Friday, 22 November 2024

เหรียญ ada คืออะไร

Cardano (ADA)

เหรียญ ada คืออะไร Cardano หรือ ADA คือ เครือข่ายบล็อกเชนรูปแบบหนึ่ง โดยเครือข่ายดังกล่าวจะมีเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี Cardano หรือ ADA ไว้ใช้เป็นค่าธรรมเนียม (Gas) ในการทำธุรกรรม เฉกเช่นเดียวกับเครือข่ายอย่าง Ethereum, Binance Smart Chain, Solana และ เครือข่ายอื่นๆ อีกมากมายบนโลกคริปโตเคอร์เรนซี 

Cardano ถูกก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2015 โดย ชาร์ลส์ ฮอสกินสัน เพื่อให้สามารถทำสัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชน (Smart Contract) ได้ โดยมีจุดประสงค์ให้สามารถสร้างระบบการเงินแบบ DeFi (Decentralized Finance) ได้เหมือนกับ Ethereum 

เหรียญ ada คืออะไร

Cardano คือ แพลตฟอร์มสมาร์ตคอนแทรคที่ถูกสร้างขึ้นในปี 2015 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง และ พัฒนาคริปโทเคอเรนซ๊ให้มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม

ทางผู้พัฒนากล่าวว่า Cardano เป็นบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 3 ที่ระบุ และ แก้ไขปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นในบล็อกเชนยุคก่อนๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ความสามารถในการเพิ่มขยาย (Scalability), ความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Interoperability) และ ความยั่งยืน (Sustainability) ผ่านสถาปัตยกรรมแบบเป็นลำดับชั้น (layered architecture)

โดยปกติแล้ว White paper ทั่วไปจะประกอบไปด้วยโค้ด (Code) เป็นหลัก ซึ่งจะแตกต่างจากของ Cardano ตรงที่ประกอบไปด้วย แนวคิดของหลักการดีไซน์ การดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นคริปโทเคอเรนซีตัวแรกๆ ที่สร้างขึ้นมาจากแนวคิดปรัชญาที่อิงหลักการทางวิทยาศาสตร์ และ รวมงานวิจัยทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้เอง ทีมงานผู้พัฒนา Cardano จึงมั่นใจว่าผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวิจัย หรือ วิศวกรรมจะได้อ่าน ทบทวน และ มีความเห็นที่ตรงกันต่อผลลัพธ์ที่สามารถเป็นไปได้

เลเยอร์ของ Cardano คืออะไร ?

บล็อกเชนของ Cardano ถูกพัฒนาบนเลเยอร์ 2 ชั้น โดยชั้นแรก คือ สมุดบัญชีที่เอาไว้จดบันทึกมูลค่าของบัญชีนั้นๆ และ ชั้นที่สอง คือ การบันทึกเหตุผลในการทำธุรกรรมนั้นๆ

Cardano Settlement Layer (CSL)

CSL ทำหน้าที่บันทึกมูลค่าของบัญชี โดยมีไอเดียที่พัฒนามาจากบล็อกเชนของ Bitcoin โดยใช้คอนเซนซัสอัลกอริธึม แบบ proof-of-stake ในการสร้างบล็อกใหม่ และ ยืนยันธุรกรรม

Cardano Computation Layer (CCL)

CCL ประกอบไปข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำธุรกรรม เนื่องจากเลเยอร์ชั้นนี้ไม่ได้เชื่อมต่อกับ CSL ดังนั้นผู้ใช้งานจึงสามารถกำหนดเงื่อนไขได้เองเมื่อทำการประเมินธุรกรรม

Daedalus Wallet คืออะไร ?

