Alpha Coin คือ Alpha Finance หรือ Alpha คือ แพลตฟอร์มที่ให้บริการเกี่ยวกับ Decentralized Finance หรือ ก็ คือแพลตฟอร์มที่เปิดให้นักลงทุนเข้ามาทำ Yield Farming ซึ่ง Alpha จะมีลักษณะเป็น Cross Chain สามารถทำงานได้ทั้งบน Binance Smart Chain และ Ethereum นอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถกู้เหรียญบนแพลตฟอร์มของ Alpha ได้อีกด้วย
Alpha Coin คือ
เหรียญ Alpha จัดเป็นเหรียญคริปโตเคอเรนซีที่เป็นทั้ง Utility token และ Governance Token ในเหรียญเดียวกัน กล่าว คือ ผู้ที่ถือครองเหรียญนี้สามารถโหวตกำหนดนโยบาย และ อนาคตของแพลตฟอร์ม Alpha ได้ และ สามารถนำเหรียญ Alpha ไปปล่อยกู้ หรือ จะนำไป stake ก็ได้ นอกจากนี้เหรียญ Alpha coin ยังมีความพิเศษนอกเหนือจากเหรียญอื่น ๆ ตรงที่อนุญาตให้ผู้ที่เข้ามาเป็น Yield Farmer สามารถใช้ Leverage เพื่อนำเงินมาวางค้ำประกัน และ กู้เหรียญมาเพื่อ Farm สร้างผลตอบแทนได้มากขึ้นโดยเป็นเจ้าแรกในโลกที่อนุญาตให้มีการทำ Leverage นี้ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ Leverage ได้ถึง 2.5 เท่า
ตัวเหรียญ Alpha นั้นจะทำงานบนแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Alpha Finance หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า Alpha โดยแพลตฟอร์มนี้จะให้บริการในเรื่องของ Decentralized Finance หรือ ก็คือ แพลตฟอร์มที่เปิดให้นักลงทุนเข้ามาทำ Yield Farming ความพิเศษที่สำคัญที่ทำให้แพลตฟอร์มนี้มีความน่าสนใจก็ คือ มีรูปแบบการทำงานเป็น Cross Chain ที่สามารถทำงานได้ทั้งบน Binance Smart Chain และ Ethereum จึงครอบคลุมตามความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี
- รับค่าตอบแทนในรูปแบบค่าธรรมเนียม ผู้ถือเหรียญจะได้รับจากการ Staking เหรียญ ALPHA โดยจะได้รับจากเครือข่ายทั้งหมด ไม่จำกัดว่าโปรดักส์นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาบนเชนไหน หรือ ใช้โซลูชันเลเยอร์ใด
- ปลดล็อกฟีเจอร์ของโปรดักส์ Alpha ยิ่งผู้ถือเหรียญทำการ Staking มากเท่าไหร่ ยิ่งจะได้รับการจัดให้ไปอยู่ใน Tier ที่สูงขึ้น ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ และ เข้าถึงฟีเจอร์สุดพิเศษ
- เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโปรเจกต์สำคัญ โดยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากการพัฒนาโปรเจกต์ใหม่ รวมทั้งเข้าถึงชุมชน Web3 ได้
- ออกเสียงโหวตข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยจะได้รับ sALPHA ซึ่งนำไปใช้เป็นตัวแทนในการลงคะแนนข้อเสนอได้
หน้าที่ของเหรียญ ALPHA
แพลตฟอร์มของ Alpha Finance Lab จะมี ALPHA เป็นเหรียญหลัก ซึ่งสามารถนำไปล็อคบนแพลตฟอร์ม (Staking) เพื่อยืนยันธุรกรรม หรือ ปล่อยกู้ได้
นอกจากนี้ ALPHA ยังเป็น Governance token ที่มอบอำนาจให้ผู้ถือเหรียญสามารถออกข้อเสนอเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม รวมถึงใช้แสดงสิทธิ์ในการโหวตข้อเสนอที่มาจากผู้ใช้อื่น ผ่านการบริหารแพลตฟอร์มแบบ Decentralized Autonomous Organization
