Thursday, 21 November 2024

YFI Coin คือ

YFI Coin คือ

YFI Coin คือ Yearn Finance คือ ชื่อของ DeFi (Decentralized Finance) บนเครือข่ายบล็อกเชน Ethereum ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์เพียงคนเดียว นั่นคือนาย Andre Cronje กูรูด้านซอฟท์แวร์ชาวแอฟริกาใต้ Yearn Finance ถูกสร้างขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 โดยไม่เคยมีการระดมทุน หรือ ICO แต่อย่างใด

YFI Coin คือ

เหรียญ YFI คือ Governance Token ของ Yearn Finance ผู้ถือเหรรียญมีสิทธิร่วมกำหนดนโยบายต่าง ๆ ของเครือข่ายในอนาคต โดย CoinMarketCap จัดให้เหรียญ YFI อยู่อันดับ 103 ปัจจุบันมีอุปทานหมุนเวียนอยู่ในตลาด 36,638 เหรียญ และ จำนวนจำกัดของ YFI coin คือ 36,666 เหรียญ (อ้างอิงตามเว็บไซต์ CoinMarketCap ณ วันที่ 18 พฤษภาคม ปี 2022)

  • Yearn.Finance ให้บริการทางการเงินแบบ Decentralized Finance (DeFi) บนเครือข่าย Blockchain ของ Ethereum
  • Yearn.Finance เป็นแพลตฟอร์มให้บริการทำ Yield Farming รวมทั้งให้กู้ยืม ครอบคลุมบริการต่าง ๆ ที่ให้ผู้ใช้งานฝากสกุลเงินดิจิทัลเพื่อรับผลตอบแทน
  • YFI Coin คือ หนึ่งใน Governance Token ของ Yearn.Finance Protocol ที่ผู้ถือมีสิทธิลงคะแนนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย รวมไปถึงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ของ Yearn.Finance ได้ เช่น Vault, Earn และ Ygrift
  • ผู้ถือเหรียญ YFI ยังมีส่วนร่วมในการบริหาร Yearn.Finance และ ทำการ Staking เหรียญ YFI ของตนใน Governance Contract ได้ โดยจัดสรรผลตอบแทนตามสัดส่วนร้อยละที่เดิมพันใน Year-end Finance.
  • Yearn.Finance เปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 เดิมเรียกว่า iEarn มีการเติบโตอย่างมาก เพราะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และ นักพัฒนาได้ปล่อยโทเคน YFI ภายในระบบ

ทีมงานเบื้องหลัง

Andre Cronje เป็นนักลงทุนที่ลงทุนกับกลุ่ม Decentralized Finance (DeFi) ในรูปแบบการทำ Yield Farming เพื่อสร้างผลตอบแทน เรียกได้ว่ามีบทบาทสำคัญในโลกของ DeFi เป็นอย่างมาก จนได้รับการยกย่องให้เป็น “The Godfather of DeFi” โดยแรกเริ่มนั้น ชีวิตประจำวันของ Andre คือ ค้นหาและคัดเลือก DeFi Protocol ต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีสุด เพื่อฝากเหรียญ และ รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าในทุกวัน จนกระทั่งเกิดคำถามว่า ทำไมเราไม่สร้างสิ่งที่ช่วยบริหารจัดการการคัดเลือก DeFi Protocol แทน ทำให้เขาหลุดจาก Loop ชีวิตแบบนั้นได้ และ นี่คือที่มาแนวคิดในการก่อตั้ง Yearn.Finance

ผลิตภัณฑ์ที่น่าสน

yVault

  • Vault หรือ yVault เป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับกระแสตอบรับดีมาก Vault มีลักษณะเป็น Pool ที่รวบรวมเหรียญคริปโตที่ถูกฝากไว้ เพื่อนำมาบริหารต่อในการสร้างผลตอบให้แก่ผู้ฝาก โดย Vault นี้ถูกจัดการจาก Controller ที่ออกคำสั่งในรูปแบบระบบ Automated Strategies (ได้รับความเห็นชอบจากทาง Yearn Community เรียบร้อยแล้ว)
  • เหรียญที่ฝากนั้นจะถูกนำไปลงทุนในกลุ่ม DeFi Protocol ประเภทต่าง ๆ เช่น Liquidity Provider, Providing Collateral Loan, Yield Farming เป็นต้น เพื่อสร้างผลตอบแทนจาก DeFi นอกจากนี้ ทบต้นกำไรจากผลตอบแทนครั้งนั้นไปอีกหลายรอบ เพื่อสร้าง Return Rate ให้ได้มากที่สุดภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

yEarn

  • Earn หรือ yEarn มีลักษณะ Finance Lending Aggregator ที่มุ่งค้นหา DeFi Protocol ที่ให้ Yield สูงสุด ณ ช่วงเวลานั้น เพื่อนำ Stable Coin (DAI, USDCUSDT, TUSD, sUSD, or wBTC) ไปลงทุนสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ใช้งาน เช่น การฝาก DAI หลังจากนั้นระบบ Earn จะเปรียบเทียบ Lending Pool ที่ให้ผลตอบแทนมากสุดผ่าน Smart Contract ซึ่งเปรียบเทียบระหว่าง AAVE, dYdX และ Compound เป็นต้น
  • หากอัตราผลตอบแทนใน DeFi เกิดเปลี่ยนแปลง ระบบจะสับเปลี่ยน Lending Pool โดยอัตโนมัติ ส่งผลให้ผู้ใช้บริการฝาก Stable Coin ใน Earn ได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม

