตุ้นให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบจำนวนเซลล์ก่อมะเร็งลดลงถึง 60% โดย เซลล์มีขนาดเล็กกว่า และ ยังไม่เกิดการลุกลาม นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า ในสารสกัดบัวบก มีสารสำคัญอย่างน้อยหนึ่งตัว คือ กรดอะเซียติก (Asiatic acid) ที่อาจเป็นสารออกฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งเกิดการทำลายตัวเอง

เพื่อให้ สามารถกำหนดปริมาณในการบริโภคสารสกัดจากบัวบก สำหรับป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิผล ทีมวิจัยยังได้เจาะเลือดหนูขาวมาทำการศึกษาวัดอัตรา และ ขอบเขตการออกฤทธิ์ของสารออกฤทธิ์ภายหลังการป้อนสารสกัดมาตรฐานจากบัวบก โดยพบว่า หนูขาวสามารถดูดซึมสารสำคัญได้ในเวลา 10 นาที และ เพิ่มปริมาณสูงสุด ที่เวลา 1 ชั่วโมง

จากนั้น สารสกัดจะค่อยๆ ลดลงจนระทั่งหายไปจากซีรั่มภายใน 6 ชั่วโมง ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้คำนวณสำหรับวางแผนวิจัยเชิงคลินิกในอาสาสมัคร สำหรับหาปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมในมนุษย์ต่อไป โดยหลังจากนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการเผยแพร่เทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน เพื่อนำไปต่อยอดผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพทางเลือกใหม่ที่จะช่วยป้องกันการ เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ต่อไปในอนาคต

ขมิ้น

ขมิ้น

ขมิ้น (Curcuma longa) สารสำคัญคือ curcumin มีฤทธิ์ต้านการอ็อกซิไดส์ และ ต้านการอักเสบที่แรง สามารถทำให้เกิดการตายของเซลมะเร็งหลายชนิดเช่น ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ กระเพาะ ลำไส้เล็ก รังไข่ และ ยังมีฤทธิ์ต้านไวรัส แบคทีเรีย และ ราอีกด้วย

ขมิ้นชัน นอกจากนิยมใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหารยังถือเป็นสมุนไพรโบราณที่คนเอเชียนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และ แก้อาการเจ็บปวดต่างๆ มีงานวิจัยมากมายจากทั่วโลกค้นพบตรงกันว่า สารเคอร์คูมินอนยด์ในขมิ้นชัน มีคุณประโยชน์สารพัดตั้งแต่บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยต้านการอักเสบบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และ สมอง ปกป้องตับจากสารพิษ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และ เชื้อรา กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ไปจนถึงป้องป้องอัลไซเมอร์ และ ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด มะเร็งไข่ มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม

ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นพืชสมุนไพรนิยมใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งรส และ สีผสมอาหาร ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และ อาจมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร และ มะเร็งผิวหนัง ซึ่งผลการศึกษานี้เป็นเพียงผลวิจัยในระดับเซลล์ และ สัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารนี้ช่วยป้องกัน หรือ รักษามะเร็ง นอกจากนี้การดื่มน้ำขมิ้นชันอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการป้องกันมะเร็ง หากประชาชนยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือ รับประทานอาหารที่อาจปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันมีหลายรูปแบบ เช่น เหง้าสด เหง้าแห้ง ผง แคปซูล ยาเม็ด ยาทาผิวหนัง และ เครื่องดื่มชาขมิ้นชัน แม้ว่าจะเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษา และ ขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนรับประทาน

หญ้างวงช้างดอกขาว

หญ้างวงช้างดอกขาว

หญ้างวงช้างดอกขาว (Heliotropium indicum) อายุรเวทใช้ใบในการรักษาไข้ ลมพิษ แผล การอักเสบเฉพาะที่ กลาก ปวดข้อ (rheumatism) มีอัลคาลอยด์ Indicine-N-oxide ที่มีฤทธิยับยั้งเนื้องอก มีการทดลองทางคลีนิคในลิวคีเมีย และ solid tumour

สารจากหญ้างวงช้างที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูทดลอง ทำให้มีกาบิดตัวของมดลูกแรงขึ้น นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Schwartz) ได้ในระยะหนึ่ง โดยทำให้คนไข้ยืดต่อเวลาของชีวิตไปได้อีกระยะหนึ่ง

ว่านหางจรเข้

ว่านหางจรเข้

ว่านหางจรเข้ (Aloe vera) มีสาร aloe-emodin ที่กระตุ้น macrophage ให้กำจัดเซล์ลมะเร็ง และยังมี acemannan ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ว่านหางจรเข้ช่วยกระตุ้นการเจริญของเซลล์ปกติและยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง

