Near Coin คือ Near Protocol ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain มีคอนเซ็ปต์หลักคือการสร้าง Smart contract เช่นเดียวกับ Ethereum หรือ Polkadot และ มี Open source code เพื่อให้เหล่านักพัฒนาสามารถเข้ามาทำการสร้างแอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ หรือ Decentralized Application (DApps) ได้
อีกทั้งตัว Near Protocol ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เหมือน Cloud ในการจัดเก็บข้อมูล DApps ที่ถูกเขียนขึ้นโดยเหล่าโปรแกรมเมอร์ รวมถึงข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมด ทั้งนี้ตัว Near Protocol ยังใช้ Sharding Technology และ Proof of Stake (PoS) ซึ่งทำให้สามารถรองรับจำนวนธุรกรรมที่จะเพิ่มมากขึ้นได้ในอนาคต รวมทั้งเหรียญ Near ที่เป็น Utility token ของเครื่อข่าย ถือเป็นแแพลตฟอร์มที่มีโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมเพื่อดึงดูดเหล่านักพัฒนา ทั้งเรื่องการกระจายอำนาจ และ ความสะดวกในการใช้งาน
Near Coin คือ
NEAR Protocol หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ NEAR Platform เป็นเครือข่ายบล็อกเชนแบบ Proof-of-stake ที่ถูกออกแบบขึ้นมาให้เป็นมิตรกับเหล่าโปรมแกรมเมอร์ เพื่อที่โปรแกรมเมอร์จะสามารถใช้ในการเขียนแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Application หรือ dApps)
โดย NEAR Platform เปรียบเสมือนกับ cloud ที่โปรแกรมเมอร์สามารถใช้เป็นฐานสำหรับการเขียนแอปพลิเคชัน dApps ขึ้นมา เพียงแต่ cloud นี้จะไม่มีตัวกลางเป็นองค์กรใดองค์กรหนึ่งเปิดเซิฟเวอร์ขนาดใหญ่อยู่เบื้องหลังเพียงผู้เดียว ในทางกลับกันผู้ที่คอยสนับสนุน NEAR Platform คือ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่รับหน้าที่เป็น Validator Node สำหรับเครือข่ายนี้นั่นเอง
Near Coin คือ ความสำคัญ
ในมุมมองของเหล่าโปรแกรมเมอร์ การมีแพลตฟอร์มสำหรับเขียนโปรแกรมที่เป็น Decentralized หรือ แพลตฟอร์มที่ไม่มีตัวกลาง จะสามารถป้องกันโอกาสที่โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาอย่างยากลำบากจะถูกปิดตัวลงโดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม แถมการใช้แพลตฟอร์มแบบ Decentralized ยังช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การชำระเงิน หรือ Cryptography ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป การใช้งานแอปพลิเคชันที่ไม่มีตัวกลาง หรือ dApps ซึ่งเป็น Open-source มีข้อดีคือ หากผู้ใช้เข้าใจภาษาโปรแกรมก็จะสามารถเข้าใจได้ว่าแอปพลิเคชันนั้นๆ ทำงานอย่างไร และ เนื่องจากข้อมูลบน Blockchain ไม่สามารถถูกแก้ไขได้ ทำให้สามารถสืบย้อนกลับไปถึงผู้พัฒนาโปรแกรมได้ จึงมั่นใจได้ว่าการใช้ dApps จะไม่ถูกผู้พัฒนาโกง หรือ หลอกเอาข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ผิด
จุดเด่น Near Coin คือ
โดยจุดเด่นของ NEAR Protocal อธิบายได้ดังต่อไปนี้
สำหรับนักพัฒนา (Developer)
Near Protocol มี Open Source Code ให้ใช้ในการสร้าง DApps พร้อมทั้งภาษาในการเขียนโปรแกรมที่นักพัฒนาคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ทั้ง TypeScript, JavaScript, WebAssembly, Python, Rust, Solidity, CSS
รวมทั้งมีการเก็บข้อมูลได้เช่นเดียวกับ Cloud แต่เปลี่ยนจากรูปแบบเดิมของ Cloud มาอยู่บน Blockchain ทำให้ข้อมูลไม่ถูกลบทิ้ง นักพัฒนาจึงไม่ต้องกังวลเรื่องแพลตฟอร์มปิดตัวจนส่งผลต่อ DApps ที่สร้างขึ้น นอกจากนี้ยังมี Robust Tooling ซึ่งจะช่วยให้กระบวนกการทำงานของนักพัฒนาในการสร้าง DApps ง่ายขึ้น
สำหรับผู้ใช้งาน (User)
ตัวเว็บไซต์ หรือ แพลตฟอร์ม Near ใช้งานง่าย อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้คุ้นเคย นอกจากนี้ตัว DApps ที่พัฒนาขึ้นมาบนเครือข่าย Near Protocol ยังสามารถสืบค้นข้อมูลไปถึงผู้พัฒนาได้ ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเรื่องการโดนหลอกจากแอปฯ นั้น ๆ ได้อีก
