Sunday, 24 November 2024

Compound Coin

Compound Coin

Compound Coin หรือ Compound Finance คือ แพลตฟอร์ม Decentralized Finance (DeFi) ที่รองรับทั้งการฝากและ การกู้สกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ ผ่าน Smart Contract โดยใช้เพียง Wallet ที่รับรอง Ethereum ก็สามารถเข้าถึง Compound Finance ได้

แพลตฟอร์มจะมี Pool ที่รวมเงินถูกฝากเข้ามาด้วยกัน ผู้ขอกู้สามารถยืมเงินใน Pool เหล่านี้ไปได้ แต่ต้องคืนเงินตามกำหนดพร้อมดอกเบี้ยที่จะถูกปรับโดยอัตโนมัติตามอุปสงค์-อุปทาน

ผู้ฝากเงิน หรือ ผู้ขอกู้ยืมบน Compound Finance จะได้รับเหรียญ COMP เพื่อแสดงถึงการมีส่วนร่วมในโปรโตคอล โดยเหรียญ COMP คือ Governance token ที่มอบสิทธิ์ให้ผู้ถือสามารถเสนอนโยบาย หรือ ออกเสียงสนับสนุนนโยบายของผู้อื่น เพื่อช่วยกำหนดทิศทางพัฒนาแพลตฟอร์มในแบบประชาธิปไตย

Compound Coin คืออะไร

  • Compound เป็น Protocol บนบล็อกเชนของ Ethereum ที่สามารถปล่อยกู้ และ กู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลได้โดยทำงานอัติโมนัติ และ ไม่ผ่านตัวกลาง หรือ เรียกได้ว่าเป็น Liquidity Pool ชนิดหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาจากอัลกอริทึม โดยพิจารณาจากอุปสงค์ และ อุปทานของสินทรัพย์ และ จะโต้ตอบโดยตรงกับ Protocol โดยมีการรับ (และจ่าย) อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวผ่าน Smart Contract ซึ่งไม่ต้องเจรจาเงื่อนไขต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การครบกำหนด หรือ อัตราดอกเบี้ย
  • Protocol รวบรวมอุปสงค์-อุปทานของผู้ใช้งานแต่ละคน เมื่อผู้ใช้งานฝากสินทรัพย์ดิจิทัลจะถือว่าเป็นการปล่อยสภาพคล่องไปใน Pool นั้นมากกว่าการให้กู้ยืมโดยตรง
  • บุคคลที่ต้องการการลงทุนระยะยาวใน Ether และ โทเคน (“HODLers”) สามารถใช้ Compound Finance เป็นแหล่งของผลตอบแทนเพิ่มเติมจากการลงทุน
  • Compound อนุญาตให้ผู้ใช้งานกู้ยืมสินทรัพย์จาก Protocol โดยการวางเหรียญค้ำประกัน เพื่อแลกกับความน่าเชื่อถือจากผู้ให้กู้ยืม และ อำนาจในการยืมสินทรัพย์ดิจิทัล

ประวัติผู้ออก Compound Coin

Compound เริ่มก่อตั้งในประมาณปี 2017 โดย คุณ Robert Leshner และ คุณ Geoffrey Hayes ทั้งคู่มีเป้าหมายที่อยากจะพัฒนาระบบการเงินแบบเดิมที่มีข้อบกพร่อง เรื่อง ความรวดเร็ว, ประสิทธิภาพในการทำงาน และ ที่สำคัญคือถูกจำกัดด้วยระบบแบบรวมศูนย์ จนได้ร่วมกันสร้างบริษัทซอฟแวร์ชื่อว่า Compound Labs ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมของระบบ Compound Protocol 

วัตถุประสงค์

มีคุณสมบัติเป็น Governance Token ที่สามารถให้ผู้ที่ถือ Token สามารถแสดงสิทธิ์ออกเสียงในการเสนอการปรับปรุง หรือ เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ เช่น Collateral Factor (การเพิ่มปริมาณการกู้ของเหรียญชนิดนั้น), Liquidation Incentive (ค่าธรรมเนียมในการนำหลักประกันไปขายใช้หนี้) และ การคัดเลือกเหรียญที่ใช้ภายใน Pool ของระบบ เป็นต้น เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางและทิศทางการดำเนินงานของ Compound Finance 