yZap

  • Zap หรือ yZap เป็นรูปแบบฟังก์ชันแลกเปลี่ยนเหรียญได้โดยตรง ทำให้ประหยัดเวลาและลดค่า Gas ที่เกิดขึ้น เพราะกระบวนแลกเหรียญใน Yearn มีหลายขั้นตอน เช่น การฝาก ETH ใน Vault ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
    • ขั้นที่ 1 การเปลี่ยน ETH ให้อยู่ในรูปของ yTokens ก่อน คือ yETH 
    • ขั้นที่ 2 จากนั้นต้องให้ Yearn ทำการ Approve ก่อน
    • ขั้นที่ 3 นำ yETH เข้าไปฝากใน Vault

ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้มีลักษณะเป็น On-Chain Transaction แยกกัน ส่งผลให้ผู้ใช้งานต้องเสียค่า Gas สูง รวมทั้งใช้เวลากับขั้นตอนข้างต้นพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับ Zap

ySwap

  • ySwap คือ Decentralized Trading Pools ที่จัดการ Pool แบบ Automated Market Maker (AMM) มีคุณสมบัติเหมือนกับ UniSwap สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนเหรียญ แต่ ySwap พัฒนาคุณสมบัติ Pool ไปอีกขั้น กล่าว คือ ทำให้นำเหรียญไป Stake ใน Pool เพื่อสร้าง Liquidity ได้เพียงใช้ Token ชนิดเดียว ไม่จำเป็นต้องใช้คู่เหรียญในสัดส่วน 50:50 เหมือน Uniswap

yTrade

  • yTrade คือ แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยน Stablecoin 4 ชนิด คือ DAI, USDC, USDT และ BUSD แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมเข้ามา คือกู้ยืมเหรียญทั้ง 4 ชนิด จากการ Leverage ได้ในอัตราส่วน 75, 100 และ 1,000 เท่า ซึ่ง Yearn มีเป้าหมายว่า แพลตฟอร์มจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนสาย Arbitrage ได้

YFI Coin คือ ความเสี่ยง

  • ผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงตลอด ทำให้ผู้ใช้งานอาจได้รับผลตอบแทนน้อยลง หรือ มากกว่าเดิม ดังนั้นต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนำเหรียญไป Stake ใน Pool
  • ระบบถูกแฮคได้  เพราะโปรโตคอลสร้างผลตอบแทนสูง ส่งผลให้มีจำนวนไหลเวียนเข้ามามาก จนตกเป็นที่หมายปองของเหล่า Hacker ซึ่งทำการ Hack เข้าตัว Smart Contract เคยเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นแล้วในช่วงปี 2020 สูญเงินเป็นจำนวนกว่า 5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
  • นอกจากนี้ ช่วงต้นปี 2021 Vault ที่เก็บบรรจุ Dai นั้นถูกลวงเข้าไปลงทุนใน AAVE Flash Loan ทำให้สูญเงินไปราว 11 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทเล็งเห็นถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ อีกทั้งมุ่งพัฒนาระบบให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

YFI Coin ทำงานอย่างไร

Yearn.Finance เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบมาปรับใช้กับ Ethereum Blockchain เช่นเดียวกับการแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจอื่น ๆ (Decentralized Exchange) ที่ทำงานบนเครือข่ายนั้น เช่น Balancer และ Curve เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้งานไว้วางใจสัญญาของ YFI เช่นเดียวกับสัญญาที่เกี่ยวข้องบน Balancer และ Curve ที่ปรับใช้บน Ethereum เพื่อพัฒนาการให้บริการด้านโฆษณา

จุดแข็งของ Yearn Finance

  • สภาพคล่องของกองทุนมีมูลค่าสูงมาก โดยมูลค่ากองทุนรวมทั้งหมดสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์
  • ผลกำไรจากกองทุนยังคงเป็นบวกต่อเนื่อง และมากขึ้นเรื่อยๆต่อเนื่องทุกเดือน
  • Defi เป็นแพลทฟอร์มที่กำลังอยู่ในขาขึ้น ไม่ว่าราคาเหรียญ YFI จะขึ้นหรือลงก็ตาม
  • เป็นแพลทฟอร์ม Defi ที่ปลอดภัยและได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกแพลทฟอร์มหนึ่ง

จุดอ่อนของ Yearn Finance

  • เหรียญ YFI มีมูลค่าที่สูง และมีจำนวนน้อยเกินไป ทำให้อาจเกิดภาวะเงินฝืดในตัวเหรียญ (เฉพาะตัวเหรียญ)
  • เหรียญ YFI ใช้สำหรับแทนสิทธิในการออกเสียง แต่แทบนำไปหาประโยชน์ทางรายได้เพิ่มเติมที่ไม่เกี่ยวกับเก็งกำไรราคาเหรียญไม่ได้เลย
  • มีคู่แข่งเริ่มเข้ามาตีตลาด Defi มากยิ่งขึ้น
  • การลงทุนใน Defi มีความเสี่ยงสูง ผู้ซื้อควรศึกษาให้ดีก่อนลงทุน


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save