เดดาลัส คือ วอลเล็ตหรือกระเป๋าเงินแบบ open source ที่ถูกสร้างขึ้นโดยทีมงานของ Cardano โดยจุดประสงค์ของมันคือ เป็นวอลเล็ตที่เก็บคริปโทเคอเรนซีได้หลายสกุล และผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนคริปโทเคอเรนซีที่ระบบรองรับได้อย่างอิสระ

จุดกำเนิดของ Cardano และ เหรียญ ada คืออะไร

Charles Hoskinson หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum เป็นผู้ริเริ่มคิดค้น Cardano โดยเขาเชื่อว่า ผู้คนยังมีความต้องการบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 3 เพื่อที่จะแก้ไขจุดอ่อนของเทคโนโลยีบล็อกเชนในยุคก่อนหน้า

Bitcoin เป็นตัวแทนของบล็อกเชนยุคแรก มันช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างกลุ่มคน แต่มันมีข้อจำกัดในการทำธุรกรรมทางการเงินบางประเภท อีกทั้งยังไม่สามารถสร้างเงื่อนไขลงบนการทำธุรกรรมนั้นๆ ได้

Ethereum ซึ่งเป็นบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 2 ได้แก้ไขปัญหาข้างต้นด้วยการสร้างสมาร์ตคอนแทรคท์ (smart contract) อย่างไรก็ตาม Charles ได้อธิบายว่า Ethereum และ Bitcoin ไม่มีคุณสมบัติที่ดีพอสำหรับการปรับเพิ่มขยาย (Scalability) ยิ่งไปกว่านั้น ระบบการกำกับดูแลก็ไม่ดีเท่าที่ควร ดูได้จากการที่เกิดฟอร์ค (fork) ขึ้นของ Bitcoin Cash และ Ethereum Classic

เหรียญ ada คืออะไร และ Cardano’s Scalability Goal

การเพิ่มความสามารถในการรองรับการขยายตัว หรือ Scalability ตามแนวทางของ Cardano สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้

จำนวนธุรกรรมต่อหนึ่งวินาที

Bitcoin สามารถจัดการได้ 7 ธุรกรรมต่อวินาที ในขณะที่ Ethereum สามารถทำได้ 15 – 20 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งในการที่จะเป็นระบบชำระเงินที่รองรับได้ทั้งโลก จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบล็อกเชนที่จะต้องรองรับและจัดการการทำธุรกรรมปริมาณมากได้

การแก้ปัญหาของ Cardano: โปรโทคอลโอโรโบรอส (Ouroboros Protocol) คืออ้างอิงจาก proof-of-stake ที่สามารถเพิ่มจำนวนการจัดการธุรกรรมต่อวินาทีได้มากกว่าการใช้ proof-of-work

เครือข่ายแบนด์วิดธ์ (bandwidth)

ถ้าจำนวนผู้ใช้งานขยายตัวมากขึ้นถึงหนึ่งล้านหรือหนึ่งพันล้านคนแล้ว เราจะต้องใช้ bandwidth มากถึง 100 mb – 1 tb ต่อวินาทีในการประมวลผลผ่าน internet ซึ่งมันไม่สามารถเป็นไปได้เลยที่จะเข้าถึงโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์อันเดียวกัน โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network topology) หมายถึง Node ทุกตัวในเครือข่ายจำเป็นที่จะต้องรับส่งข้อความทุกข้อความ อย่างไรก็ตาม เมื่อจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้น Node ทุกตัวอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีทรัพยากรเพื่อที่จะรับส่งข้อมูลในเครือข่าย

การแก้ปัญหาของ Cardano: RINA (Recursive Inter-Nerwork Architecture) คือ เครือข่ายชนิดใหม่ที่สร้างขึ้นโดย John Day โดยมีจุดประสงค์คือสร้างเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยอ้างอิงจากหลักการที่ว่า ระบบเครือข่ายเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างโปรเซส (Inter Process Communication, IPC) โดยทาง Cardano เองหวังว่ามันจะช่วยให้โปรโทคอล TCP/IP ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และทำให้เกิดทางเลือกใหม่ในการประมวลผลข้อมูลในเครือข่าย

การสเกลลิ่งข้อมูล

บล็อกเชนจะบันทึกข้อมูลทุกข้อมูลและเก็บบันทึกไว้ตลอดไป ไม่ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องและจำเป็นหรือไม่ก็ตาม บล็อกเชนทำงานได้โดย node ซึ่งแต่ละตัวจะเก็บสำเนาของบล็อกเชนไว้ในระบบ เมื่อระบบมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น การบันทึกข้อมูลจะใช้พื้นที่มากขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้เองที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหา เพราะไม่ใช่ node ทุกตัวที่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้

