Polkadot Coin คือ ที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้ไม่ใช่ลายจุดน่ารักๆบนเสื้อผ้าแต่อย่างใด แต่มันคือโปรเจ็คที่จะมาแก้ไขปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีบล็อกเชน นั่นก็คือเรื่องของ Interoperability หรือ การเชื่อมต่อเครือข่ายบล็อกเชนแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกัน และ ทำให้เครือข่ายเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ อีกเรื่องคือ Scalability หรือ ก็คือความสามารถในการรองรับจำนวนธุรกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น โดยไม่ทำให้กระบวนการยืนยันธุรกรรมล่าช้าลง
Polkadot Coin คือ แนวคิด
Polkadot มีคุณ Gavin Wood (หรือชื่อเต็มคือ Dr. Gavin James Wood) เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งเขาคนนี้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum และ มีบทบาทในฐานะ Chief Technology Officer (CTO) ของ Ethereum
ทุกวันนี้หลายๆ องค์กรกำลังแข่งขันกันสร้าง และ พัฒนาเครือข่ายบล็อกเชน ทำให้เกิดเครือข่ายบล็อกเชนขึ้นมามากมาย ซึ่งแนวคิดของ Polkadot พวกเขาไม่ได้มองว่าจะมีเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งที่จะขึ้นมาเป็นใหญ่เพียงหนึ่งเดียว แต่มองว่าบล็อกเชนแต่ละเครือข่ายต่างก็มีวัตถุประสงค์ ข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายเหล่านี้เข้าด้วยกัน หรือการ Connecting the dots นั่นเอง
Polkadot Coin คือ วัตถุประสงค์
Polkadot เป็นเว็บไซต์ Decentralized ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการอำนวยความสะดวกด้วยเว็บที่ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและใช้งานง่าย ในรูปแบบโปรเจกต์แบบ Open Source ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องการที่จะแก้ไขในเรื่องความสามารถในการขยายตัว (Scalability) โดยดำเนินการทำธุรกรรมบนหลาย Chain ในลักษณะคู่ขนาน (Parachain)
ความเสี่ยง
มีคู่แข่งด้านแอปพลิเคชันแบบ Decentralized จาก Smart Contract Blockchain อื่น ๆ หลายราย อย่าง Ethereum, Cardano, Tron และอีกมากมาย อาจกล่าวได้ว่า Polkadot อยู่ในแวดวงของคริปโต ที่มีการแข่งขันสูง และจำเป็นต้องมีการแข่งขันอย่างหนักเพื่อส่วนแบ่งทางการตลาด
Polkadot Coin คือ หลักการทำงาน
Relay Chain & Parachain
Polkadot เป็นเครือข่ายบล็อกเชนแบบ Sharded Blockchain ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีการแบ่ง Nodes สำหรับการประมวลผลออกเป็น Nodes ย่อยๆ ภายในเครือข่าย ทำให้เครือข่ายสามารถประมวลแบบขนาน หรือ Parallel Processing และแก้ปัญหา Scalability ได้ โดยทางผู้พัฒนา Polkadot เรียกระบบที่เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญนี้ว่า Relay Chain และเรียกส่วนหน่วยประมวลผลย่อยเหล่านี้ว่า Parachain
Collators & Validators
Collators หรือ ผู้เรียบเรียง มีบทบาทในการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลภายใน Shard หนึ่งๆ ก่อนที่จะส่งต่อไปให้กับ Validators หรือผู้ตรวจสอบให้ทำการรับรองข้อมูล และกระจายข้อมูลนั้นๆ ออกสู่เครือข่าย Relay Chain ต่อไป
Bridges
เป็นหนึ่งจุดเด่นสำคัญของ Polkadot ที่มาช่วยเรื่อง Interoperability หรือการเชื่อมต่อเครือข่ายบล็อกเชนเข้าด้วยกัน ซึ่งตัว Bridges หรือสะพานคือตัวที่จะเชื่อมต่อเครือข่าย Polkadot เข้ากับบล็อกเชนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Ethereum หรือ Bitcoin ซึ่งข้อมูลการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นในเครือข่ายบล็อกเชนเหล่านี้จะถูกส่งมายัง Collators เพื่อรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งต่อให้ Validators ทำการยืนยันข้อมูล และส่งขึ้นไปบันทึกในเครือข่าย Relay Chain
Upgradable
