Thursday, 21 November 2024

Blockchain Fork คืออะไร

Blockchain Fork คืออะไร

Blockchain Fork คืออะไร การที่คุณต้องการเปลี่ยนโปรโตคอลของบล็อกเชน หรือ ชุดกฎพื้นฐาน และ สร้างสายของบล็อกเชนทางเลือกขึ้น ใหม่โดยจะยังคงใช้ข้อมูลทั้งหมดที่บันทึกไว้ร่วมกับบล็อกเชนเดิม แต่จะเปลี่ยนไปสู่ทิศทางใหม่

การ Fork ในบล็อกเชนสามารถเกิดขึ้นได้ในแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการเข้ารหัสต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่บิทคอยน์เท่านั้น เมื่อคุณต้องการเปลี่ยนกฎ หรือ โปรโปรโตคอล คุณต้องแยกมันออกคล้ายกันกับทางแยกบนถนน เพื่อระบุว่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือ การเบี่ยงเบนจากเดิม  นักพัฒนาจึงสามารถอัปเดตซอฟต์แวร์ทั้งหมดเพื่อให้สอดคล้องกับกฎใหม่ได้

Blockchain Fork คืออะไร

Fork ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงส้อมแต่อย่างใด แต่หมายถึงกิ่งก้านสาขาที่แยกออกไปใหม่ สกุลเงินดิจิทัลอย่าง bitcoin และ Ethereum ทำงานได้ด้วยซอฟต์แวร์ที่มีระบบการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้ เรียกว่า บล็อคเชน

การ Fork จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้คนทำการเปลี่ยนแปลงในโปรโตคอลของบล็อกเชน หรือ ชุดกฎพื้นฐาน เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดขึ้น สายของบล็อกเชนจะแยกออกเป็นอีกหนึ่งบล็อกเชน ซึ่งจะใช้ข้อมูลทั้งหมดที่บันทึกไว้ร่วมกับบล็อกเชนเดิม แต่จะแยกออกไปอีกอัน

Fork สำคัญอย่างไร

สกุลเงินดิจิทัลส่วนใหญ่ก็จะมีทีมนักพัฒนาที่แยกเป็นอิสระจากหน่วยงานอื่นๆ ที่คอยควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง และ การพัฒนาในเครือข่าย เหมือนกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงในอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลเพื่อปรับปรุงและ พัฒนาการท่องเว็บไซต์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นในบางครั้ง การ Fork จะเกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงสกุลเงินดิจิทัลให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น หรือ เพื่อเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆ เข้าไป ซึ่งนักพัฒนาของสกุลเงินดิจิทัลใหม่ๆ ก็สามารถใช้การ Fork เพื่อสร้างเหรียญ และ ระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย

ประเภทของการ Fork 

  • Hard Fork : การสร้างระบบขึ้นมาใหม่โดยไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบเก่าได้ แต่มูลค่าของเงินจากระบบเดิมจะยังคงอยู่ และ นำข้อมูลเงินเดิมมาใช้ต่อ
  • Soft Fork : คล้ายกับ Hard Fork แต่เป็นการสร้างระบบขึ้นมาใหม่โดยมีการเปลี่ยนแปลงข้อกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เคยใช้งานในระบบเก่า เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่เจอในระบบเพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น  เช่น เพิ่มขนาดบล็อก หรือเปลี่ยนโปรโตคอลใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะยังคงสามารถใช้งานบล็อกเดิมได้อยู่ 

Hard Fork และ Soft Fork ที่จริงแล้วมีความเหมือนกันในแง่ที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง Code ที่มีอยู่ของแพลตฟอร์ม Crypto โดยเวอร์ชันเก่าจะยังคงอยู่ในเครือข่าย ในขณะที่เวอร์ชันใหม่จะถูกสร้างขึ้น

Soft Fork จะมีเพียง Blockchain เดียวเท่านั้นที่ยังคงใช้ได้เมื่อผู้ใช้ได้ยอมรับการอัปเดต ในขณะที่ Hard Fork จะมีทั้ง Blockchain เก่า และ ใหม่อยู่ทำงานควบคู่กันไป ซึ่งหมายความว่าต้องมีการอัปเดตซอฟต์แวร์เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามกฎที่วางขึ้นมาใหม่ สรุป คือ Fork ทั้งสองสร้างการแยกของ Blockchain แต่ Hard Fork จะมี 2 Blockchains ส่วน Soft Fork ทำให้เกิด Blockchain เดียว

การ Fork เกิดขึ้นเพราะอะไร

บล็อกเชนก็เหมือนกับซอฟต์แวร์ทั่วไปที่ต้องมีการอัพเกรด ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีการอัพเกรดบล็อกเชน คือ

  • เพื่อเพิ่มฟังก์ชันของการทำงาน
  • เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
  • เพื่อหาข้อสรุปให้กับความเห็นที่แตกต่างกันของคนในชุมชนเกี่ยวกับทิศทางของสกุลเงินดิจิทัลนั้นๆ