การแก้ปัญหาของ Cardano: Cardano มีหลักการในการแก้ปัญหาที่ง่ายมาก โดยกล่าวไว้ว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องการข้อมูลทุกอย่าง” Cardano เองได้พิจารณาถึง การตัดข้อมูล (Pruning) การสมัครรับข้อมูล (Subscription) และการบีบอัดข้อมูล (Compression) ซึ่งถ้าเรารวมสามสิ่งนี้เข้าด้วยกัน จะทำให้ปริมาณข้อมูลที่ผู้ใช้งานแต่ละคนต้องบันทึกลงในระบบน้อยลงได้ อีกวิธีที่หนึ่งก็คือแบ่งข้อมูลเป็นส่วนๆ (Partitioning) หมายความว่าผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลแค่บางส่วนของบล็อกเชนได้แทนที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดในบล็อกเชนไว้

Proof-of-Work vs Proof-of-Stake

ขั้นตอนของ proof-of-work มีดังนี้

  • ในการที่จะเพิ่มบล็อกลงในบล็อกเชน นักขุดจำเป็นที่จะต้องแก้ปริศนาคริปโตกราฟฟิค (Cryptographic puzzle) หรือโจทย์คณิตศาสตร์ เพื่อที่จะสร้างหรือขุดบล็อก
  • ในการแก้ปริศนาคริปโตกราฟฟิค (Cryptographic puzzle) ต้องใช้การคำนวณผ่านระบบคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ดังนั้นจึงใช้พลังงานค่อนข้างเยอะ
  • เมื่อนักขุดแก้โจทย์หรือสร้างบล็อกได้ พวกเขาจะส่งบล็อกเข้าไปในเครือข่ายแล้วแต่ละบล็อกก็จะได้รับการยืนยัน
  • เมื่อบล็อกได้รับการยืนยันแล้ว มันจะถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน แล้วนักขุดก็จะได้รับบล็อกเป็นการตอบแทน

ขั้นตอนของ proof-of-stake มีดังนี้

  • Proof-of-stake ประกอบไปด้วย ผู้ตรวจสอบ (Validator) ที่ทำหน้าที่ หลอม (forge) หรือ สร้าง (mint) บล็อก ซึ่งจะแตกต่างจาก proof-of-work ที่จะเรียกว่าขุด (mine) ขั้นตอนก็คือ คอมพิวเตอร์โนด (node) จะสุ่มผู้ตรวจสอบขึ้นมา ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่การสุ่มซะทีเดียว เพราะว่าผู้ตรวจสอบต้องทำการฝากเหรียญบางส่วนไว้ในเครือข่ายที่เรียกว่าสเตค (Stake) ซึ่งขนาดของสเตคนี่เองที่เป็นตัวกำหนดโอกาสที่ผู้ตรวจสอบจะได้หลอม(forge) บล็อกต่อๆ ไป
  • เมื่อถูกเลือกแล้ว ผู้ตรวจสอบจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดที่อยู่ในบล็อก การตรวจสอบคือ การวางใส่เหรียญลงบนบล็อกที่คิดว่ามีโอกาสสูงที่มันจะถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน
  • ถ้าผู้ตรวจสอบเพิ่มบล็อกที่ถูกปลอมแปลงขึ้นมา เขาจะเสียเหรียญที่ฝากเอาไว้ในระบบ แต่ถ้าบล็อกนั้นถูกต้อง ผู้ตรวจสอบก็จะได้รางวัลตามสัดส่วนที่ได้วางเพื่อเป็นหลักประกันเอาไว้ ตราบใดก็ตามที่สเตคของผู้ตรวจสอบเยอะกว่ารางวัลที่จะได้รับ เราสามารถเชื่อถือได้ว่าผู้ตรวจสอบจะทำหน้าที่ได้ตามที่ตกลงไว้