Near Coin คือ Scalability
Scalability เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ใช้งาน Ethereum หรือ BTC เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องจำนวนธุรกรรมต่อวินาที (Transactions Per Second: TPS) จนทำให้ค่าแก๊ส (Gas Fee) สูงขึ้น สำหรับ Near Protocol แก้ปัญหานี้โดยการใช้เทคโนโลยี Sharding ที่เรียกว่า “Nightshade”
โดย Nightshade เป็นเทคโนโลยีที่จะกระจายงานไปยัง Node ในเครือข่าย โดยการแบ่งงานใหญ่ออกเป็นงานย่อย ๆ เพื่อไปประมวลผลบน Node ต่าง ๆ จึงทำให้การประมวลผลธุรกรรมเร็วขึ้น จำนวนธุรกรรมต่อวินาทีมากขึ้นในขณะที่ค่าแก๊สถูกลง นี่จึงเป็นเหตุผลที่ Near Protocol สามารถรองรับจำนวนธุรกรรมที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ได้นั่นเอง
Proof of Stake
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Near Protocol ใช้ระบบ Proof of Stake ในการประมวลผล ผู้ที่ต้องการจะเข้ามาเป็น Validator หรือผู้ร่วมตรวจสอบจะต้องมีการ Stake เหรียญ Near เข้าไปในระบบก่อน เพื่อเป็นการการันตีผลลัพธ์ที่จะได้ เช่นเดียวกับ Chain ใหม่ ๆ ที่หันมาใช้ Proof of Stake แทน Proof of Work อย่าง Solana, Terra, Polkadot รวมถึง Ethereum 2.0 เองก็ตาม
Rainbow Bridge
อีกหนึ่งจุดเด่นของ Near protocol คือ Rainbow Bridge ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโอนเหรียญข้าม Chain จาก Ethereum มายัง Near และจาก Near ไปยัง Ethereum ได้อย่างง่ายดาย ลดปัญหาเรื่องค่าธรรมเนียมหลายทอด
ประวัติผู้ก่อตั้ง
Near Protocol ก่อตั้งขึ้นโดยนักพัฒนาซอฟแวร์ของ Microsoft ชื่อว่า Alexander Skidanov และนักพัฒนาอีกคนที่ชื่อว่า Ilya Polosukhin โดยโปรเจกต์ Near ได้เริ่มขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคมปลายปี 2018 และเติบโตมาเรื่อย ๆ จนมีทีมงานกว่า 50 คน ภายในทีมมีนักพัฒนาที่เคยทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ทั้ง Google Facebook และอีกมากมาย
Near Coin คือ อะไร
สำหรับ Near Coin (NEAR) เป็น Native Token ของ Near Protocol โดยเหรียญ Near มีจำกัดอยู่ที่ 1,000,000,000 Near ปัจจุบันเกิดขึ้นมาแล้วกว่า 600 ล้าน NEAR เคยทำ All time high ไปเมื่อช่วงเดือนมกราคา 2021 ราคาอยู่ที่ $17.60 ต่อ 1 NEAR สามารถเข้าไปเช็กราคาเหรียญ NEAR ได้ในเว็บไซต์ coinmarketcap.com
เหรียญ NEAR เป็นเหรียญนำมาใช้จ่ายเป็นค่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย นอกจากนี้ยังเอาไว้จ่ายให้เป็น Rewards หรือค่าตอบแทนสำหรับการ Stake และเป็นค่าตอบแทนให้กับ Validator และ Developer ที่สร้าง Smart Contract บน Chain นอกจากนี้ผู้ที่ถือเหรียญ Near ยังมีสิทธิ์โหวตทิศทางต่าง ๆ ของ Near Protocol อีกด้วย
Near Coin ดีไหม
นอกจากชื่อเสียงในด้านการเป็น Ethereum Killer แล้ว Near Protocol เองก็มีจุดแข็งของตัวเองในการเป็บแพลตฟอร์มที่เข้าถึงง่ายและใช้ง่ายสำหรับทั้งนักพัฒนาและผู้ใช้งาน ดังนั้นแล้วนักลงทุนควรศึกษาต่อไปว่าทิศทางของ Near Protocol จะเป็นอย่างไร เหล่านักพัฒนาให้ความสนใจมากน้อยแค่ไหน หรือการออกโปรเจกต์ต่าง ๆ ในอนาคต ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อราคา Near Coin อย่างแน่นอน
Near Protocol ถือเป็นอีกหนึ่งเครือข่าย Blockchain ที่กำลังมาแรงและอยู่ในกระแส ยังมีโอกาสในการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จากเทคโนโลยีและระบบ Proof of Stake ที่ใช้ เรียกได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ดีสำหรับนักพัฒนา DApps และเหล่านักลงทุน แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ ยังไงก็ควรศึกษาเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจ