Friday, 22 November 2024

บัตรประจำตัว ราษฎรไทยในปัจจุบัน

บัตรประจำตัว

บัตรประจำตัว ราษฎรไทยในปัจจุบัน แม้ว่าราษฎรไทยตามกฎหมายมี ๒ พวก[1] แต่ในเรื่องบัตรประจำตัวของราษฎรทั้ง ๒ ประเภทนั้น จะมีอยู่ ๓ ประเภท กล่าวคือ

บัตรประจำตัว บัตรประชาชน

คนสัญชาติไทยจะถือบัตรประจำตัวบุคคลที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประชาชน บัตรประจำตัวราษฎรไทยประเภทนี้จึงถูกเรียกว่า “บัตรประชาชน” ตามชื่อพระราชบัญญัติที่ใช้เป็นพื้นฐานทางกฎหมายของการออกบัตรดังกล่าว ในปัจจุบัน ก็คือ พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.๒๕๒๖ ซึ่งถูกแก้ไข และ เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.๒๕๒๖

ราษฎรไทยประเภทนี้จะถูกบันทึกรายการสถานะบุคคลในทะเบียนบ้านตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรประเภท ท.ร.๑๔ กล่าวคือ เป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนอาศัยถาวรตามมาตรา ๓๖ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งถูกแก้ไข และ เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑

บัตรประจำตัว คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

ในขณะที่คนต่างด้าว หรือ คนที่ไม่มีสัญชาติไทย จะถือบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเภท กล่าวคือ (๑) บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และ (๒) บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

บัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ประเภทแรก ก็คือ บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งออกให้แก่ราษฎรต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยในประเทศไทย ๓ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) อดีตคนไร้รัฐที่ได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราวในประเทศไทยตามมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งมีด้วยกัน ๑๗ กลุ่ม [2]  (๒) อดีตคนไร้รัฐที่แสดงตนขึ้นทะเบียนแรงงานในสถานะแรงงานต่างด้าวจากพม่า หรือ ลาว หรือ กัมพูชา (๓) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองถูกกฎหมาย และ มีสิทธิอาศัยชั่วคราวตามมาตรา ๓๔ – ๓๕ แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ และ (๔) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองถูกกฎหมาย และ มีสิทธิอาศัยถาวรตามมาตรา ๔๐, ๔๒, ๔๓, ๕๑ รวมถึงมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งราษฎรไทยประเภทคนต่างด้าวทั้ง ๔ ประเภทจะปรากฏรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎร ๓ ลักษณะ กล่าวคือ

ลักษณะแรก ก็คือ ทะเบียนบ้านตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรประเภท ท.ร.๑๔ ซึ่งเป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนอาศัยถาวร สำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองถูกกฎหมาย และ มีสิทธิอาศัยถาวรตามมาตรา ๔๐, ๔๒, ๔๓, ๕๑ รวมถึงมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒

ลักษณะที่สอง ก็คือ ทะเบียนบ้านตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรประเภท ท.ร.๑๓ ซึ่งเป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนมีสิทธิอาศัยชั่วคราวตามมาตรา ๓๔ – ๓๕ รวมถึงมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ ขอสังเกตว่า ราษฎรไทยประเภทคนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยชั่วคราวใน ท.ร.๑๓ นี้ อาจมี หรือ ไม่มีสถานะคนเข้าเมืองที่ชอบด้วยกฎหมายก็ได้ ซึ่งตัวอย่างของคนใน ท.ร.๑๓ ซึ่งไม่มีสถานะเป็นคนเข้าเมืองที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็คือ อดีตคนไร้รัฐที่ได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราวในประเทศไทย ๑๗ ประเภท

ลักษณะที่สาม ก็คือ ทะเบียนประวัติตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรประเภท ท.ร.๓๘/๑ กล่าวคือ เป็นทะเบียนประวัติสำหรับคนที่แสดงตนเป็นแรงงานต่างด้าวไร้รัฐจากประเทศลาว หรือ พม่า หรือ กัมพูชา สำหรับอดีตคนไร้รัฐที่แสดงตนขึ้นทะเบียนแรงงานในสถานะแรงงานต่างด้าวจากพม่า หรือ ลาว หรือ กัมพูชา อย่างครบขั้นตอนที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒

บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

บัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ประเภทที่สอง ก็คือ บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน  ซึ่งบัตรประเภทนี้อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔

แนวคิดในการสำรวจ และ จัดทำทะเบียนประวัติสำหรับคนที่มีปัญหาสถานะบุคคลประเภท คนไร้รัฐเป็นไปตามยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะ และ สิทธิของบุคคลตามมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ ซึ่งรับรองสิทธิในการออกบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนให้แก่คนไร้รัฐ ๖ ประเภท กล่าวคือ (๑)

[1] กล่าวคือ พวกแรก ก็คือ พวกที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ซึ่งทะเบียนบ้านก็มี ๒ ประเภท อันได้แก่ (๑.๑.) คนอยู่ถาวรใน ท.ร.๑๔ ซึ่งมีทั้งคนสัญชาติไทย และ คนต่างด้าว และ (๑.๒.) คนอยู่ชั่วคราวใน ท.ร.๑๓ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเท่านั้น แต่อาจเป็นคนเข้าเมืองถูก หรือ ผิดกฎหมายก็ได้ และ พวกที่สอง ก็คือ พวกที่มีชื่อในทะเบียนประวัติ ซึ่งในวันนี้ มี ๓ พวก กล่าวคือ (๒.๑) พวกชนกลุ่มน้อยดั้งเดิม ๑๗ ประเภท (๒.๒.) พวกแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือจากพม่าลาวกัมพูชา ใน ท.ร.๓๘/๑ และ (๒.๓.) พวกคนไร้รัฐหรือบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรใน ท.ร.๓๘ ก

[2] อันได้แก่ (๑) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า (๒) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (มีที่อยู่ถาวร) (๓) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (อยู่กับนายจ้าง) (๔) คนที่ถือบัตรผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย (๕) คนที่ถือบัตรประจำตัวอดีตทหารจีนคณะชาติ (อดีต ทจช.) (๖) คนที่ถือบัตรประจำตัวจีนฮ่ออพยพ (๗) คนที่ถือบัตรประจำตัวจีนฮ่ออิสระ (๘) คนที่ถือบัตรประจำตัวญวนอพยพ (๙) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชา (๑๐) บัตรประจำตัวผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา (๑๑) คนที่ถือบัตรประจำตัวลาวอพยพ (๑๒) คนที่ถือบัตรประจำตัวผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (๑๓) คนที่ถือบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง (๑๔) คนที่ถือบัตรเผ่าตองเหลือง (๑๕) คนที่ถือบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูง (๑๖) คนที่ถือบัตรประจำตัวเนปาลอพยพ และ (๑๗) คนที่ถือบัตรประจำตัวไทยลื้อ

อ่านบทความเพิ่มเติม เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก มีความหมายว่าอะไร

กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ บัตรประจำตัวประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชน

  • คน ไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์
  • บัตรประจำตัวประชาชน ชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ)
  • อายุ ของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

ความผิด

  • ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
  • ผู้ ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตรโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมี สัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
  • บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save