ข้อโต้แย้งที่ว่า proof-of-stake นั้นดีกว่า proof-of-work

  • สำหรับ proof-of-work นั้น ทุกคนสามารถขุดได้ และในการขุดนั้นใช้พลังงานมหาศาล แต่ proof-of-stake ใช้ผู้ตรวจสอบน้อยรายกว่าเพื่อที่จะยืนยันแต่ละบล็อก
  • Proof-of-stake มีความสามารถในการกระจายอำนาจที่มากกว่า ใน proof-of-work มีสิ่งที่เรียกว่า ไมน์นิ่งพูล (mining pool) ซึ่งหมายถึงการรวมกลุ่มคนเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มโอกาสในการขุดบล็อกใหม่เพื่อที่จะได้บล็อกเป็นการตอบแทน  วิธีนี้ถือว่าอันตรายเพราะถ้าไมน์นิ่งพูลใหญ่ๆ รวมตัวกันแล้ว พวกเขาจะสามารถยืนยันการทำธุรกรรมที่ถูกปลอมแปลงได้เพราะว่าบล็อกเชนส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มๆ เดียว
  • การติดตั้งโนดสำหรับ proof-of-stake มีราคาถูกกว่า เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูงเพื่อที่จะยืนยันแต่ละบล็อก ข้อนี้จึงถือเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนเข้ามาเป็นโนดมากขึ้น ทำให้ระบบปลอดภัยและกระจายอำนาจได้ดีขึ้น

จุดอ่อนของ Proof-of-stake

  • ต้องระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบ (Validator) ไม่ควรที่จะสุ่มทั้งหมด ควรคำนึงถึงจำนวนสเตคกับบล็อกที่จะได้รับเป็นการตอบแทนด้วย
  • Proof-of-stake เป็นประโยชน์กับคนรวยมากกว่า เพราะว่ายิ่งสเตคเยอะ โอกาสที่จะถูกเลือกเป็นผู้ตรวจสอบก็ยิ่งสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงรางวัลตอบแทนก็จะเยอะขึ้นไปด้วย ส่งผลให้โอกาสในการถูกเลือกครั้งต่อไปยิ่งมากขึ้นไปอีก
  • ผู้ตรวจสอบที่ได้รับเลือกสามารถเลือกได้ว่าจะทำหน้าที่หรือไม่ทำหน้าที่นั้นก็ได้

มีข้อระบุมากมายที่กล่าวถึงจุดอ่อนของ proof-of-stake ทั้งนี้ ยังต้องมีการค้นคว้าอีกมากเพื่อที่จะเข้าใจถึงความเสี่ยงทุกอย่างของ proof-of-work และหาวิธีการแก้ไข

เหรียญ ada คืออะไร และ Ouroboros คืออะไร

โปรโตคอลโอโรโบรอส คือ ระบบคอนเซนซัสของ Cardano และเป็นโปรโตคอลบล็อกเชนอันแรกที่ทำงานในระบบ proof-of-stake ที่มีความปลอดภัยสูง Cardano ใช้ระบบ proof-of-stake แทนที่จะใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาลเพื่อแก้ปริศนาคริปโตกราฟฟิค (cryptographic puzzle) โดยนักขุดทุกคนในเครือข่าย node แต่ละตัวจะถูกสุ่มเลือกเพื่อที่จะหลอม (forge) หรือสร้าง (mint) บล็อกใหม่ด้วยโอกาสที่จะถูกเลือกแปรผันตามจำนวนเหรียญที่ฝากไว้กับระบบ ทั้งนี้ หมายความว่าด้วยจำนวนผู้ตรวจสอบ (Validator) ที่มากขึ้น จะสามารถเพิ่มจำนวนการทำธุรกรรมในเครือข่ายต่อหนึ่งวินาทีได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้พลังงานปริมาณมากเท่า proof-of-work