ในว่านหางจระเข้มีสาร Aloe-Emodin ที่สามารถกระตุ้น Macrophage ให้ออกมาทำหน้าที่ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง และ ยังมี Acemannan ที่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ และ ช่วยยับยั้งไม่ให้เซลล์นั้นๆ เปลี่ยนมาเป็นเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย และ สำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฉายรังสี ย่อมมีรอยไหม้เกิดขึ้นที่ผิวแน่นอน แต่สามารถนำวุ้นว่านหางจระเข้มาประคบผิวที่เกิดรอยไหม้หลังทำคีโมได้ แถมยังช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้ดี และ ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวรวดเร็วขึ้นด้วย

ว่านหางจระเข้แบบเข้มข้นสามารถกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาวที่อาจจะช่วยต่อสู้กับเชื้อไวรัสและเนื้องอกได้ ว่านหางจระเข้ประกอบไปด้วยโปรตีน แคลเซียม แมกนีเซียม วิตามิน เอ บี 12 และอี กรดไขมันที่จำเป็น และมีวิตามินซีมาก ซึ่งช่วยบำรุงเส้นโลหิต และช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น นอกจากนี้น้ำว่านหางจระเข้ยังเป็นสิ่งที่ล้างพิษร่างกายได้ดีเยี่ยม จากกระเพาะ ตับ ไต ตับอ่อน กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้

การดื่มน้ำว่านหางจระเข้ทุกวัน อาจช่วยลดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคหัวใจและโรคไตและไม่พบผลร้ายแม้จะให้ในปริมาณมาก ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางราย ยังพบว่าว่านหางจระเข้ดูเหมือนจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ พบพละกำลัง และอาจจะช่วยลดอาการเม็ดเลือดต่ำจากการทำคีโม หรือฉายแสง

กะเพรา 

กะเพรา

กะเพรา (Ocimum sanctum) เป็นสมุนไพรที่ใช้ในการแพทย์โบราณหลายระบบ เช่นอายุรเวท สิธธา ยูนานนิ กรีก โรมันเป็นต้น ใช้ในระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ หัวใจ ผิวหนัง ฯลฯ

กะเพรานับเป็นพืชอีกชนิดที่ผู้คนเชื่อว่ามีสรรพคุณป้องกันมะเร็ง ประเด็นนี้ถูกนำมาศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลาย งานวิจัยชิ้นหนึ่งศึกษาสรรพคุณของกะเพราที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งช่องปาก โดยนำเอาสารสกัดทั้งชนิดน้ำและผงจากใบกะเพราเข้มและกะเพราอ่อนมาทดลองกับเซลล์มะเร็งช่องปาก พร้อมทั้งวัดผล พบว่าสารสกัดจากใบกะเพราทั้ง 2 ชนิดมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งช่องปากอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่ากะเพราลดการแพร่กระจายของเนื้อร้ายได้ โดยงานวิจัยที่ศึกษาในหลอดทดลองได้ศึกษาสรรพคุณของกะเพราที่ช่วยต้านการกระจายเซลล์มะเร็งและอาการอักเสบ พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบกะเพราที่มีความเข้มข้น 250 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรขึ้นไป ช่วยลดจำนวนการแพร่เชื้อของเซลล์มะเร็งอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังลดการอักเสบของเซลล์ สอดคล้องกับงานวิจัยอีกชิ้น ซึ่งนำสารสกัดจากใบกะเพรามาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเซลล์มะเร็งตับอ่อน พบว่ากะเพรามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับอ่อนไม่ให้แบ่งตัว แพร่กระจาย หรือลุกลาม อีกทั้งยังทำลายเซลล์เหล่านั้น อาจกล่าวได้ว่าสารสกัดจากใบกะเพรามีสารอาหารบางอย่างที่ช่วยต้านมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองจากงานวิจัยทั้ง 3 ชิ้นนี้จำเป็นต้องศึกษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลรับรองสรรพคุณทางยาดังกล่าว เนื่องจากงานวิจัยเหล่านี้ศึกษาในห้องทดลอง จึงไม่อาจชี้ชัดว่ากะเพราช่วยต้านมะเร็งได้จริง ทั้งนี้ วิธีป้องกันมะเร็งที่ได้ผลและปลอดภัยต่อสุขภาพทำได้โดยเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้ป่วยเป็นมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไม่สูบบุหรี่ ส่วนผู้ป่วยมะเร็งควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์อย่างเหมาะสม

ทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศ (Anona muricata) สาร acetogenin จากผลทำให้เซลล์มะเร็งตายได้ จากข้อมูลสรรพคุณทางภูมิปัญญาของใบทุเรียนเทศ จะเห็นได้ว่าภูมิปัญญาในหลายประเทศมีการใช้ใบทุเรียนเทศในการลดความดันโลหิต ช่วยสงบ ระงับ นอนไม่หลับ ปวดข้อ รูมาตอยด์ และปวดปลายประสาท ไม่มีการกล่าวถึงการใช้รักษาโรคมะเร็ง มีแต่ในประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศทางอัฟริกา ที่มีปัญหาของโรคมะเร็งและพบว่าประชาชนเข้าถึงยาแผนปัจจุบันได้น้อย ทำให้อัตราการตายด้วยโรคมะเร็งสูงจึงใช้ใบทุเรียนเทศในการรักษาโรคมะเร็ง โดยการนำใบมาต้มกับน้ำโดยอิงข้อมูลจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี 1940 ไม่ใช่สรรพคุณทางภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศทางยุโรปมีผลิตภัณฑ์ใบทุเรียนเทศหลายรูปแบบ ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมกับยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ รูปแบบชาชง (infusion) โดยรับประทานครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 3 ครั้ง รูปแบบยาทิงเจอร์ รับประทานครั้งละ 3-4 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง รูปแบบยาผงบรรจุแคปซูล รับประทานขนาด 2 กรัม วันละ 3 ครั้ง

การบริโภคใบทุเรียนเทศในรูปแบบยาต้มหรือยาชง ก็จะมีความปลอดภัยมากกว่าการบริโภครูปแบบยาทิงเจอร์ หรือยาดอง หรือยาผง แต่การจะมีผลในการรักษาโรคมะเร็งหรือไม่คงต้องมีการศึกษาในรายละเอียดอีกมากมาย ในการที่ประเทศที่ยากจนจะนำใบทุเรียนเทศมาใช้เป็นทางเลือกหนึ่ง ในการรักษามะเร็ง คงเป็นการแก้ปัญหาที่ประชาชนเข้าถึงยาแผนปัจจุบันได้ไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงแต่อย่างไรการใช้ทุเรียนเทศอาจจะต้องปรึกษาคุณหมอก่อน

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด (Tinospora cordifolia) สารสำคัญจากบอระเพ็ดกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการเพิ่มระดับเม็ดเลือดขาว และสามารถลดขนาดเนื้องอกได้ 58.8% เทียบเท่า cyclophosphamide

ถ้าเรานึกถึงสมุนไพรอย่างบอระเพ็ดคนที่เคยกินจะบอกเป็นคำเดียวกันว่า ขมมากมากจนสามารถทำให้เด็กหย่านมแม่ได้ขาด และด้วยความขมของมันทำให้คนสมัยก่อนเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งการนำบอระเพ็ดมารับประทานบางคนก็จะเคี้ยวสดๆ บางคนก็ทำเป็นยาลูกกลอนผสมกับน้ำผึ้งทำให้เรารับประทานง่ายขึ้น

บอระเพ็ดเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อนเถาอ่อนผิวเรียบบสีเขียว เถาแก่สีน้ำตาลอมเขียว ผิวขรุขระ เป็นปุ่มๆยางมีรสขมจัด สารสำคัญในบอระเพ็ด คือ พิโครเรติน ( picroretin ) เป็นสารที่ทำให้บอระเพ็ดมีรสขม และเอ็นทรานส์เฟรูโลอิลไทรามีน (N-trans-feruloyltyramine) มีสรรพคุณช่วยในการระงับความร้อนได้ดี สามารถลดอาการไข้ ลดคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือด และช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นที่มาของโรคมะเร็ง

บอระเพ็ดมีสาร 2 ชนิดที่สามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งได้ ซึ่งสารชนิดนี้มีอยู่ในเถาของบอระเพ็ด ได้แก่ สารพิโครเรตินและสารเอ็นทรานส์เฟรูโลอิลไทรามีน มีสรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระอันเป็นสารก่อมะเร็งโดยมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งในเม็ดเลือด มะเร็งในท่อน้ำดี เป็นต้น

การใช้ยาสมุนไพรในการรักษามะเร็งในปัจจุบันยังไม่ได้มีการทดลองในคนอย่างจริงจัง ส่วนมากจะใช้สมุนไพรกับสัตว์ทดลอง หรือ ห้องทดลอง ดังนั้นการใช้สมุนไพรรักษามะเร็งควรจะสอบถามแพทย์ด้วย

ขอบคุณบทความจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save