วันนี้ทาง Indydiary จะเล่าถึงประสบการณ์ ของการใช้บริการ คลินิกฝากท้อง กับการฝากท้องลูกคนแรก โดยในส่วนแรกของ บทความจะเล่าถึง ความจำเป็นของการฝากครรภ์ให้ได้อ่านกันก่อน
การฝากครรภ์ คืออะไร ทำไมต้อง คลินิกฝากท้อง
จากบทความที่แล้วทาง indydiary เล่าถึงการเลือกใช้ชุดตรวจการตั้งท้อง สามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ ชุดตรวจการตั้งครรภ์ ตรวจยังไงให้แม่นยำ การฝากครรภ์ คือ การดูแลการตั้งครรภ์ของสตรี และ ทารกในครรภ์ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งการให้ความรู้ และ คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ โดยมีการนัดตรวจติดตามสุขภาตลอดระยะการตั้งครรภ์
ทำไมต้องฝากครรภ์ และการเลือก คลินิกฝากท้อง
จุดมุ่งหมายในการฝากครรภ์นั้น เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่ และ ทารกใน ครรภ์ยังคงมีสุขภาพดี แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ หากมีปัญหาหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างนั้น คุณแม่จะได้รีบปรึกษาคุณหมอ และ เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที หญิงมีครรภ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านโภชนาการ การใช้ยาต่างๆ เพศสัมพันธ์ การเตรียมตัวสำหรับการคลอด และการให้นมบุตร รวมทั้งการวางแผนครอบครัวหลังจากคลอดบุตรแล้ว นอกจากนั้นยังต้องรู้จักสังเกตความผิดปกติของการตั้งครรภ์และอาการเจ็บครรภ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หญิงมีครรภ์จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือพยาบาลเมื่อมาฝากครรภ์
การตรวจสุขภาพของมารดาและทารกเมื่อได้รับการฝากครรภ์
เมื่อหญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ แพทย์จะซักประวัติ แพทย์จะซักประวัติการขาดประจำเดือน โรคประจำตัวต่างๆ การตั้งครรภ์ และ การคลอดในอดีต ตลอดจนสภาวะของทารกในครรภ์ก่อนๆ ตรวจร่างกาย และ ตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่ามีการตั้งครรภ์ และ ค้นหาสภาวะที่ต้องระวังสำหรับการตั้งครรภ์ครั้งนี้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการบางอย่างจำเป็นต้องทำเมื่อมีการตั้งครรภ์
- การตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ และ ดูความผิดปกติของภาวะไตหรือครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia)
- การตรวจดูความเข้มข้นเลือด ดูภูมิคุ้มกัน และ โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่จะกระทบต่อเด็กในครรภ์ได้
- การตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อดูอายุครรภ์ ดูความผิดปกติของทารก เช่น ความพิการต่างๆ การเต้นของหัวใจเพื่อประเมินว่าเด็กมีชีวิตหรือไม่
การเฝ้าติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์
3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกจะอยู่ในอุ้งเชิงกราน อายุครรภ์ครบ 5 เดือน ยอดมดลูกอยู่ที่ระดับสะดือ และ อยู่เกือบถึงลิ้นปี่เมื่อครรภ์ครบกำหนด ส่วนน้ำหนักของแม่ใน 3 เดือนแรกจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะหญิงมีครรภ์มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและรับประทานอาหารได้น้อย หลังจากนั้นน้ำหนัก จะเพิ่มขึ้นประมาณ เดือนละ 1-1.5 กิโลกรัม โดยตลอดการตั้งครรภ์น้ำหนักของแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม ทั้งนี้เป็นส่วนของเด็ก รก และน้ำคร่ำประมาณ 5 กิโลกรัม เป็นส่วนของมดลูกและส่วนอื่นของแม่อีก 7 กิโลกรัม
สิ่งที่หญิงมีครรภ์ควรสังเกตและพึงระวัง!!!
- ก่อนใช้ยาทุกประเภท ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
- บุหรี่ และ แอลกอฮอล์ ทำให้ทารก มีน้ำหนักน้อย
- ถ้าทารกดิ้นน้อยลง หรือ หยุดดิ้น ต้องรีบไปพบแพทย์
- การบวมทั้งตัว มักแสดงถึงพยาธิสภาพของไต หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษ
- น้ำเดิน เกิดจากการที่ถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือ แตก ซึ่งควรจะมีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ไม่ใช่มูก
- อาการเลือดออกเล็กน้อย โดยเฉพาะที่มีมูกปน
- ในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ บางคนจะมีอาการเจ็บครรภ์ เพราะมดลูกรัดตัวแต่ไม่สม่ำเสมอ และ อาการปวดมักจะอยู่บริเวณท้องน้อย หรือ ขาหนีบ อาการเจ็บครรภ์แบบนี้เรียกว่า “เจ็บเตือน” ซึ่งจะหายไปเมื่อได้หลับพักผ่อน แต่ถ้าอาการเจ็บเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ถี่ขึ้น และ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบไปโรงพยาบาล
บทความข้างต้นทั้งหมดนี้เอามาแชร์ แบ่งปันให้ความรู้เบื้องต้นในการเลือกโรงพยาบาลในการฝากครรภ์ โดยทาง indydary ได้เอาบทความมาจาก โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ฯ ส่วนการเลือก สถานที่รับฝากครรภ์ และ โรงบาลฯ สำหรับ คลอดลูก แล้วแต่คุณพ่อ และ คุณแม่เลย
Indydiary เลือก คลินิกฝากท้อง
ทาง indydiary เลือกฝากครรภ์กับทางคลินิกพิเศษของ คุณหมอสูตินารีแพทย์ ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล และใช้เวลานอกราชการมาเปิดคลินิก โดยหลักการเลือก คลีนิคการฝากครรภ์ มีดังนี้
- การศึกษาหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์
- การเลือกโรงพยาบาลที่จะคลอด เนื่องจากแม่อินดี้ อยู่ต่างจังหวัดแห่งหนึงในภาคใต้ เลยเลือกคลอดใน โรงพยาบาลประจำจังหวัด เพราะใกล้เดินทางสะดวก
- กาารดูแลเอาใจใส่ของคุณหมอ
- เครื่องมือที่คุณหมอใช้ในการตรวจฝากครรภ์
- การคัดกรองต่างๆจากคุณหมอ
- และ ที่สำคัญสามารถเดินทางได้สะดวกเวลาคลอด
การเลือกสถานที่ฝากครรภ์ก็แล้วแต่กำลังททรัพย์ของคุณแม่มือใหม่แต่ละท่านเลย โดยหลักการเลือกให้เน้นที่การเดินทางสบาย ไม่เป็นอุปสรรคเวลาไปคลอด คุณหมดดูแลดี เท่านี้ก็สบายใจได้