ผลิตภัณฑ์ของ ALPHA
ผลิตภัณฑ์แรกสุดของ Alpha Finance Lab คือแพลตฟอร์ม Alpha Lending ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการกู้ยืม โดยผู้ต้องการปล่อยกู้สามารถนำเหรียญดิจิทัลที่แพลตฟอร์มรองรับไปฝากไว้ใน Pool รวมกับเหรียญของผู้ใช้คนอื่นๆ เมื่อฝากเหรียญเข้าไปแล้วจะได้เป็นเหรียญ alTokens เช่น alBNB หรือ alETH ออกมา
สำหรับผู้ที่ต้องการกู้ ก่อนอื่นต้องฝากเหรียญเข้าไปในแพลตฟอร์มเพื่อเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันก่อน โดยแต่ละเหรียญจะมีอัตรา Loan-To-Value (LTV) ที่แตกต่างกัน สมมติว่าแพลตฟอร์มกำหนด LTV ของเหรียญ BNB ไว้ที่ 75% ผู้กู้จะสามารถกู้เหรียญ BNB เพิ่มได้ไม่เกิน 75% ของมูลค่าที่คำ้ประกันไว้ หลังจากที่ผู้กู้ทำการกู้ออกไปและจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยแล้ว ดอกเบี้ยก็จะถูกแบ่งและกระจายให้กับผู้ปล่อยกู้ตามสัดส่วนเหรียญที่ฝากเข้ามาโดยอัตโนมัติ ซึ่งก็คือการทำ Yield farming ที่กำลังเป็นที่นิยมนั่นเอง
นอกจากนี้ Alpha Finance Lab ยังมีแพลตฟอร์มใหม่ชื่อ Alpha Homora ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Yield Farming แบบมี Leverage เจ้าแรกของวงการ นอกจากนี้ ภายในปี 2021 ทาง Alpha Finance Lab จะออก Alpha Homora V2 ที่เป็นแพลตฟอร์มกู้ยืมที่สามารถยืมเหรียญจากอีก Smart contract หนึ่งได้ด้วย
Alpha Coin คือ และ ดีไหม
ด้วยความที่เป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปแบบของ Utility Coin จึงเป็นเหรียญที่มีหน้าที่จำเพาะอยู่แล้วตรงที่ใช้เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรมแบบ DeFi โดยเหรียญ Alpha มีรูปแบบการใช้งานดังต่อไปนี้
- การกู้ยืมผ่านแพลตฟอร์ม Alpha Lending: ผู้ที่ต้องการปล่อยกู้สามารถนำเหรียญ Alpha ไปฝากไว้บน Pool ร่วมกับผู้ปล่อยกู้รายอื่น ๆ ซึ่งเมื่อฝากเหรียญไว้แล้วแพลตฟอร์มจะให้เหรียญ alTokens แก่คุณ ในส่วนของผู้ที่ต้องการจะกู้ยืมเหรียญ ผู้กู้เองก็จำเป็นที่จะต้องฝากเหรียญเข้าไปในแพลตฟอร์มเสียก่อนเพื่อเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน โดยมีอัตรา Loan-To-Value (LTV) ที่แตกต่างกัน และ หลังจากที่ผู้นำเหรียญที่กู้ออกไปพร้อมดอกเบี้ยมาจ่ายคืน ตัวดอกเบี้ยนี้เองก็จะถูกนำไปกระจายให้กับผู้ปล่อยกู้ตามสัดส่วนของเหรียญที่ฝากเข้ามาโดยอัตโนมัติ วิธีการนี้ก็คือการทำ Yield farming นั่นเอง
- สามารถทำ Yield farming แบบมี Leverage: ในส่วนนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นที่สำคัญของเหรียญ Alpha ก็ว่าได้ เพราะเป็นเจ้าแรกของวงการที่เปิดโอกาสให้มีการใช้ Leverage ในการทำ Yield farming บนแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Alpha Homora ที่สามารถเพิ่มโอกาสในการกู้ยืมเหรียญสำหรับผู้ที่ทำการกู้ยืมได้มากสุดถึง 2.5 เท่าของมูลค่าหลักประกัน
- สามารถทำการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้: สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารอนุพันธ์เป็นสิ่งที่นักลงทุนหลายท่านอ่าจจะมีความคุ้นเคยกับการลงทุนในรูปแบบนี้เป็นอย่างดี สำหรับการลงทุนในเหรียญ Alpha เองก็มีการลงทุนในรูปแบบนี้เช่นกัน โดยเป็นแพลตฟอร์มตัวใหม่ของ Alpha finance lab ในชื่อว่า Alpha X ซึ่งเป็นการนำจุดแข็งของ perpetual swap หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มีกำหนดเวลามารวมกับ Leverage Token เพื่อให้นักลงทุนมีโอกาสสร้างผลกำไรจากความผันผวนของตลาดภายใต้แนวคิด Strike Tokens ที่ไม่ว่าภาวะตลาดในขณะนั้นจะเป็นอย่างไรนักลงทุนก็มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้ในทุกสภาวะของตลาดนั่นเอง
ทีมผู้สร้าง ALPHA
Alpha Finance Lab นำโดยคุณทชา ปัญญาเนรมิตดี (Tascha Punyaneramitdee) ในฐานะ Project Leader ซึ่งคุณทชามีประสบการณ์ในวงการการเงินมาอย่างยาวนาน และยังเป็นอดีตหัวหน้าทีมกลยุทธ์ของ Band Protocol ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโปรเจ็คฝีมือคนไทยอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีคุณนิปุณ ปิติมานะอารี (Nipun Pitimanaaree) ในตำแหน่ง Lead engineer and Blockchain Researcher ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มด้วย คุณนิปุณจบการศึกษาจากสาขาวิชา Mathematics and Computer Science จาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) และยังเป็นผู้ชนะเหรียญทองในการแข่งขัน International Mathematical Olympiad ถึง 4 สมัยติดต่อกัน
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
- Alpha Finance Lab ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนา และ Alpha Homora ก็ยังอยู่ในเวอร์ชันเบต้า (V2) ดังนั้น อาจยังมีความเสี่ยงในหลากหลายทาง อย่างในด้านความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม, Technology Strength (TS), การใช้ประโยชน์จาก Smart Contract เป็นต้น นอกจากนั้น อาจมีความท้าทายในเรื่องการดำเนินการตามแผนงานอีกด้วย
- โทเคนยังไม่ถูกนำมาใช้งานทั้งในแง่ Utility และ Governance บนแพลตฟอร์มอย่างสมบูรณ์นัก ส่งผลให้ยังคงมีความเสี่ยงในด้านการเปลี่ยนแปลงของกลไกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน หรือ แม้แต่ความล้มเหลวในด้านการนำมาใช้งานจริง
- เมื่อกล่าวถึง Alpha Homora แล้ว ผู้ใช้งานอาจได้รับความเสี่ยงเช่นเดียวกับการใช้งานโปรดักส์ที่พัฒนาด้วยนวัตกรรมใหม่ โดยความเสี่ยงที่ว่านั้นมีทั้งเสี่ยงถูกบังคับขายสินทรัพย์ โดยเฉพาะกรณีที่ราคาเหรียญที่ทำฟาร์มนั้นตกลงอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ถือเหรียญ ETH เสี่ยงเกิดหนี้ได้หาก Liquidator ไม่ทำให้เกิดสภาพคล่อง อีกทั้ง Liquidator เอง เสี่ยงจ่ายค่า Gas ฟรี ๆ ในกรณีที่เจอนักขุดบางรายเข้าถึงข้อมูลการเทรด และ ชิงตัดหน้าขายหรือซื้อสินทรัพย์นั้นก่อน