บล็อกเชนคืออะไร คือ เทคโนโลยีการประมวลผล และ จัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือ ที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก ช่วยเพิ่มความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล
บล็อกเชนคืออะไร
บล็อกเชน ถ้าแปลแบบตรงๆ บล็อก (Block) คือ การเก็บข้อมูลแบบนึงที่เก็บเป็นส่วนๆ และ นำมาร้อยต่อกันเรื่อยๆ เหมือนโซ่คล้องกัน (Chain) โดยมีวิธีเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัย ที่ทำให้รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บ ณ เวลาใด มีการแก้ไข หรือ เปล่า โดยข้อมูลทั้งหมดจะส่ง และ กระจายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย
ดังนั้น ข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปแล้ว จึงมีความน่าเชือถือเพราะทุกคนในเครือข่ายจะเห็นการเปลี่ยนแปลงพร้อมๆ กัน ถ้าใครอยากจะแก้ไขก็มีทางเดียว คือ ต้องไปแก้ในเครื่องของทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายนั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยากมากเมื่อเครือข่ายนั้นๆ ใหญ่พอ
ดังนั้น เมื่อเรานำเอาบล็อกเชนมาใช้ในเงินดิจิทัล โดยเก็บข้อมูลจำนวนเงินที่ทุกคนมี จำนวนการโอนทุกครั้งของทุกๆ คน เข้าไปในบล็อกแต่ละบล็อกต่อกันไปเรื่อยๆ และ กระจายไปให้ทุกคนรับรู้ ก็ทำให้เงินดิจิทัลนั้นมีความโปร่งใส ปลอดภัยจากการแก้ไขโดยคนใดคนหนึ่ง และ ที่สำคัญเมื่อเรากระจายไปให้ทุกคนแล้ว จึงลดความเสี่ยงว่าระบบจะล่มพร้อมกันทั้งหมดทำให้ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้หายไปได้ด้วย
คุณสมบัติของบล็อกเชน
- ติดตาม และ บันทึกข้อมูลได้
- Blockchain สร้างความน่าเชื่อถือได้ และ ไม่สามารถแก้ไขได้
- การตัดตัวกลางทิ้งไป และ ลดค่าใช้จ่าย
บล็อกเชน กับธุรกิจการเงิน
ซึ่งเป็นธุรกิจแรกๆ ที่บล็อคเชนถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ ตัวอย่างชัดๆ ก็ คือ โครงการอินทนนท์ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะใช้บล็อกเชนมาแทนเครือข่ายบาทเน็ตที่ใช้ระหว่างธนาคาร หรือ โครงการ JFIN ของทางเจมาร์ท (JMART) นำบล็อกเชนมาจัดการเรื่อง ข้อมูลลูกค้า และ Credit Score บนระบบกู้ยืมทางออนไลน์ เป็นโอกาสใหม่ของคนไทยส่วนใหญ่ที่ปัจจุบันยังไม่มีทางเลือกมากนักในการรับบริการทางการเงิน ต้องไปกู้เงินนอกระบบ หรือ ไปจนถึงการใช้ Token ในการระดมทุนต่างๆ ทั้ง ICO IEO หรือ STO ที่ได้เคยกล่าวมาในบทความก่อนหน้า
Smart Contact คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นบน บล็อกเชน เพื่อทำหน้าที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า แบบไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น ธนาคาร ซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีการตกลงกันถึงขั้นตอน และ กลไกในการทำธุรกรรมดังกล่าว โดยต่อจากนี้ คือ ตัวอย่างที่บล็อกเชนเริ่มเข้าไปมีบทบาทสำคัญ
Smart Contact จะพลิกโฉมการขอสินเชื่อต่าง ๆ หรือ แม้แต่การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน อย่างเช่น บ้าน รถยนต์ และ ที่ดิน ให้มีความสะดวกรวดเร็วจากการทำสัญญาแบบอัตโนมัติ รวมถึงสามารถตรวจสอบความโปร่งใสของธุรกรรมได้
จุดกำเนิดของ Blockchain
เมื่อปี 2008 ในช่วงวิกฤตเศษฐกิจครั้งใหญ่ที่เราเรียกว่า Global Financial Crisis บุคคลนิรนามที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์ขึ้นมา โดยออกแบบให้บิทคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกในประวัติศาสตร์ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ ทุกคนสามารถถือเงิน และ โอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ เช่นธนาคาร และ ที่สำคัญ มันไม่ได้ถูกสร้าง หรือ ควบคุมโดยรัฐ หรือ องค์กรใด ๆ
ณ วันนั้น ไม่ใช่เพียงบิทคอยน์ แต่เทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย
ซึ่ง Blockchain นี่แหละ คือ เทคโนโลยีที่ทำให้บิทคอยน์ทำในสิ่งที่ไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน หลัก ๆ แล้ว Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างระบบที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอีกต่อไป หรือที่เรียกว่า Trustless System ซึ่ง Bitcoin Network ถือว่าเป็นระบบแรก โดยมีตัว Bitcoin ที่เป็นสกุลเงินใช้งานบนนั้น
ไม่มี Bitcoin ก็ไม่มี Blockchain อาจเป็นเพราะโจทย์ของ Satoshi Nakamoto คือ ทำยังไงถึงจะสร้างสกุลเงินที่ไร้ตัวกลาง ไร้คนควบคุม เขาก็เลยคิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ขึ้นมาเพื่อทำให้เขาสร้างบิทคอยน์ได้สำเร็จ
บล็อกเชนคืออะไร ทำไมถึงเรียกว่า Blockchain
Blockchain คือ วิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และ ทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง
สิ่งที่ทำให้ Blockchain ต่างจากการเก็บบัญชีแบบอื่นคือ เราไม่ได้กลับไปเปิดกล่องบัญชีเก่าเพื่อแก้ หรือ อัพเดทข้อมูลธุรกรรม แต่กล่องธุรกรรมใหม่จะถูกสร้างขึ้นเรื่อยๆไปในทางเดียว โดยจะเชื่อม และ อ้างอิง reference กับกล่องเก่าอยู่เสมอ ในลักษณะของกล่องหลายๆกล่องที่มีโซ่เชื่อมกัน มันถึงเรียกว่า Blockchain นั้นเอง
บล็อกเชนกับอุตสาหกรรมอื่นๆ
นอกจากการใช้บล็อกเชนเพื่อโอนบิทคอยน์แล้ว เรายังสามารถใช้บล็อกเชนเพื่อโอนถ่ายข้อมูล หรือ มูลค่าอื่นๆ ได้ด้วยเช่น นายหน้าขายที่ดินที่ประเทศจีนอาจจะอยากทำ smart contract กับลูกค้ามหาเศรษฐีชาวซาอุดิอาระเบีย เพื่อให้การติดต่อสื่อสารข้ามโลกนี้เป็นไปได้อย่างสะดวก อีกทั้งเต็มไปด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ข้อมูลตรงกันทั้งสองฝ่าย เทคโนโลยีบล็อกเชนจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ ที่จะเข้ามาเป็นตัวกลางเติมเต็มความต้องการของทั้งสองฝ่ายได้