Curve Finance คือ การแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์โดยมุ่งเน้นไปที่ stablecoin และ ด้วยโทเค็นการกำกับดูแล CRV Curve เป็นโปรโตคอลการแลกเปลี่ยนที่ใช้ Ethereum ซึ่งให้การทำธุรกรรม stablecoin ที่มีค่า Slippage ต่ำ (เช่นราคาที่ดีกว่าสำหรับการซื้อขายขนาดใหญ่) ในนั้นจะคล้ายกับ Uniswap อย่างไรก็ตามอัลกอริทึมของ Curve ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการแลกเปลี่ยน stablecoin ซึ่งสามารถทำให้เกิดการลื่นไถลต่ำ และ ค่าธรรมเนียมการจัดการต่ำ (0.04%)
Curve Finance คือ
CRV หรือ Curve Finance คือ กระดานแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Exchange) ที่ถูกสร้างขึ้นบน Ethereum คล้ายกับ Uniswap หรือ Balancer แต่ Curve เน้นไปที่ Stablecoin อย่าง DAI, USDT หรือ USDC เป็นหลัก
Curve มีระบบ Automated Market Maker (AMM) ที่สามารถควบคุมสภาพคล่องให้กับกระดานซื้อขายได้โดยอัตโนมัติ โดยผู้ใช้สามารถล็อกเหรียญไว้ในแพลตฟอร์ม Curve ได้นานสูงสุด 4 ปี เพื่อช่วยสร้างสภาพคล่อง และ ทำกำไรจากค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยน ดังนั้น ยิ่งมีการแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์มสูงเท่าไร กำไรสำหรับผู้ล็อกเหรียญก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
Curve เปิดตัวในช่วงเดือนมกราคม ปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแส DeFi กำลังมาแรง และ ได้รับกระแสตอบรับที่ค่อนข้างดีจากแวดวงสินทรัพย์ดิจิทัล
ต่อมาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน Curve ก็ได้เปิดตัว CruveDAO ที่เป็นระบบการบริหารแพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้ามามีบทบาทในการตัดสินนโยบายสำหรับการพัฒนาแพลตฟอร์มได้
Curve Finance คือ ใครคือผู้สร้าง
CEO ของ Curve คือ Michael Egorov นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่มีประสบการณ์ในวงการคริปโทเคอร์เรนซีมาอย่างยาวนาน
โดยในปี 2015 เขาได้ร่วมงานกับ NuCypher ในฐานะ CTO โดย NuCypher เป็นบริษัทคริปโทเคอร์เรนซีที่พยายามสร้างระบบการเงินที่มีความปลอดภัย และ ความเป็นส่วนตัวสูง
นอกจากนี้ เขายังก่อตั้งเครือข่าย LoanCoin ที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการฝาก และ กู้ยืมสกุลเงินดิจิทัลด้วยเช่นกัน
รายละเอียดเกี่ยวกับสมาชิกในทีม Curve Finance อื่น ๆ ยังมีไม่มากนัก แต่จากการสัมภาษณ์ในหลาย ๆ รอบที่ผ่านมาทำให้ได้รู้ว่าปัจจุบันมีสมาชิกอย่างน้อย 5 คนที่ได้เข้าร่วม Curve Finance เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย 2 ใน 5 นั้นได้แก่ Angel Angelov และ Ben Hauser ซึ่งเป็นนักพัฒนา และ อีก 3 คนที่เหลือเป็น Community Manager
หน้าที่ของเหรียญ
เหรียญ CRV เป็นเหรียญหลักของแพลตฟอร์ม Curve ที่ใช้เป็นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม รวมถึงใช้เป็นรางวัลที่จ่ายให้ผู้ที่ล็อกเหรียญ หรือ สินทรัพย์ไว้ในระบบ นอกจากนี้ CRV ยังเป็น Governance token ที่มอบอำนาจให้ผู้ถือสามารถเสนอนโยบายสำหรับการพัฒนาแพลตฟอร์ม รวมถึงมอบสิทธิ์ในการโหวตสนับสนุนนโยบายเหล่านี้อีกด้วย
หลักการทำงานของ
Curve รองรับการเทรดบนแพลตฟอร์มผ่านโปรโตคอล Automated Market Maker หรือ ที่เรียกว่า AMM ซึ่งส่งเสริมการสร้างสภาพคล่องให้กับตลาด และ ช่วยตีราคาสินทรัพย์บนกระดานเทรด
Liquidity pools หรือ กองทุนสภาพคล่องบน Curve ใช้อัลกอริธึมต่าง ๆ ในการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์บนกระดานเทรด โดย AMM protocol ทำหน้าที่เป็น Smart Contract ที่ทำให้ทุกการเทรดบนแพลตฟอร์มโดยไม่ต้องพึ่งพา Order Book หรือ เรียกได้ว่าโปรโตคอล AMM ช่วยให้ระบบทำงานได้อัตโนมัติไม่ต้องผ่านตัวกลางนั่นเอง
ในทิศทางเดียวกัน Curve เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทั่วไปเป็นส่วนหนึ่งของสภาพคล่องบนแพลตฟอร์ม โดยเรียกกลุ่มผู้ใช้งานเหล่านั้นว่า Liquidity Provider หรือ ผู้ให้บริการสภาพคล่อง ซึ่งมีเหรียญ CRV เป็นผลตอบแทนหลัก
สำหรับการใช้งานเหรียญ CRV นั้น ผู้ใช้งานจะต้องล็อก CRV ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเข้าถึงสิทธิ์การกำกับดูแล Curve ในระยะสั้นด้วยเหรียญ veCRV และ CRV โดยเหรียญ veCRV จะถูกนำไปใช้ในการโหวตนโยบาย DAO ต่าง ๆ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขการเข้าร่วม Pool ในอนาคต
เหรียญ CRV สามารถนำไป Staking บนแพลตฟอร์มได้เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญ CRV ไปฝากเพื่อรับปันผลตอบแทนจากค่าธรรมเนียมของผู้ใช้งานบน Curve Protocol นอกเหนือจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถทำ Vote-locking เหรียญ CRV เพื่อรับผลตอบแทนสภาพคล่องได้เพิ่มเติมอีกเช่นกัน
ข้อบกพร่องของ Curve และ การฝากเงินใน Liquidity Pool คือความเสี่ยงในการขาดทุน หรือ เสียโอกาสชั่วคราว (Impermanent Loss) ซึ่งความเสี่ยงมักเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เมื่อทำการฝากเหรียญเข้าไป แล้วมูลค่าของโทเค็นในตลาดโลกเกิดความผันผวนขึ้นมา ซึ่งการขาดทุนจริงมักเกิดหลังจากการถอนโทเค็นออกมาจาก Liquidity Pool แล้วมูลค่าของโทเค็นนั้นต่ำกว่าค่าเงินของโทเค็น ณ ช่วงเวลาที่ฝากเข้าไป
อีกหนึ่งความเสี่ยงที่ควรพึงระวังจาก Curve ซึ่งเป็น Decentralized Exchange คือ ความเสี่ยงเรื่อง Slippage หรือความคลาดเคลื่อนระหว่างราคาที่ตั้งซื้อขายกับราคาตอนทำธุรกรรมเสร็จสิ้นไม่เท่ากัน ซึ่งส่งผลให้กำไรที่ได้รับน้อยเกินกว่าความคาดหมายได้
เหตุผลที่ควรลงทุน
- ความเสี่ยงต่ำ แม้การฝากเงินใน Liquidity Pool นั้นมักมาพร้อมกับ Impermanent Loss ก็ตาม แต่ทาง Curve Finance มุ่งเน้นไปที่การเทรด Stablecoin เท่านั้น ซึ่งเป็นประเภทของคริปโตที่มีความผันผวนต่ำกว่าคริปโตใน Liquidity Pool อื่น ๆ
- ถอนเงินออกจาก Pool ได้ทุกเมื่อ โปรโตคอล AMM บน Curve Finance ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถถอนโทเค็นใน Liquidity Pool ได้ทุกเมื่อ แบบไร้เงื่อนไขด้านระยะเวลา
- CRV Staking + Boost Curve มีเหรียญ CRV ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโอกาสให้ผู้ใช้งานได้เก็บเกี่ยวผลตอบแทนในแพลตฟอร์มมากขึ้น โดยบาง Pools บน Curve มีโบนัสผลตอบแทนจากการฝากแบบทวีคูณให้ด้วย
- DeFi Composability โทเค็นที่ผู้ใช้งานได้รับจากแพลตฟอร์ม Curve Finance สามารถนำไปใช้ในแพลตฟอร์ม DeFi อื่น ๆ ได้ด้วย
- อัตรา Slippage ต่ำ คู่สกุลดิจิทัลบน Curve ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน เพื่อลดโอกาสการเกิด Slippage ตอนทำธุรกรรม