การวิ่งมาราธอน คืออะไร และ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร วันนี้ทางอินดี้ได้หาบทความมาอ้างอิงถึงประวัติการวิ่ง มาราธอน มีความเป็นมาแบบไหน และ ปัจจุบันแบ่งการวิ่งออกเป็นกี่ประเภท มาลองอ่านบทความนี้กัน
การวิ่งมาราธอน คืออะไร
มาราธอน (อังกฤษ: Marathon) คือการแข่งขันวิ่งระยะยาว ในระยะอย่างเป็นทางการคือ 42.195 กิโลเมตร (26 ไมล์ และ 385 หลา) โดยมักจะวิ่งแข่งกันบนถนน โดยการแข่งวิ่งนี้มีที่มาจากนายทหารชาวกรีกผู้ส่งข่าวที่ชื่อว่า ฟิดิปปิเดซ ที่ต้องวิ่งในการรบจากเมืองมาราธอนไปยังเอเธนส์ แต่ตำนานบอกเล่านี้ก็ยังคงเป็นข้อสงสัยอยู่ ซึ่งขัดแย้งกับการบันทึกของเฮโรโดตุส เป็นส่วนใหญ่ การแข่งขันวิ่งมาราธอนเป็นหนึ่งในกีฬาการแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ ในปี ค.ศ. 1896 ระยะทางการวิ่งยังไม่เป็นมาตรฐาน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1921 ในแต่ละปีมีจะมีการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอนมากกว่า 500 รายการ ถือเป็นการแข่งขันในเวลาว่างของนักกีฬา ซึ่งบางรายการอาจมีผู้เข้าร่วมจำนวนไม่มาก ในขณะที่รายการแข่งขันมาราธอนใหญ่ ๆ จะมีผู้ร่วมเข้าร่วมถึงหมื่นคน
การวิ่งมาราธอน จุดกำเนิด
คำว่า “มาราธอน” มาจากตำนานของ Pheidippides, ผู้ส่งข่าวสารชาวกรีกตำนานกล่าวว่าเขาถูกส่งจากสนามรบในเมืองมาราธอนไปเอเธนส์เพื่อที่จะประกาศพวกเปอร์เซียได้พ่ายแพ้ในการต่อสู้ที่เมืองมาราธอน(หลังจากเพิ่งรบเสร็จ) ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมหรือ กันยายน, 490 BC มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่เขาวิ่งมาตลอดทั้งทางโดยไม่หยุดพัก และ เมื่อถึงเมืองเอเธนส์เขาก็ได้ร้องตะโกนคำว่า”νενικηκαμεν”(nenikekamen)(“เราwοn”) ก่อนที่จะล้มลง และ ตายบันทึกในเรื่องของการวิ่งจากมาราธอนไปเอเธนส์ ปรากฏครั้งแรกใน Plutarch’s On the Glory of Athens ในศตวรรษที่ 1 ซึ่งได้อ้างคำพูดจาก Heraclides Ponticus’s lost work, ได้บอกชื่อของนักวิ่งคือ Thersipus of Erchius หรือ Eucles Lucian of Samosata (ศตวรรษที่ 2 AD) ก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ แต่ชื่อของของนักวิ่งคือ Philippides (ไม่ใช่ Pheidippides)
มีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ของตำนานนี้ นักประวัติศาสตร์กรีก Herodotus (แหล่งข้อมูลหลักเกี่ยวกับสงครามกรีกเปอร์เซีย) อ้างว่า Pheidippides เป็นผู้ส่งสารที่วิ่งจากกรุงเอเธนส์ไปสปาร์ตาเพื่อขอความช่วยเหลือ แล้ววิ่งกลับเป็นระยะทางไปกลับรอบละกว่า 240 กิโลเมตร (150 ไมล์) ในบางต้นฉบับ Herodotus บอกว่าชื่อของนักวิ่งที่วิ่งระหว่างกรุงเอเธนส์ และ สปาร์ตาได้รับก็คือ Philippides โดยไม่เอ่ยถึงการถึงเรื่องผู้ส่งสารจาก Marathon ไปยังเอเธนส์ แต่กล่าวถึงตอนสำคัญเกี่ยวกับกองทัพชาวเอเธนส์ว่า ได้รับชัยชนะจากการต่อสู้ที่ยากลำบาก และ กังวลว่าอาจจะมีการโจมตีโดยกองเรือของเปอร์เซียกับกองทัพของชาวเอเธนส์ที่กำลังหมดแรงลง,จึงรีบทำการเดินทัพกลับมายังเมืองเอเธนส์, โดยเดินทางกลับมาถึงเมืองในวันเดียวกัน
ในปี 1879 โรเบิร์ตบราวนิ่งเขียนบทกวีที่ชื่อว่า Pheidippides บทกวีของบราวนิ่งเป็นบทกวีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมกำลังเป็นที่นิยม และ บทกวีของเขาก็ได้รับการยอมรับในฐานะตำนานประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่ง ภูเขา Penteli ตั้งอยู่ระหว่างเมืองมาราธอน และ เอเธนส์ซึ่งหมายความว่า ถ้า Pheidippides ได้ทำการวิ่งดังกล่าวจริงหลังจากการต่อสู้ เขาจะต้องวิ่งไปรอบ ๆ ภูเขา ไม่ว่าจะทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเกือบจะเหมือนพอดีกับ เส้นทางหลวงที่เชื่อมระหว่างเมืองมาราธอนทางกับเมืองเอเธนส์ในปัจจุบัน เส้นทางนี้ทอดยาวจากพื้นที่บริเวณทางทิศใต้จากอ่าว Marathon เลียบไปตามแนวชายฝั่งแล้วเลี้ยวจากทิศทางตะวันตกไปยังทางทิศตะวันออกเพื่อไปยังเมืองเอเธนส์ โดยขึ้นจากเชิงเขาระหว่าง Mounts Hymettus และ Penteli แล้วลงไปยังเมืองเอเธนส์ เส้นทางนี้มีระยะทาง ประมาณ 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) (เส้นทางนี้ยังคงมีอยู่เมื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคได้ถูกจัดขึ้นมาในปี 1896) และ เป็นระยะทางต้นกำเนิดที่ใช้สำหรับการแข่งขันวิ่งมาราธอน อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตว่า Pheidippides อาจจะใช้เส้นทางอื่นคือ วิ่งขึ้นลงไปตามเนินเขาทางทิศตะวันตกตามแนวทิศตะวันออก และ ทางตอนเหนือของภูเขา Penteli ผ่าน Dionysos และจากนั้นตรงไปทางทิศใต้ ตามเส้นทางลงเขาไปยังเมืองเอเธนส์ แม้ว่าเส้นทางนี้จะสั้นกว่าคือ 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) แต่ต้องวิ่งไปตามทางสูงชันมากมากกว่า 5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์)
การวิ่งมาราธอน และ ประเภทของการวิ่งในปัจจุบัน
ฟันรัน (Fun run)
ฟันรัน หรือ ที่มักเรียกกันว่า เดิน-วิ่ง เพื่อการกุศล ระยะทางไม่เกิน 5 กิโลเมตร เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นออกกำลังกาย การวิ่งระยะทางเท่านี้ ร่างกายจะยังไม่เหนื่อยล้ามาก แต่รู้สึกสนุกสนานมากกว่า สมกับชื่อ Fun run โดยมากมักวิ่งเหยาะๆ พักเดิน หยุดกินน้ำ พูดคุยกับคนที่ร่วมวิ่งด้วยกัน ถือเป็นการวิ่งในระดับ Beginner
มินิ มาราธอน (Mini marathon)
เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างมาก สำหรับผู้ที่กำลังจะเข้าสู่การวิ่งมาราธอน เหมือนเป็นสนามซ้อมก่อนเอาจริง ระยะทางอยู่ที่ 10 กิโลเมตร นิยมกันมากในหมู่นักวิ่งเพื่อสุขภาพ เพราะระยะทางกำลังดี ไม่น้อยไม่มากจนเกินไป เหนื่อยได้ที่ นักกีฬาที่ฝึกซ้อมเป็นประจำ หรือร่างกายอยู่ตัวแล้ว สามารถวิ่งมินิมาราธอนทุกวัน ส่งเสริมกล้ามเนื้อ และ สุขภาพปอดได้อย่างดีเยี่ยม
ฮาล์ฟ มาราธอน (Half marathon)
เริ่มขยับเข้าใกล้ของจริงแล้ว นี่คือครึ่งทางของมาราธอน ระยะทาง 21.1 กิโลเมตร นักวิ่งที่เคยผ่านหลายๆ สนาม จะใช้ฮาล์ฟ มาราธอน เป็นตัวทดสอบตัวเองก่อนลงสนามจริง ถือว่าโหดเอาการ สำหรับนักวิ่งมือใหม่ เพราะนักวิ่งมืออาชีพเตรียมร่างกายก่อนวิ่ง Half marathon มากว่า 10 สัปดาห์ ก่อนวิ่งจริง
มาราธอน (Marathon)
หลายคนสงสัยว่าทำไมระยะทางมาราธอน ต้องเป็น 42.195 กิโลเมตร ทำไมไม่เป็นเลขกลมๆ ลงท้าย หลายตำนานบอกแตกต่างกันไป แต่มีจุดร่วมหนึ่งคือ การวิ่งมาราธอนนั้น กำเนิดมาจากการวิ่งไปบอกข่าวสงคราม โดยนักวิ่งชื่อ ‘ฟิดิปปิดีส’ ต้องวิ่งผ่านที่ราบ ‘มาราธอน’ จนถึงกรุงเอเธนส์ บ้างก็ว่า วิ่งเป็นระยะทาง 42.195 กิโลเมตร แต่บางตำนานก็บอกว่า วิ่งเพียง 36.75 กิโลเมตร โอลิมปิดครั้งแรกจึงกำหนดให้วิ่ง 40 กิโลเมตร แต่มาเปลี่ยนเมื่อโอลิมปิกครั้งที่ 4 เพื่อให้กษัตริย์อังกฤษทอดพระเนตรเห็นได้ชัดขึ้นจึงต้องเลื่อนจุดสตาร์ท
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าตำนานจะเป็นแบบไหน แต่แก่นของมาราธอนคือการวิ่งที่ต้องใช้ความอดทน มุ่งมั่น ตั้งใจอย่างมาก จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะเข้าเส้นชัยในระยะทางเท่านี้ ทั้งนักวิ่งอาชีพ และ นักวิ่งสมัครเล่นจำเป็นต้องฝึกซ้อม และ ควรผ่านการตรวจสุขภาพมาก่อน ร่วมแข่งขันวิ่งมาราธอน ถือเป็นระยะทางมาตรฐานที่ใช้ทั่วโลก และ ใช้แข่งขันในกีฬาโอลิมปิกด้วย
การวิ่งมาราธอน และ รายการวิ่งมาราธอนแรกของประเทศไทย
การวิ่งมาราธอนครั้งแรกในไทย เกิดขึ้นเมื่อปี 2528 ที่จังหวัดราชบุรี โดยชื่อว่า “จอมบึงมาราธอน” เป็นการจัดงานวิ่งระยะ มินิมาราธอน (10 KM) โดยครั้งนั้นในงานวิ่งมาราธอน มีผู้เข้าร่วมแข่งขันไม่ถึง 100 แต่ก็ได้ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนในต่อๆมาก็ทำให้เกิดนักวิ่งขึ้นมาอีกมากมาย
และ ต่อมาอีก 2 ปี ได้มี งานวิ่งมาราธอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2530 เป็นงานวิ่งลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ Royal Marathon-Bangkok ที่เป็นงานวิ่งที่ฉลองการเปิดสะพานพระราม 9 โดยจัดงานวิ่งระดับนานาชาติ
ในงานวันนั้นมีชาวไทย และ ชาวต่างชาติได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก เพียงแค่ระยะ 10 กิโลเมตร แต่มีผู้สมัครจำนวน 80,000 คน เป็นภาพบรรยากาศบนสะพานที่เต็มไปด้วย นักวิ่งและผู้ที่มาร่วมงาน นับว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์งานวิ่งในประเทศไทย
ในต่อๆมางานวิ่งได้รับกระแสดีอยู่เรื่อยๆ จึงทำให้เกิดนักวิ่งหน้าใหม่ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก แถมยังมีภาพยนตร์ที่ปลุกกระแสการวิ่ง รวมไปถึงกระแสการวิ่งรับบริจาคช่วยเหลือโรงพยาบาลของพี่ตูน จึงทำให้ปัจจุบัน ผู้คนต่างก็ได้รู้จักกันมากขึ้นจนรู้สึกชื่นชอบ และ หลงใหลในการวิ่งออกกำลังกายนั่นเอง
หากสนใจอ่านบทความการวิ่งโซน 2 คืออะไร อ่านได้ที่ การวิ่งโซน 2 คืออะไร?