สรุปแล้วการ fork ก็ คือ การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบของบล็อคเชนให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น จากที่ปลอดภัยอยู่แล้วก็จะปลอดภัยมากขึ้น จะที่มีฟีเจอร์ที่สะดวกอยู่แล้ว ก็มีฟีเจอร์ที่สะดวกมากกว่าเดิม
และ สุดท้ายก็จะก่อให้เกิดสกุลเหรียญดิจิทัลขึ้นมาใหม่

Blockchain Fork คืออะไร ตัวอย่าง Hard Fork

โดยยกตัวอย่างการทำ Hard Fork ของสกุลเงินดิจิทัลที่โด่งดังเช่น

Bitcoin

เมื่อต้นปี 2009 บุคคลลึกลับนามว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้สร้าง Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลตัวแรกของโลก ตั้งแต่นั้นมา BTC ก็ได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วโลก และ เป็นแรงบันดาลใจให้สกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ มากมาย บล็อกเชนของ Bitcoin ได้มีการ Fork หลายสิบครั้งนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง แต่มีเพียงบางโครงการเท่านั้นที่สามารถดำเนินการได้ กระบวนการ Fork ได้สร้างสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ ที่มีชื่อคล้ายกับ Bitcoin ซึ่งรวมถึง Bitcoin Cash และ Bitcoin Gold Bitcoin Cash เกิดจากการ Hard Fork ใน Bitcoin เมื่อปี 2017 โดยมีการเปิดใช้งานขนาดบล็อกเพิ่มจาก 1 MB เป็น 8 MB และ ยังเพิ่มจำนวนธุรกรรมที่สามารถประมวลผลในเครือข่าย

Ethereum Blockchain Fork คืออะไร

สกุลเงินดิจิทัลอันดับ 2 ของโลกอย่าง Ethereum ได้มีการอัปเกรดเครือข่ายครั้งสำคัญเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2021 ซึ่งถูกเรียกว่า London Hard Fork การเปลี่ยนแปลงสำคัญจากการอัปเกรดครั้งนี้ คือ การลดจำนวน ETH ที่หมุนเวียนในระบบผ่านการเผาเหรียญที่ถูกจ่ายเป็นต้นทุนการทำธุรกรรม หรือ ค่าแก๊ส เพื่อแก้ปัญหาคอขวดของ Ethereum ที่มีมายาวนานในเรื่องค่าแก๊สที่สูง และ ปัญหาความแออัดของเครือข่ายนั่นเอง

ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น เมื่อปี 2016 Ethereum ชุดเดิมถูกแฮ็ก ทำให้ต้องมีการ Hard Fork และ ย้ายข้อมูลไปที่บล็อกเชนใหม่ กลุ่มนักพัฒนาที่ไม่เห็นด้วยกับการ Hard Fork ได้ประกาศเรียกตนเองว่าเป็น Ethereum Classic (ETC) โดยยึดหลักเจตนารมณ์ว่าบล็อกเชน Ethereum จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่นักพัฒนาหลักได้ย้ายไปที่เชนใหม่อย่าง Ethereum (ETH) กันหมด ทำให้ท้ายที่สุดเชนเก่าแทบไม่มีการพัฒนา ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างที่กำลังจะเห็นในเครือข่าย Terra 

Terra

หลังจากที่เครือข่ายบล็อกเชน Terra เผชิญกับวิกฤตจากการสูญเสียความเชื่อมั่น และ ส่งผลให้ราคาเหรียญ LUNA ซึ่งเป็นโทเคนดั้งเดิมของบล็อกเชนร่วงลงอย่างรุนแรง เหรียญ UST ซึ่งเป็น Stablecoin ที่อยู่บนบล็อกเชนเดียวกันนี้ ก็ไม่สามารถตรึงมูลค่าของตัวเองไว้ได้เช่นกัน 

โด ควอน ซีอีโอของ Terraform Labs ได้เสนอให้ทำ Hard Fork หรือ การอัปเกรดซอฟต์แวร์ใหม่ของเครือข่ายบล็อกเชน โดยจะแยกออกจากซอฟต์แวร์เก่าโดยสิ้นเชิง กระบวนการนี้จะต้องมีการลงมติของผู้ถือเหรียญ LUNA ก่อน โดยจะสิ้นสุดลงในวันที่ 25 พฤษภาคม 2022

หากผลโหวตของชุมชนเห็นด้วยกับการสร้างเชนใหม่ เหรียญ LUNA อันเดิมจะกลายเป็น LUNA Classic ซึ่งผู้ถือเดิมจะได้รับการจัดสรรเหรียญ LUNA จากเชนใหม่ตามสัดส่วน แต่เหรียญ LUNA เดิมจะไม่มีประโยชน์ใดๆ แล้ว นอกจากการซื้อขายเพื่อเก็งกำไรตามกระแสเท่านั้น

กระบวนการ Hard Fork อาจส่งผลกระทบและเพิ่มความผันผวนต่อสกุลเงินดิจิทัล นักลงทุนจึงควรระมัดระวัง ศึกษาหาข้อมูล และ กระจายความเสี่ยงก่อนที่จะลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save