การทำงานของ

เมื่อผู้ใช้ฝากเหรียญเข้าไปใน Pool เหรียญนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็น cTokens ซึ่งเป็นตัวแทนสกุลเงินบนระบบ Compound Finance หากผู้ใช้ฝาก Ethereum ก็จะได้ cETH หรือ ถ้าฝาก DAI ก็จะได้ cDAI เป็นต้น

เหรียญเหล่านี้จะใช้เป็นค่าธรรมเนียมตอบแทนให้แก่ผู้ปล่อยกู้ตามอัตราส่วนที่ถูกกู้ออกไป รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ขนาดของ Pool จำนวนผู้ปล่อยกู้ และ มูลค่าของเหรียญ เป็นต้น ในการปล่อยกู้ ผู้ใช้จะทำผ่าน Software Wallet เช่น Metamask หลังจากนั้นก็สามารถรอรับค่าธรรมเนียมจากการกู้ยืมได้ทันที

ในกรณีของผู้ขอกู้ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การวางเหรียญค้ำประกัน (Collateral) เพื่อแลกกับ Borrowing Power หรืออำนาจในการยืมสินทรัพย์ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนตามเหรียญที่ต้องการกู้ โดยต้องวางค้ำประกันในจำนวนที่มากกว่าจำนวนที่ต้องการจะยืมเสมอ (Overcollateralizing) เพื่อให้ผู้ปล่อยกู้เชื่อถือ

หน้าที่ของเหรียญ COMP

เหรียญ COMP เป็น Governance token ของระบบ Compound Finance ที่ผู้ถือจะมีอำนาจในการเสนอนโยบายต่างๆ บนแพลตฟอร์ม และ มีสิทธิ์ในการออกเสียงสนับสนุน หรือ โหวตในการดำเนินการต่างๆ ของระบบ เช่น การเปลี่ยนแปลงของค่าธรรมเนียม การเพิ่มเหรียญใหม่ และ นโยบายอื่นๆ ส่วนอำนาจในการเสนอจะขึ้นอยู่กับจำนวนเหรียญที่ผู้ถือแต่ละคนมีอยู่ หลักการนี้นับเป็นการบริหารแบบองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์อำนาจ หรือ DAO (Decentralized Autonomous Organization)

ความเสี่ยง

  • ความเสี่ยงเรื่องของการ Liquidation อย่างผู้ใช้ไม่สามารรักษาวินัยในการใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากระบบ Protocol นั้นจะไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า แต่ถ้าเกิดภาระหนี้ถึงเกณฑ์กำหนดเมื่อใด ระบบจะทำการ Liquidation โดยอัตโนมัติทันที
  • อัตราของผลตอบแทนของการ Stake คริปโตเคอร์เรนซีมีการแปลี่ยนแปลงผันผวนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ใช้บริการจะต้องคอยติดตามเฝ้าอยู่ตลอดเพื่อไม่ให้ผลตอบแทนของผู้ฝากผันผวนตาม
  • ความเสี่ยงเรื่องข้อบกพร่องของ Smart Contract ที่ติดปัญหา Bug ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนของการส่งข้อมูล (Information Flow) ผิดพลาด จึงเป็นเหตุให้ผู้ให้บริการเกิดความเสียหาย
  • ความเสี่ยงเรื่องของความเสี่ยงสูงของการฉ้อโกง เนื่องจาก Defi สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนในการนำคริปโตเคอร์เรนซีที่สูง จึงทำให้มีผู้ใช้งานนำเงินไปฝากเป็นจำนวนมาก และ ขาดความระมัดระวัง ทำให้ทางผู้พัฒนาระบบสามารถโกงได้ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับ Defi ที่ถูกสร้างบน Binance Blockchain ที่ชื่อว่า Defi 100 โดยทางผู้พัฒนายักยอกเงินราว 32 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 1 พันล้านบาท แล้วทำการปิดระบบหนี สร้างความเสียหายให้แก่ผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save