Thursday, 21 November 2024

DAI คือเหรียญอะไร

DAI คือเหรียญอะไร

DAI คือเหรียญอะไร Dai (DAI) เป็นเหรียญที่มีราคาคงที่แบบกระจายอำนาจที่ทำงานในอีเธอร์เรียม (ETH) ซึ่งจะพยายามรักษามูลค่าไว้ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ Dai ไม่เหมือนกับเหรียญที่มีราคาคงที่แบบศูนย์กลาง กล่าวคือไม่ได้มีการประกันโดยดอลลาร์สหรัฐฯ ในบัญชีธนาคาร แต่ได้รับการประกันโดยหลักทรัพย์ค้ำประกันบนแพลตฟอร์ม Maker แทน

DAI คือเหรียญอะไร

Dai เป็น stablecoin แบบ decentralization ทํางานบนระบบบล็อกเชนของ Ethereum ประเภท ERC-20 ซึ่งมูลค่า DAI จะมีค่าเทียบเท่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ เหรียญ DAI ถูกสร้างขึ้นโดยระบบ multi collateral Dai (MCD) ต้องเอาสินทรัพย์มาค้ำประกัน โดยมี maker governance เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารจัดการระบบต่างๆ ของ MCD มาช่วยยืนยัน แม้ว่าเหรียญ DAI จะไม่ได้มีการประกันโดยดอลลาร์สหรัฐฯ ในบัญชีธนาคาร แต่มีการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันบนแพลตฟอร์ม Maker แทน หากระบบเครดิตของ DAI ได้รับการอัปเกรด หรือ ถูกปิด ผู้ถือครอง DAI อาจต้องแปลงสกุลเงิน DAI ไปเป็น Ethereum (ETH) ผ่านแพลตฟอร์ม Maker เหรียญ DAI จึงเป็นเหรียญ stablecoin ที่มีความเป็น decentralized สูง จุดเด่นของ DAI คือ เข้าถึงได้ง่าย และ การทําธุรกรรมทั้งหมดของ DAI สามารถตรวจสอบได้ ผ่านทางบล็อกเชนของ Ethereum

DAI คือเหรียญอะไร และวัตถุประสงค์

Governance Token ผู้ถือครองจะสามารถจะได้รับสิทธิในการเข้าโหวตออกเสียงและเสนอพัฒนานโยบาย (Proposal) เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างของ MakerDAO และ Maker Protocol ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น

  • การปรับเพิ่ม/ลด คริปโตเคอร์เรนซีที่ถูกใช้เป็นหลักประกันภายใน Vault ของ Maker Protocol
  • ปรับเปลี่ยน Risk Parameters ได้แก่ Liquidation ratio, Debt ceiling เป็นต้น
  • กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมได้แก่ Stability Fee , Dai Saving Rate เป็นต้น
  • การออกผลิตภัณฑ์ของทาง Maker Community เช่น Oasis Hub
  • Upgrade Version ของ Maker Protocol

ระบบ Maker Protocol

Maker Protocol เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันไร้ตัวกลางที่ใหญ่ที่สุดบนบล็อกเชนของ Etheream ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยการรวมตัวของนักพัฒนาจากทางองค์กรของ Maker ร่วมกับกลุ่มนักพัฒนาจากภายนอกหลากหลายสังกัด ระบบของ Maker Protocol จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบทางการเงินที่ไร้ตัวกลางระบบแรกที่ได้รับการยอมรับ และ มีการนำมาใช้จริง

ระบบของ Maker Protocol ถูกบริหารจัดการโดยผู้คนที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลกที่ถือเหรียญ MKR ซึ่งเป็นเหรียญที่ให้สิทธิ์ในการกำกับดูแลระบบอยู่ในมือของผู้ถือเหรียญ ด้วยระบบที่ออกแบบมาสำหรับให้สิทธิพิเศษในการด้านโหวตให้กับผู้ที่ถือเหรียญโดยเฉพาะ

ด้วยแนวคิดนี้ ไม่ว่าทิศทางของผลโหวตจะเป็นไปในทิศทางไหน ตัวแปรสำคัญจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่ถือเหรียญไว้ในมือ ซึ่งกระจายตัวกันอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบมีความโปร่งใส ซื่อตรง และ มีประสิทธิภาพเป็นอย่างสูง เนื่องด้วยอำนาจในการตัดสินต่างๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนกลุ่มเดียวแต่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก

DAI คือเหรียญอะไร โมเดลสร้าง

เหรียญคงมูลค่าของ Dai นั้นจัดได้ว่าเป็นเหรียญในระบบไร้ตัวกลางที่ถูกผูกมูลค่าไว้กับเงินดิจิทัล หรือ เงินดอลล่าร์สหรัฐ โดยสามารถจัดเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือ ในแพล็ตฟอร์มต่างๆ ได้ มาพร้อมกับจุดเด่นของตัวระบบที่รองรับการใช้งานบนบล็อคเชนของ Ethereum

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของเหรียญ Dai คือ ความสามารถในการสร้าง และ เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย เพียงผู้พัฒนาทำการฝากสินทรัพย์ที่ต้องการนำมาผูกมูลค่าของ Stablecoin ของตัวเองเข้าไปในที่จัดเก็บของ Maker Protocol (ในที่นี้เราจะเปรียบกับเหรียญอื่นๆ ในระบบของ Ethereum) ที่ซึ่งการสร้างเหรียญขึ้นมาในรูปแบบนี้จะเป็นการเพิ่มความคล่องตัว และ การหมุนเวียนของเหรียญในระบบขึ้น

สำหรับช่องทางอื่นๆ ในการครอบครองเหรียญ Dai ได้แก่ การซื้อเหรียญจากนายหน้า หรือ ตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และ จากการรับชำระเงินผ่านสกุล Dai และ ไม่ว่าผู้ใช้จะได้รับเหรียญมาด้วยวิธีการใด เหรียญ Dai สามารถใช้แลกเปลี่ยนได้เหมือนสกุลเงินดิจิทัลทั่วไปทุกประการ ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งเหรียญให้กันระหว่างผู้ใช้
  • ใช้สำหรับจ่ายค่าบริการ และ ซื้อสินค้า
  • หรือ แม้กระทั่งการถือไว้เฉยๆ เหมือนการเก็บเงินตามปกติ

และ ดังที่กล่าวไปข้างต้น เหรียญ Dai ทุกเหรียญล้วนถูกผูกมูลค่าไว้กับสินทรัพย์ต่างๆ (ทั้งเงินดิจิทัล และ เงินดอลล่าร์) นั่นหมายความว่ามูลค่าของค่าเงินที่เอามาผูกไว้นั้นย่อมมีมูลค่าสูงกว่าตัวเหรียญ Dai จริงๆ เสียอีก

นอกจากนี้ธุรกรรมทั้งหมดของ Dai นั้นจะสามารถเช็คได้ทางบล็อคเชนของ Ethereum ได้อีกด้วย

Multi-Collateral

บริษัทนักพัฒนาที่ชื่อว่า The Maker Protocol นั้นได้รับการรู้จักเป็นที่แพร่หลายในแง่ของการเป็นหน่วยงานที่ประกอบด้วยระบบด้านต่างๆ ของ Dai (MCD) โดยทางระบบมีการเปิดให้ผู้ใช้สามารถสร้างเหรียญ Dai ขึ้นมาโดยผูกมูลค่ากับสินทรัพย์ และมีหน่วยงาน “Maker Governance” คอยกำกับดูแล โดยหน่วยงานนี้มีหน้าที่คอยดูแล community และบริหารจัดการระบบต่างๆ ในเครือของ Maker Protocol

Dai ถือเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานโดยไร้ศูนย์กลาง และปราศจากความรู้สึกส่วนตัวในการจัดการ ด้วยคุณสมบัตินี้จึงทำให้ระบบสามารถผสานมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลกับเงินสกุลดอลล่าร์ได้อย่างโปร่งใส นอกจากนี้ระบบยังมีมาตรการในการป้องกันการสูญเสียมูลค่าของเหรียญจากเหตุการเงินเฟ้อได้อย่างรัดกุม จึงเรียกได้ว่าระบบของ Dai เป็นการนำเสนอระบบของโลกการเงินที่ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่เลยทีเดียว

ความเป็นมา

โปรเจคของ MakerDAO เริ่มต้นขึ้นในปี 2015 จากการร่วมกันพัฒนา code, ระบบโครงสร้าง รวมไปถึงการวิจัยและการรวบรวมข้อมูลโดยนักพัฒนาจากทั่วทุกมุมโลก
การเผยแพร่ white paper ของ MakerDAO ฉบับแรกเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมปี 2017 รวมไปถึงการเปิดตัวระบบในการสร้างเหรียญ Stablecoin ต้นแบบด้วย (ซึ่งปัจจุบันระบบนี้ถูกเรียกว่า Sai)

ในช่วงปี 2017 มีกลุ่มผู้ใช้ที่ให้ความสนใจกับระบบการสร้าง Stablecoin ขึ้นอย่างล้นหลาม สิ่งนี้ส่งผลให้มีการสร้างเว็บบล็อกสำหรับแอปพลิเคชันที่ไร้ตัวกลางขึ้น เพื่อช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบความเคลื่อนไหวของระบบ DeFi (ระบบการเงินไร้ตัวกลาง)
จะเห็นได้ว่า Dai ประสบความสำเร็จในแง่ของแอปพลิเคชันที่ช่วยให้วงการของเหรียญคงมูลค่า (Stablecoins) เติบโตและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ในแง่ของระบบการเงินที่ถูกออกแบบมาสำหรับเก็บรักษามูลค่าของเงินตรา
สำหรับระบบเหรียญคงมูลค่าของ Dai นั้น ในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อของ Maker Protocol โดยทางระบบได้พัฒนาให้มีการรองรับเหรียญที่มีพื้นฐานการทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชนของ Ethereum (ERC-20) และระบบยังมีการรับรองโดย MKR อีกที ซึ่งระบบ MRK คือหน่วยงานที่เปิดให้สมาชิกในระบบได้ทำการโหวตเพื่อประเมินและยอมรับความเสี่ยงของทรัพย์สินแต่ละตัวที่จะถูกนำมาผูกมูลค่ากับเหรียญ Stablecoins นั้นๆ สำหรับการโหวตในระบบนี้ถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สามารถชี้เป็นชี้ตายว่าระบบการเงินที่จะสร้างขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  • ทั้งเหรียญ MKR และ Dai สามารถใช้และรองรับแค่ภายใน Ethereum Ecosystem เท่านั้นไม่สามารถใช้นอกเหนือจากนี้
  • ราคาของ MKR นั้นจะมีการผันแปรตามความต้องการของการใช้ Dai
  • Bug ของ Smart Contract ในกระบวนการส่งข้อมูล Information Flow ภายใน Protocol
  • ความเสี่ยงเรื่องการปรับสมดุลระหว่างมูลค่าที่ลดลงของหลักประกันในกรณีที่เกิดสภาวะ Panic ของตลาดอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลเสียหายร้ายแรงกับทางระบบโดยตรง ซึ่งเคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2021 ที่ผ่านมาจากการปรับฐานลงอย่างรวดเร็วของ Ethereum ถึง 30 % ภายใน 24 ชม. ส่งผลกระทบให้ระบบเกิดภาระหนี้จากหลักประกัน Ethereum  สูงถึง 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save