DigitalOcean Host หลังจากที่ได้ทำการสร้าง Droplets เรียบร้อยแล้ว ซึ่งใน EP4 ทางอินดี้ จะขออธิบายถึงรายละเอียดต่างๆ ก่อนใช้งาน Droplets ให้เป็น VPS ของเรากัน โดยเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Control Panel ของ DO เบื้องต้นเพื่อที่จะใช้บริหาร จัดการ ตัว Linux ของเราให้ได้ผลดี และ เพิ่มประสิทธิภาพ ให้มากขึ้นตามลำดับ
จากบทความที่แล้ว ทางอินดี้ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ การสร้าง Droplets เพื่อเริ่มใช้งาน Linux VM โดยสามารถเข้าไปอ่าน บทความ DO DataCenter การสร้าง Droplets EP3 โดยจะเป็นการแนะนำการสร้าง VM เพื่อจะมาทำ VPS ของเรากัน ส่วนใครถนัด Linux ตัวไหนก็แล้วแต่เลย โดยบทความจะเขียนให้อยู่ตรงกลางมากที่สุด เพื่อผู้ดูแลระบบ ี่มีความถนัด จะได้นำบทความไปดูแลระบบได้ต่อไป
DigitalOcean Host กับ Control Panel
โดยในบทความนี้ทางอินดี้จะเล่ารายละเอียด เฉพาะในส่วนของ Droplets Control ของ ทาง DO เท่านั้น และ ไม่ได้ลงรายละเอียดเจาะลึกมากมาย เพราะบาง Feature ต้องไปเรียนรู้เพิ่ม และ ที่สำคัญบางเมนูใน DO ต้องเสียเงินซื้อเพิ่ม ดังนั้นจะอธิบายให้พอรู้รายละเอียดก็แล้วกัน โดยการเข้าไปที่ Droplets control panel ของ Linux นั้นทำได้ดังนี้
Project name > Droplets เลือกชื่อ Linux ที่เราสร้างขึ้นมา
Graphs ของ DigitalOcean Host
รูปแบบการแสดงผลเป็น กราฟ โดยแสดงรายละเอียดการใช้งาน อาทิ เช่น Public Bandwidth, CPU Usage และ Disk I/O เพื่อช่วยให้เราดูรายละเอียดของ VM linux ของเราว่าใช้งานประสทิธิภาพเป็นอย่างไร เพียงพอ หรือ ไม่
Access
โดยในหัวข้อเมนู Access จะทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ
- Console Access ทำหน้าที่ Login เข้าไปที่หน้าจอ VM ของเรา ในกรณีที่ต้องการ Access ตรงไปยัง VM
- Reset root password เป็นการ Reset password สำหรับการเข้าใช้งาน VM โดยต้องทำการปิดเครื่องก่อน ถึงจะใช้งานเมนูการ Reset password ได้
- เมื่อกดปุ่ม Lunch Console เราจะได้หน้าจอของ VM ของเรา โดยสามารถใช้ user และ password เข้าไปจัดการ ต่างๆ บน VM ได้ โดยจะขออธิบายในคราวหลัง
Power
เป็นการปิดตัวเคื่อง VM เอาไว้กรณีไม่ใช้งาน หรือ ต้องการปิดเพื่อปรับปรุง โดยเข้ามาที่หัวข้อ Power และ เลือกปิด Turn off
การเปิดเครื่องใน DO control Panel เปรียบเสมือนการ Shutdown ใน windows เวลาเปิดก็ต้องเข้ามาใน DO control panel แล้วมา Turn on ใหม่
ข้อควรระวัง การปิดเครื่องใน DO ระบบก็ยังคงคิดเงินต่อไปเรื่อยๆ หากไม่ใช้งานจริงๆ แนะนำให้ลบทิ้งไปเลย
Resize
ก่อนจะอธิบาย Resize จะขอกล่าวถึง Volume ก่อน โดยไม่อธิบายเป็นหัวข้อ เพราะน่าจะเหมาะกับคนใช้งานระดับ Advance มากกว่า โดย Volumes จะใช้ Add Hard disk เพิ่มเข้าไปใน VM ของ VPS เราให้เพิ่มไปอีกก้อน กรณีใช้งานไม่พอ ซึ่งน่าจะเหมาะกับ คนที่ต้องการใช้งานพื้นที่เยอะๆ มากกว่าใช้ CPU กับ Ram เยอะๆ
Resize จะเป็นการขยับ VM จากที่ใช้งานอยู่ไปเป็นอีก Plan อีกราคาหนึงเลย ยกตัวอย่างเป็นใช้งาน 2vCPU, 4GB Ram และ 80GB Hard disk จากเดือนละ 20$ ไปเป็น 4vCPU, 8GB Ram และ 80GB Hard disk เดือนละ 40$ อธิบายง่ายๆคือการเปลี่ยน Package การใช้งานนั้นเอง
โดยการ Resize จะขยับขึ้นได้เพียงอย่างเดียว ขยับลงมาใช้แบบถูกกว่าไม่ได้ ดังนั้นการเลือกใช้งานให้ลองจากแพลน เล็กๆก่อนก็ได้ แล้วหากไม่พอก็ค่อยขยาย เพราะใช้เวลาขยายไม่กี่นาที เพียงแคปิดเครื่อง และ เลือก แพลนใหม่ เพียงแค่นี้เอง
Networking
โดยหัวข้อนี้จะอธิบายคร่าวๆ คือ Public network จะบอกรายละเอียดของ IP Address ของเครื่องเราว่าใช้งาน IP Address อะไร และ ในส่วนของ Floating IP ก็มีให้เพิ่มหากต้องการทำ Floating IP หรือ หากต้องการใช้งาน Private network กรณีมี VM ภายใน DO หลายตัว หรือ หน่วยงานต้องการใช้ Private IP กับ VM ซึ่งจะไม่อธิบายตรงนี้มาก เพราะบทความของเราเน้นสอนการสร้าง VPS ทำเว็บ
ในส่วนของ Firewall จะขออธิบายในบทความต่อไปในอนาคต ถึงการทำ Firewall ให้กับ VM ของเราบน DO ว่าต้องทำ Firewall ยังไงบ้าง
Backup & Snapshots
ตรงหัวข้อนี้จะมีค่าใชจ่าย โดยทั้งการทำ Snapshots คือการ snap VM ของเราเอาไว้ก่อนที่เราจะไปทำอะไรกับ VM หากมีปัญหา เราจะได้ย้อนกลับมาได้ก่อนหน้าที่เราจะทำอะไรบางอย่าง เช่น ก่อนการอัพเดท patch ก็ให้ snap เอาไว้ก่อน และ ถ้ามีปัญหาก็ย้อนกลับได้
ส่วน Backup เป็นการ Backup ตัว VM ของเราไปเลย โดยสามารถเลือกย้อนกลับไปได้นะเวลาไหนก็ได้ตามที่เราได้ทำการ Backup เอาไว้ภายใน 1 เดือน โดยทั้งสองส่วนมีค่าใช้จ่ายสามารถไปอ่านรายละเอีดได้ในหน้า console
Destroy
Destroy droplet ใช้ลบ VM ของเราออกจาก DO โดยหากเราไม่ใช้งาน VM ตัวนี้แล้วก็ให้กด detroy this droplet ไปเลย ระบบของ DO ก็จะไม่คิดเงินของเรากับ VM ตัวที่ลบออกไป
Rebuild droplet กรณีที่ VM ของเรามีปัญกาเกี่ยวกับ OS เราสามรถเข้าไป กด Rebuild droplet ได้ ระบบของ DO ก็จะดำเนินการ Rebuild OS ให้ใหม่ แต่ควรจะ Backup ข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน
Recovery
หัวข้อในเมนู Recovery จะเหมาะกับคนใช้งาน Linux ก็เก่งมากๆ โดยสามารถ Upload แผ่น ISO ของ linux เข้าไปแล้วสั่ง boot ด้วยแผ่นเข้าไปแก้ไขค่า config ต่างๆได้
อีกหัวข้อคือ Boot from hard disk สำหรับ reboot เข้าไปแก้ไขค่า option ต่างๆในตัว VM โดยรายละเอียดตรงนี้ไม่ขอกล่าวถึงมาก
DigitalOcean Host คำสั่งพื้นฐานของ Linux
หลังจากติดตั้ง Linux ใน DO เสร็จแล้วทางอินดี้แนะนำคือ คำสั่งพื้นฐานสำหรับการใช้งาน Linux สำหรับทำ Web server โดยจะอธิบายในส่วนของค่าย Debain / Ubuntu เบื้องต้นดังนี้ กรณีใช้ CentOS ก็เปลี่ยนจาก apt-get เป็น YUM
- คำสังอัพเดท OS ของ Linux โดยเป็นการอัพเดทเรื่องความปลอดภัย ช่วงโหว่าต่างๆ
apt update
- คำสั่งติดตั้ง Pagekage เช่น Wget และ nano
apt install wget
apt install nano
- เปลี่ยน Time Zone มาเป็นประเทศไทย
timedatectl set-timezone Asia/Bangkok
บทสรุป DigitalOcean Host
หากสร้าง Droplets ของ VM Linux มาเรียบร้อยแล้ว ก็ควรจะรู้จักเมนูใน DO ก่อนเพื่อการจัดการ ระบบที่ทาง DO ให้มา และ เราจะได้รู้ว่า VM ของเราจะต้อง Set อะไรเพิ่มเติม ในอนาคตจะเขียนบทความเกี่ยวกับการสร้าง VPS ขึ้นมาใช้เอง เพื่อใช้งาน Website หรือ Blog ของเรา ทางอินดี้จะทยอยลงบทความเรื่อยๆ