เดิมทีการอัปเกรดเครือข่ายบล็อกเชนอาจทำให้เกิด Hard Fork ซึ่งเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของผู้พัฒนา เช่นกลุ่มหนึ่งอยากอัปเกรดจุดนี้ แต่อีกกลุ่มอยากให้เลือกปรับปรุงตรงนั้น ซึ่งจะทำให้เครือข่ายบล็อกเชนนั้นถูกแยกออกเป็น 2 ฝั่ง อย่างกรณีของ Ethereum กับ Ethereum Classic หรือ Bitcoin กับ Bitcoin Cash แต่เครือข่าย Polkadot ถือเป็นเครือข่ายแรกที่นำเสนอโครงสร้างที่สามารถทำการอัปเกรดบล็อกเชนได้โดยไม่เกิด Hard Fork
DOT Token
- Governance: การมอบสิทธิ์ในการควบคุมเครือข่าย ผู้ที่ถือครองเหรียญ DOT จะได้รับสิทธิ์ในการออกเสียงเพื่อกำหนดทิศทางสำหรับการพัฒนาเครือข่าย
- Staking: ปักเหรียญในระบบเพื่อร่วมเป็นผู้ตรวจสอบ ผู้ถือครองเหรียญ DOT จะสามารถเลือกได้ว่าจะปักเหรียญ DOT จำนวนหนึ่งไว้ในระบบหรือที่เรียกว่า Staking เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลหรือ Validator ให้กับเครือข่าย ซึ่ง Validator ที่ทำหน้าที่ได้ดีจะได้รับเหรียญ DOT เป็นการตอบแทน ในทางกลับกันหากผู้ตรวจสอบที่ทุจริตหรือละเลยหน้าที่ก็อาจถูกระบบยึดเหรียญไป
- Bonding: เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน เครือข่ายบล็อกเชนที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย Relay Chain ผ่านระบบ Bridge จะต้องทำการฝากเหรียญ DOT เข้าไปในเครือข่ายจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะสามารถ Bond หรือประสานเครือข่ายเข้าด้วยกันได้
เกร็ดน่ารู้
- ข้อมูลจาก CoinGecko ระบุว่า Polkadot ติดอันดับ TOP 10 โปรเจ็ค ICO ปี 2017 และเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2020 ที่ผ่านมา Polkadot นับเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่ารวมสูงติดอันดับ 7 ของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าสูงสุดทั่วโลก
- รายงานจาก Cryptoslate ระบุว่า มูลค่ารวมของเหรียญ DOT ได้ขึ้นแตะระดับ 3.5 พันล้านดอลลาร์ภายในเวลาแค่ 6 วันหลังเปิดให้แลกเปลี่ยนเหรียญ โดยปัจจัยที่ทำให้มูลค่าของ Polkadot เพิ่มสูงขึ้นในเวลาสั้นๆ มี 3 ประการด้วยกัน คือ 1) ตลาดกำลังมองหาเครือข่ายใหม่ที่มีโอกาสขึ้นมาครองตลาด 2) มีกระดานซื้อขายรายใหญ่อย่าง Binance กับ Kraken ประกาศลิสต์เหรียญบนระบบ และ 3) ตลาดมีความต้องการเทคโนโลยีที่จะมาแก้ไขปัญหา Scalability อยู่ในระดับสูง
- Spartan Black ผู้ประกอบการด้านเหรียญดิจิทัลรายใหญ่ในฝั่งเอเชียประเมินว่า Polkadot มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถเติบโตเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกของโลกได้
- Polkadot มีเครือข่าย Testnet เรียกว่า Kusama ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับเครือข่ายหลักอย่าง Polkadot ซึ่ง Kusama เป็นเครือข่ายที่เอาไว้ให้ผู้พัฒนาสามารถทดลองเขียนแอปพลิเคชันหรือบล็อกเชน และทดสอบการทำงานก่อนนำขึ้นไปบนเครือข่าย Polkadot โดยผู้พัฒนาต้องถือเหรียญ Kusama (KSM) ถึงจะเข้าร่วมในเครือข่ายได้
Polkadot Coin คือ ใช้ทำอะไร
เครือข่าย Polkadot ก็มีสกุลเงินหลักของเครือข่าย เหมือนกับที่ Ethereum มี Ether (ETH) ซึ่ง หรับ Polkadot เหรียญนั้นก็คือ DOT นั่นเอง โดยเหรียญนี้สามารถใช้ทำอะไรบ้างนั้น เรามาดูไปพร้อมๆ กัน
- Governance – ผู้ถือเหรียญ DOT จะมีสิทธิ์ออกเสียงโหวตเพื่อช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาภายในเครือข่าย Polkadot ได้ ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามความต้องการของคนส่วนมากเสมอ
- Staking – ผู้ถือเหรียญ DOT มีสิทธิ์ล็อกเหรียญจำนวนหนึ่งไว้ในระบบเพื่อทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบ (Validators) และถ้าทำหน้าที่ได้ดีก็จะได้รับเหรียญ DOT เพิ่ม แต่ถ้าทุจริตก็จะถูกยึดเหรียญไป ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างเครือข่ายที่มีความปลอดภัยและกระจายศูนย์
- Bonding – ผู้ที่ต้องการเชื่อมต่อ Blockchain อื่นเข้าเครือข่าย Polkadot ผ่านทาง Bridges จะต้องฝากเหรียญ DOT ไว้ในเครือข่ายจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน