CentOS 8 EOL ถูก Rad Hat ทิ้งแบบไม่เหลือเยื่อใย และ จะหยุดการ Support ภายในสิ้นปี 2021 นี้ นับว่าเป็นข่าวร้ายสำหรับคนที่ใช้งาน Cent OS Linux ทำงานเลยก็ว่าได้ เพราะ Cent OS ถือว่าเป็น Opensource ของ Red Hat ที่พัฒนาแบบเสถียรมาก เหมาะสำหรับใช้งาน Production ที่ต้องการความเถียร แต่ถูกทั้งแบบนี้คนใช้งาน Cent OS Linux จะไปต่อยังไงดีละ
Red Hat เตรียมทิ้ง CentOS 8 EOL หยุดแพตช์รุ่นเสถียรสิ้นปี 2021
โครงการ CentOS ประกาศเตรียมหยุดซัพพอร์ต CentOS 8 สิ้นปี 2021 จากเดิมที่ CentOS แต่ละเวอร์ชั่น จะซัพพอร์ตล้อไปกับ RHEL ยาวนานถึงเวอร์ชั่นละสิบปี ทำให้ CentOS 8 ควรได้ซัพพอร์ตถึง 2029
หลังจาก CentOS 8 หยุดพัฒนาแล้วทาง CentOS แนะนำให้ผู้ใช้ CentOS 8 ย้ายไปใช้งาน CentOS Stream 8 ที่กำลังเป็นดิสโทรรุ่นพัฒนาเวอร์ชั่นต่อๆ ไปของ RHEL
ก่อนหน้านี้ CentOS เคยวางตัวเป็นดิสโทรทดแทน (drop-in replacement) สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการจ่ายเงินค่าไลเซนส์ให้กับ RHEL แต่เมื่อปี 2014 ทาง Red Hat ก็ดึงทีมงาน CentOS ทั้งหมดเข้าไปอยู่ในบริษัท และ ค่อยๆ ปรับโครงการให้กลายเป็นโครงการต้นน้ำของ RHEL คั่นกลาง Fedora ไว้อีกชั้นหนึ่ง
ธุรกิจของ Red Hat นั้นเน้นการขายซัพพอร์ตจากรุ่นเสถียรของซอฟต์แวร์เนื่องจากองค์กรจำนวนมากต้องการเพียงแค่แพตช์ความปลอดภัยโดยไม่ต้องการอัพเกรดฟีเจอร์ใดๆ แม้ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ของ Red Hat จะเปิดให้ใช้ฟรี เช่น OpenShift ที่มีโครงการ OKD หรือ Ansible Tower ที่มี AWX เป็นโครงการต้นน้ำ แต่โครงการต้นน้ำจะเน้นการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ เป็นหลัก มีอายุการซัพพอร์ตแต่ละเวอร์ชั่นเพียงเวลาสั้นๆ การที่ CentOS ถูกปรับแนวทางกลายเป็นโครงการพัฒนาของ RHEL น่าจะทำให้องค์กรที่เคยอาศัยความเสถียรของ CentOS ต้องเลือกจ่ายเงินซื้อ RHEL หรือเปลี่ยนไปใช้โครงการอื่น
ขอบคุณข่าวจาก Blognone
Red Hat เป็นใคร และทำไมทิ้งให้ CentOS 8 EOL
Red Hat คือ บริษัทซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ OpenSource เรดแฮต เป็นผู้นำตลาดของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ Red Hat Enterprise Linux (Linux OS ตัวหนึ่ง) Red Hat เป็น Distribution หนึ่งใน Linux ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในอเมริกา เมื่อเทียบกับ Distribution อื่นๆของ Linux อย่าง Mandrake, slackware หรือ ลีนุกซ์พันธ์ไทยอย่าง TLE เพราะ RedHat มีโปรแกรมติดตั้งที่ใช้งานง่าย ตลอดจนโปรแกรมเสริม หรือ แอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น โดยปรกติแล้วการติดตั้งซอฟต์แวร์ในระบบ ยูนิกซ์ และ ลีนุกซ์ จะต้องขยายไฟล์ที่ถูกบีบอัดไว้ก่อน แล้วคอมไพล์ตัวโปรแกรม ลีนุกซ์ ใหม่พร้อมกับโปรแกรมเหล่านั้น จึงจะสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์นั้นเพิ่มลงไปในระบบได้ ดังนั้น เรดแฮท จังได้พัฒนาโปรแกรม RPM (Red Hat Package Management) ขึ้นมาสำหรับติดตั้ง ถอดถอน และ บริหารชุดของแพ็กเกจดังกล่าวโดยไม่ต้องเสียเวลาคอมไพล์ใหม่ นอกจาก RPM แล้วทางบริษัท ยังได้พัฒนาโปรแกรมติดตั้งที่เรียกว่า GLINT (Graphical Linux Installation Tool) ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบกราฟิกขึ้น จึงทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก
ข้อมูลอ้างอิง: http://th.wikipedia.org
IBM เข้าซื้อกิจการ Rad Hat สูงถึง 1 ล้านล้านบาท
IBM ได้ออกมาประกาศการเข้าซื้อกิจการของ Red Hat ผู้พัฒนาโซลูชันด้าน Open Source Software สำหรับองค์กร ที่มูลค่าประมาณ 34,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาท ก้าวสู่การเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้าน Hybrid Cloud ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หลังจากที่บน Bloomberg มีข่าวลือของดีลนี้เกิดขึ้นได้ไม่นาน บนเว็บไซต์ของ Red Hat ก็ลงประกาศข่าวนี้อย่างเป็นทางการทันที โดย IBM และ Red Hat นั้นจะนำเทคโนโลยีของตนที่มีนั้นมาผลักดันการเติบโตของตลาด Cloud สำหรับองค์กรต่อไปในหลากหลายแง่มุม ทั้ง Hybrid Cloud, Multi-Cloud, Security และอื่นๆ โดย IBM จะยังคงพัฒนาโซลูชันเดิมของ Red Hat ทั้งหมดต่อยอดต่อไป และทีมงานของ Red Hat นั้นก็จะทำงานเป็นทีมอิสระภายใต้ทีม IBM Hybrid Cloud
ก่อนหน้านี้ IBM และ Red Hat นั้นก็เป็น Partner ร่วมกันมานานนับ 20 ปีแล้ว โดยปัจจุบันธุรกิจในส่วน Hybrid Cloud ของ IBM เองนั้นก็มีมูลค่ามากถึง 19,000 ล้านเหรียญ การเข้าซื้อกิจการของ Red Hat เข้ามาในครั้งนี้ก็น่าจะทำให้ธุรกิจในส่วนนี้เติบโตต่อไปเป็นอย่างมากที่เดียว
IBM มองว่าปัจจุบันเหล่าธุรกิจต่างๆ นั้นยังคงเริ่มมีการใช้งาน Cloud ไปได้เพียงแค่ 20% ของศักยภาพที่เทคโนโลยี Cloud มีเท่านั้นเพื่อใช้ลดค่าใช้จ่ายด้านการประมวลผลด้วยการเช่าใช้บริการ Cloud แต่อีก 80% ที่เหลือซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยสร้างความเป็นไปได้และการเติบโตให้กับธุรกิจนั้นยังเป็นส่วนที่เหล่าธุรกิจยังคงต้องเดินหน้าต่อไปให้ถึง ซึ่ง IBM ก็เห็นถึงแง่มุมนี้จึงได้มีการลงทุนในเทคโนโลยีด้าน Cloud เพิ่มเติม
ทางด้าน Red Hat เองนั้นก็มองว่าปัจจุบัน Open Source Software นั้นมีบทบาทเป็นอย่างมากในโซลูชันด้าน IT สมัยใหม่ และการจับมือกับ IBM ในครั้งนี้ก็จะทำให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต และองค์กรต่างๆ เองก็จะสามารถเข้าถึงและนำเทคโนโลยีของ Red Hat ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำ Digital Transformation ได้ด้วย
แหล่งอ้างอิง : https://www.techtalkthai.com/ibm-acquires-red-hat-at-1-trillion-thb/
แล้วจะใช้ Linux ตัวไหนดี
- CentOS Stream แน่นอนเป็น Version ที่ออกก่อน Fedora เสียอีกดังนั้นการจะไม่เหมาะกับงานที่ต้องการความเสถียร
- Oracle Linux ซึ่งเป็น Linux สาย Redhat ที่ทาง Oracle เอามาพัฒนาต่อ ทางอินดี้แนะนำสำหรับสาย CentOS มาใช้งาน Oracle Linux เลย เพราะคิดว่าไม่แตกต่างกันมาก แต่อนาคตยังจะเป็น Opensource อีกหรือไม่ต้องติดตามกัน
- Ununtu Server ถูกพัฒนาต่อมาจาก Bebian และ มีคนใช้งานมากมายทั่วโลก มีชุมชนคอย Support ปัญหามากมาย และ มีทั้งภาษาไทย และ หลายๆภาษา
- Debian สำหรับอินดี้ใช้งาน Debian อยู่ ก็เพียงพอสำหรับ WebServer ถือว่าเสถียรพอสมควร
- OpenSUSE เป็น Linux เก่าแก่สายพันธ์หนึ่ง และ ก็มี Feature ใหม่ๆเพียบ ลองแนะนำให้ศึกษาดู
อ่านบทความเกี่ยวกับการใช้งาน Debain และ HestiaCP ในหัวข้อ บริหารและดูแลระบบไอที