Backup WordPress บทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนการสำรองข้อมูลของเว็บไซต์ของเรา โดยการใช้วิธีสุดที่จะ Classic ที่สุดคือการเข้าไป สำรองข้อมูลไฟล์ ใน Web ของเราออกมาตรงๆเลย ทำไมทางอินดี้ถึงเลือกใช้วิธีนี้ สาเหตุก็เพราะว่าเป็นวิธีการ สำรองข้อมูลแบบเก่าแก่ และ สามารถใช้งานได้จริง สามารถใช้ได้ผลทุกครั้งในการ สำรองข้อมูล Web ของเรา ออกมา วิธีที่ใช้งานนั่นก็คือการเข้าไป สำรองไฟล์ และ DataBase ของ MySQL หรือ MariaDB ออกมาตรงๆ โดยขั้นตอนการ สำรองข้อมูล จะอธิบายดังรายละเอียดต่อไป
ทำไมถึงเลือกใช้วิธีนี้ในการ Backup WordPress
วิธีการเข้าไป Backup File ออกมา และ การเข้าไป Backup Database ออกมา ค่อนข้างจะเป็นการ สำรองข้อมูลที่สุดจะเสถียรเลย ข้างในมีไฟล์ภาษาไทยก็แทบจะไม่มีปัญหาเลย มีแค่ข้อเสียข้อเดียวคือ เราต้องเสียเวลารอไฟล์ในการ Backup นานไปหน่อย และ ไม่มีระบบ Auto ฺBackup อ้อ และที่สำคัญคืออาจจะเปลืองพื้นที่ในเครื่องของเราด้วย
อินดี้เองก็เคยใช้งาน WordPress Plugins All-on-One- WP Migration และ UpDraftPlus WordPress Backup Plugin พบว่าบางครั้งไฟล์ที่ สำรอง ดันใช้งานไม่ได้ บางไฟล์รูปที่เก็บในเว็บ ดัน สำรองข้อมูลมาแล้วเอามาใช้จริงไม่ได้ และ ที่สำคัญคือการจะต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อที่จะได้บาง Feature ในการ สำรองข้อมูล พอพูดถึงเรื่องเสียเงินแล้วทางอินดี้ตัดทิ้งเลยไม่ใช้งาน และ หันมา สำรองข้อมูลแบบ Files แทน ซึ่งแม้ว่าจะเสียเวลาไปนิดหน่อย แต่ทุกครั้งก็เสถียรหมด
ขั้นตอนการ Backup WordPress
อินดี้เลือกใช้งาน Web Control Paanel ที่ชื่อว่า HestiaCP ซึ่งเป็น Project ที่พัฒนาต่อมาจาก VestaCP ดังนั้นการ Backup ก็จะอธิบายถึงเครื่องมือของ HestiaCP ที่เป็นตัวช่วยในการ Backup หากใช้ Web Control Panel ตัวอื่นเช่น Cpanel และ Directadmin การทำเรื่อง Backup ก็จะคล้ายๆกัน โดยการทำการ Backup จะทำผ่าน Software FTP หรือ ผ่านตัว Web Control Panel ก็ได้ทั้งนั้น ตัวอย่างวันนี้เป็นการทำการ Backup ผ่าน Web Control panel จริงๆบทความเรื่องการ Backup เขียนไว้แล้ว ในหัวข้อ Hestia Control Panel จัดการเรื่อง File และ Backup EP6 วันนี้จะเป็นการมาขยายความเพิ่มเติม
- Login เข้าไปยังหน้า Admin ของ Web Control panel เข้าไปยังเมนู File manager และไปยัง Folder ที่เก็บไฟล์ของ WP ส่วนมากจะเป็น Folder Public HTML และ Zip ไฟล์ WordPress ออกมา ดังรูป
- ทำการ Download ข้อมูลเอามาไว้ที่เครื่องของเรา
- จากรูปเป็นการอธิบายแบบคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพการสำรองแบบไฟล์
- ต่อไปก็จะเป็นการ Export Database ออกมา โดยให้เข้า Login ไปยัง PHP Myadmin และทำการ Export Database ของเราออกมาดังรูป
- Login เข้า Databse ด้วย PHP myadmin เลือก Database ของ WP และ เลือก export และ กดปุ่ม GO ตามลำดับดังรูป
- เพียงเท่านี้เราก็สามารถ Backup File WP ของเว็บของเราได้แล้ว รวมถึง Database เก็บไว้ในคอมของเราซัก 2-3 Version เน้นเว็บที่เป็นปัจจุบันก็เพียงพอแล้ว
การนำไฟล์ Backup WordPress ไป Restore
กรณีที่ Webcontrol panel ยังเป็น HestiaCP เหมือนเดิม ก็สามารถใช้วิธี Upload ไฟล์ไปไว้ที่เดิม หรือจะใช้วิธีการ FTP Upload ลงไปยังที่เดิมได้เลย และ ในส่วนของ Database ก็ใช้ PHP Myadmin ทำการ import กลับเข้าไป ทุกอย่างก็จะเหมือนเดิม ซึ่งบทความเกี่ยวกับ HestiaCP ทางอินดี้เคยเขียนเอาไว้แล้ว สามารถไปอ่านได้
กรณีเอาไป Restore ต่าง Control Panel หรือ ต่างเว็บไซต์ โดยจะมีขั้นตอนการดำเนินการที่แตกต่างจากกรณีเอาไป Restore ทับของเดิม ซึ่งอธิบายรายละเอียดได้คือ
- ใช้ PHPMyadmin ทำการสร้าง Database ให้เรียบร้อย และ ทำการแก้ไขไฟล์ Backup Database เป็นชื่อของ Database ตัวใหม่ โดยการใช้ Text editor ยกตัวอย่างเช่น Notepad++
- ทำการ Replace ชื่อ Database เป็นของตัวใหม่ หรือ แม้แต่ชื่อเว็บ
- ทำการ import database ไปยัง database ก้อนใหม่
- ทำการแก้ไขไฟล์ WP-Config.php เป็นชื่อเว็บ และ ชื่อกับรหัสผ่านของ Database ก้อนใหม่
- ดำเนินการ Upload files ขึ้นเว็บและทดสอบการใช้งาน
บทสรุป
หากเจอปัญหาด้วยการใช้งาน WP Plugins แล้วทำการ Backup และ Restore เว็บกลับมาไม่ได้ การสำรองข้อมูลแบบการ Backup ไฟล์ออกมาดังวิธีการที่กล่าวมาก็ช่วยได้อีกระดับหนึง อาจจะทำการ Backup ช่วงเวลาที่คนใช้งาน Website น้อยๆ แล้วค่อยทำการ Backup ออกมา วิธีนี้จากการใช้งานของอินดี้เองพบว่าจะเสียเวลาไปนิดหน่อย แต่เป็นการ backup ที่เสถียรมากอีกวิธีหนึงเลย และ ที่สำคัญไม่ต้องไปเสียตังซื้อเครื่องมือแพงๆเลย
ลองทำตามแล้วนะครับ อาจจะยากในตอนแรกแต่โดยรวมผลที่ออกมาดี หลังๆไม่ต้องพึ่งพา Plugin แล้วครับ ใช้วิธีนี้ดีมาก
ขอบคุณที่ชอบบทความของ indydiary.com