ขั้นตอนการทำงาน

  • ผู้ครอบครองสเตค (Stakeholder) ทำหน้าที่เป็น node และเป็นผู้เดียวที่สามารถเข้าร่วมในโปรโตคอลของ Cardano ได้
  • ผู้ครอบครองสเตคจะต้องถูกแต่งตั้งเป็นสล็อตลีดเดอร์ (Slot leader) เพื่อที่จะสร้างบล็อกใหม่ในบล็อกเชน
  • สล็อตลีดเดอร์สามารถเลือกที่จะพิจารณาการทำธุรกรรมที่ประกาศโดย node อื่นๆ ในระบบ แล้วจึงสามารถสร้างบล็อกใหม่จากธุรกรรมได้ หลังจากนั้นจึงยืนยันบล็อกด้วยกุญแจ (Secret Key) แล้วส่งบล็อกเข้าไปในเครือข่าย สล็อตลีดเดอร์จึงทำหน้าคล้ายๆ นักขุดใน Bitcoin

Sustainability ของ Cardano

Cardano มีการวางแผนอย่างไรบ้างสำหรับค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ?

Cardano เชื่อว่า ICO และเงินสนับสนุนต่างๆ ไม่สามารถสนับสนุนโปรเจคตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบได้อย่างยั่งยืน และด้วยเงินสนับสนุนนี้เอง ถ้ามีบริษัทใหญ่ๆ ให้เงินสนับสนุนจำนวนมากโดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ก็อาจจะทำให้บริษัทเปลี่ยนเป้าหมายไปจากเดิมก็ได้

Cardano จึงตั้งใจที่จะแก้ปัญหาข้างต้นด้วยการสร้าง Treasury ของตัวเองขึ้นมา ซึ่ง Treasury จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากการทำธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเครือข่าย โดยวอลเล็ตอันนี้จะพิเศษตรงที่มันไม่ถูกควบคุมโดยบุคคลใด ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสมาร์ตคอนแทรคท์ (Smart Contract) ตรงที่มันจะส่งเงินทุนจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้พัฒนาหรือ developers เพื่อใช้ในการพัฒนาเครือข่ายต่อไป

Cardano’s Interoperability Goal

Cardano ต้องการที่จะแก้ไข 2 ปัญหาหลักๆ ในเรื่องของการทำงานร่วมกัน ได้แก่

  • ปัจจุบันมีคริปโทเคอเรนซีมากมาย แต่เหรียญเหล่านั้นไม่สามารถทำงานหรือใช้งานร่วมกันได้
  • รัฐบาลและธนาคารหลายๆ แห่งพยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานคริปโทเคอเรนซี เพราะว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้อยู่ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่ยากสำหรับรัฐบาลและธนาคารที่จะเชื่อถือในคริปโทเคอเรนซี เพราะว่าไม่มี Metadata ที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรม เช่น ส่งถึงใคร จากใคร และส่งเพื่ออะไร

ในการที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ Cardano จินตนาการตัวเองให้เป็น “อินเตอร์เน็ตของบล็อกเชน” (Internet of Blockchain) หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นบล็อกเชนที่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในบล็อกเชนอื่นๆ Cardano ตั้งเป้าที่จะสร้างแพลตฟอร์มที่บล็อกเชนแต่ละอันสามารถสื่อสารด้วยกันได้ และผู้ใช้งานสามารถแนบ Metadata ในการทำธุรกรรมได้ถ้าพวกเขาต้องการ

Cardano เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ Bitcoin, Ethereum และเหรียญต่างๆ สามารถเข้าร่วมในบล็อกเชนอื่นๆ ได้ เช่น NEO โดยไม่ต้องผ่าน Exchange กลาง (Central Exchange) โดยการสร้าง Cross-chain transfer ขึ้นมา

ฮัสเกล (Haskell) คืออะไร ?

ภาษาโค้ดของ Cardano ถูกพัฒนาขึ้นผ่าน ฮัสเกล (Haskell) ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีความคงทนต่อความเสียหายได้อย่างดีเยี่ยม ในอนาคตมันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะรู้หรือเข้าใจถึงความซับซ้อนของระบบบล็อกเชน ดังนั้นแล้วมันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ภาษาที่มีส่วนต่างของความปลอดภัย (Margin of error) จำนวนหนึ่ง เพื่อให้ความเข้ากันได้ของภาษา (Compatibility) ไม่เป็นปัญหาถึงแม้ว่าจะมีการใช้ระบบใหม่ในอนาคต

ขอบคุณแหล่งข้อมูล บิตคับ


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save