Tuesday, 26 November 2024

เล่าประสบการณ์ท้อง ลูกคนแรก

วันนี้ทาง Indydiary อยากจะเล่าประสบการณ์ตอนท้อง ลูกคนแรก เพื่อให้พ่อ และ แม่มือใหม่ ที่เข้ามาอ่าน พอจะได้เตรียมตัว โดยเป็นการเล่าแบบคร่าวๆ เพื่อเป็นไอเดีย สำหรับคนที่อยากจะมีลูก แต่ยังไม่มีประสบการณ์ และในอนาคตจะมีบทความเกี่ยวกับลูกให้อ่านอีกมากมาย สามารถติดตามอ่านได้ที่หัวข้อการเลี้ยงลูก

ลูกคนแรก

ขอขอบพระคุณ รูปภาพจาก enfababy โดยการเล่าเรื่องการตั้งท้อง ลูกคนแรก เป็นหัวข้อๆดังรายละเอียด

สารบัญ

การเตรียมตัวก่อนตั้งท้อง ลูกคนแรก

ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด ของการตั้งท้องลูกคนแรกของทาง Indydiary คือการไปตรวจกับทางโรงพยาบาลเพื่อวางแผนครอบครัว โดยเลือกตรวจตามกำลังทรัพย์ของคุณพ่อ คุณแม่ ได้เลย ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ตรวจหาโรคต่างๆ และ รักษาก่อนที่จะตั้งครรภ์

กินโฟลิคก่อนการเตรียมตัวตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-3 เดือน โดยคุณประโยชน์ของโฟลิค จะอธิบายได้คร่าวๆ ดังนี้

กรดโฟลิก (Folic Acid) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ โฟเลต (Folate) คือ วิตามินบี 9 จัดเป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายในน้ำ กรดโฟลิก เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ และมีบทบาทในการสร้างสารคาร์บอน ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของดีเอ็นเอในการถ่ายทอดคำสั่งทางพันธุกรรม เพื่อสร้างโปรตีนชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการควบคุมการเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารก

ซึ่งโฟลิคคุณหมดแนะนำให้กินตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ จนถึง ทารก อายุ 3 เดือน โดยการกินโฟลิค ทาง Indydiary จะเขียนอธิบายในโอกาสต่อไป

การใช้ Application นับวันตกไข่ เพื่อเราจะได้ทราบว่าเราตกไข่วันไหน วันไหนเราควรมีเพศสัมพันธ์ โดยการใช้ Application ช่วยคำนวนเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เราตั้งท้องได้เร็วขึ้น

ท้อง 1 เดือน ลูกคนแรก การเตรียมตัว

อาการเบื้องต้นตอนท้อง 1 เดือน คือ ประจำเดือนสีจางลง หรือ ประจำเดือน ไม่มา มีอาการคัดเต้านม ปานนมใหญ่ขึ้น อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ คลื่นใส่ อาเจียน อารมณ์แปรปรวน ปัสสาวะบ่อย อยากอาหาร หรือเกลียดอาหารบางชนิด โดยแม่ท้องสามารถเช็กอาการ ตั้งครรภ์ได้ด้วยการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เมื่อคุณมั่นใจว่า ตั้งครรภ์ จะต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และไปฝากครรภ์

ท้อง 2 เดือน ลูกคนแรก กับพัฒนาการ

ตั้งครรภ์อายุครรภ์ 2 เดือน ลูกในท้องตัวลูกเชอร์รี่ ช่วงเดือนนี้พัฒนาการทารกในครรภ์มีมากกว่าเดือนแรกถึง 4 เท่า ร่างกาย ส่วนหัวของลูกยังโตไม่มาก ลำตัวค่อยๆ ยืดยาวออกมีความยาว 2.5 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัว 3 กรัม ส่วนของแขนขาก็เริ่มแยกให้เห็นนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก และเริ่มมีการพัฒนาให้เห็นเค้าโครงของใบหน้า สามารถมองเห็นลูกตาดำรางๆ จมูก ริมฝีปาก และหู ผิวหนัง เริ่มแบ่งเป็นสองชั้น และมีการพัฒนาต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน รวมทั้งเริ่มมีขนงอกออกมาจากรูขุมขน อวัยวะภายใน ครบสมบูรณ์ทั้งหมด รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างหลักใหญ่ๆ ของอวัยวะอื่นๆ ด้วย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจลูกจะเต้นเร็วกว่าคุณแม่ประมาณเท่าตัว คือ 140-150 ครั้งต่อนาที

คนท้องอายุครรภ์ 2 เดือนควรกินอะไร

  • โฟเลท ยังต้องกินอย่างต่อเนื่องและขาดไม่ได้นะคะ ซึ่งโดยปกติแล้วคุณหมอผู้ดูแลครรภ์จะให้วิตามินแบบเม็ดมาด้วย
  • โอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในเนื้อปลาทะเลและถั่วต่างๆ เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาสมอง ระบบประสาท และไขสันหลัง
  • แคลเซียม คุณแม่ควรได้รับวันละ 700-800 มิลลิกรัมต่อวัน กินปลา ไข่ นม เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และควรออกไปรับวิตามินดีจากแสงแดดอ่อนยามเช้า
  • วิตามินบี 2 จำเป็นต่อเอนไซม์ต่างๆ ที่ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดี ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดด้วย ขณะเดียวกันก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและมีรสจัด

ท้อง 3 เดือน ลูกคนแรก กับพัฒนาการของลูกน้อย

ท้อง 3 เดือนคือช่วงเวลาที่ทารกในท้อง จะเริ่มพัฒนาประสาทรับรู้รสชาติ แม่ท้องสามารถช่วยสร้างนิสัยการกินที่ดีให้กับตัวเองและลูกน้อยได้ ทารกในครรภ์กำลังพัฒนาต่อมรับรส และเรียนรู้รสชาติต่าง ๆ นั่นหมายความว่าอาหารที่ แม่ท้องรับประทานจะเป็นตัวกำหนดนิสัยการกินของลูกในอนาคต และถ้าคุณแม่เลือกที่จะให้นมลูกเองหลังคลอด เขาก็จะจดจำรสชาติที่อยู่ในน้ำนมของคุณแม่ด้วย
เนื่องจากนิสัยการกินของเด็กเริ่มพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์ แม่ท้องจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ลูกน้อยคุ้นเคยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์อื่น ๆ เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งสำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรงของทารก อาทิ งา อัลมอนด์ ผักกวางตุ้ง กุ้งแห้ง และปลาต่างๆ
คุณแม่ควรพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงระหว่างตั้งครรภ์ และจัดหาเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ มาทดแทนกาแฟหรือชาเขียว แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ต้องงดดื่มกาแฟโดยสิ้นเชิง เพียงพยายามจำกัดการบริโภคคาเฟอีนให้ไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อทารกในครรภ์

ท้อง 4 เดือนรู้เพศแล้ว ลูกคนแรก

พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนสามารถระบุเพศได้แล้วด้วยการอัลตราซาวนด์ ความยาวหัวจรดเท้าประมาณ 16 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 100 กรัม อวัยวะเพศพัฒนาจนระบุเพศชัดเจนได้แล้วจากการอัลตราซาวนด์ว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ทรากเริ่มได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น และอาจจะมีการเตะเบาๆ เมื่อได้ยินเสียงดังหรือได้ยินเสียงแม่ แต่แม่จะไม่รู้สึกว่าลูกเตะหรือดิ้นเพราะยังเบามาก

หน้าท้องเริ่มโตเพราะมดลูกจะลอยสูงขึ้นจากอุ้งเชิงกรานเข้าสู่ช่องท้อง คุณแม่จะคลำยอดมดลูกได้ และเริ่มเห็นเส้นดำกลางหน้าท้อง

ช่วงนี้คุณแม่จะมีโอกาสเป็น ตะคริว เส้นเลือดขอดและริดสีดวงทวารได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของมดลูกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อระบบไหลเวียนของโลหิตนั่นเอง

ช่วงนี้คุณแม่จะมีโอกาสเป็น ตะคริว เส้นเลือดขอดและริดสีดวงทวารได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของมดลูกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อระบบไหลเวียนของโลหิตนั่นเอง

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 4 เดือน

  • อาหารที่วิตามินบี 1 เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง เนื้อวัว หรือเนื้อหมู เต้าหู้ ถั่วหมัก งา กระเทียม จะช่วยปกป้องคุณแม่จากโรคเหน็บชา อันเนื่องมาจากน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นและไปกดทับเส้นเลือด ทำให้การหมุนเวียนของเลือดติดขัดได้
  • คุณแม่ควรเริ่มให้ความสำคัญกับอาหารที่มีสังกะสีที่มีมากในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และถั่วอบแห้ง เพราะช่วยเสริมการเติบโตของทารกในครรภ์ และยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดด้วย

ท้อง 5 เดือน ลูกคนแรก ดิ้นแรง

ลูกตัวเท่ามะละกอและดิ้นแรง ความยาวหัวจรดเท้าประมาณ 25 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 300 กรัม เริ่มดิ้น ยืดตัว พลิกตัวหมุนไปมาในท้องแม่จนแม่รู้สึกได้เองแล้วว่าลูกดิ้นหรือถีบเป็นระยะๆ (ตอนไหนไม่ถีบคือหลับ) คุณแม่ควรจนบันทึกเวลาในการดิ้นของลูกไว้ด้วย แยกรสหวานและขมได้ด้วยนะ สืบเนื่องจากปุ่มรับรสที่พัฒนาแล้วตั้งแต่เมื่อเดือนที่ 4 ตอนนี้เลยเริ่มแยกรสได้แล้ว

แม่ท้องอายุครรภ์ 5 เดือน ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • ช่วงนี้ท้องเริ่มใหญ่ขึ้นอย่างเร็วจนอาจทำให้ผิวเริ่มแตกลายได้ คุณแม่ควรใช้เบบี้ออยล์ โลชั่น หรือครีมป้องกันท้องแตก เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิว
  • คุณแม่จะขี้ร้อนและเหงื่อออกง่าย เพราะต่อมไทรอยด์ต้องทำงานมากขึ้น บางครั้งอาจรู้สึกเหมือนตัวเองหายใจหอบ
  • ปัสสาวะบ่อยมาก เพราะตัวลูกใหญ่ขึ้นจนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ
  • อาจรู้สึกแสบกระเพาะอาหาร เกิดกรดไหลย้อน และท้องผูกได้
  • ตะคริวเริ่มมากบ่อยขึ้น ส่วนใหญ่มักเป็นมากในช่วงกลางคืน ซึ่งหากคุณแม่เป็นตะคริวควรรีบกระดกปลายเท้าขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อที่จับตัวเป็นตะคริวเหยียดและคลายตัวออก

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 5 เดือน

  • เพราะตะคริวมาหนักขึ้น คุณแม่ควรกินอาหารที่มีวิตามินบี 12 มากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ ปลา นม เนย ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ จะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยบำรุงระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลายของทารกได้
  • อย่าลืมเน้นผัก ผลไม้ และน้ำสะอาดที่ควรกินทั้งวัน เพื่อลดและป้องกันอาการท้องผูกที่มักเกิดกับคุณแม่ท้องนั่นเอง

ท้อง 6 เดือน ลูกคนแรก ได้ยินเสียงแม่แล้ว

อายุครรภ์ 6 เดือน ลูกตัวเท่าดอกกะหล่ำและได้ยินเสียงแม่แล้ว ช่วงนี้พัฒนาการทารกในครรภ์มีอะไรเพิ่มเติมบ้าง แม่ต้องดูแลตัวเองอย่างไร และร่างกายแม่ท้องอายุครรภ์ 6 เดือนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ลูกในท้องตัวหัวดอกกะหล่ำ

  • ความยาวตัวทารกตั้งหัวจรดเท่าประมาณ 33 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 600 กรัม (6 ขีด)
  • ตามร่างกายมีขนอ่อนปกคลุมมากขึ้น และเปลือกตาเริ่มเปิดออกได้แล้ว
  • ปอดเริ่มทำงานได้ แต่หลอดลมของปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่
  • ลูกในท้องเริ่มไวต่อคลื่นเสียงความถี่สูงๆ และจะเคลื่อนตัวตามจังหวะเสียงพูดของคุณพ่อคุณแม่ได้ การที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับทารก เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ทารกสามารถจดจำเสียงได้ ยิ่งพูดคุยด้วยบ่อยๆ ก็จะยิ่งดี

แม่ท้องอายุครรภ์ 6 เดือน ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ประมาณอาทิตย์ละครึ่งกิโลกรัม ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าท้องจะเล็กหรือใหญ่ เพราะขนาดท้องของคุณแม่ จะกับรูปร่าง และโครงสร้างร่างกายของคุณแม่และปริมาณน้ำคร่ำเป็นหลัก
  • เวลาแม่เปลี่ยนอิริยาบทอาจจะเกิดการเสียดท้องน้อยได้ เพราะมดลูกจะเกิดการหดตัวและเกร็ง
  • คุณแม่อาจจะปวดชายโครงได้ เนื่องจากขนาดครรภ์ใหญ่ขึ้น และขณะที่ทารกดิ้นก็อาจจะเกิดการกดทับกระเพาะอาหารและแสบร้อนได้เหมือนกัน
  • สิ่งที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้คือ โรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ การอักเสบจากเชื้อรา ฯลฯ ดังนั้นจะต้องระวังเรื่องอาหาร และห่กตรวจพบภาวะดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 6 เดือน

  • แคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว
  • กากใย การกินอาหารที่มีกากใยสูงตลอดช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ นอกจากจะช่วยป้องกันท้องผูกหรือริดสีดวงทวารแล้ว ยังลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้

ท้อง 7 เดือน ลูกคนแรก เริ่มหมุนกลับตัว

การตั้งครรภ์อายุครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะพร้าวและเริ่มหมุนกลับหัว พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน

  • ความยาวของตัวทารกตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1,000 กรัม (1 กิโลกรัม)
  • ต่อมไขมันเริ่มทำงานแล้ว ช่วงนี้ผิวลูกในท้องจึงเริ่มมีความชุ่มชื่นมากขึ้น
  • ทารกในท้องลืมตาได้เองแล้ว
  • ช่วงนี้พื้นที่ในท้องแม่แคบลงเพราะลูกตัวใหญ่ขึ้น เมื่อลูกเริ่มยืดแขนขาแม่จึงรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นแรง ดิ้นบ่อย
  • ทารกในท้องบางคนจะเริ่มหมุนตัวเอาส่วนหัวลงในลักษระคล้ายเตรียมตัวคลอดแล้ว
  • ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ และฝึกการดูดนมด้วยเช่นกัน สำหรับน้ำคร่ำที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะประมาณ 500 มล.ต่อวัน

แม่ท้องอายุครรภ์ 7 เดือน ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • การตั้งครรภ์เข้าไตรมาสที่ 3 นี้คุณแม่จะเหนื่อยและเพลียง่ายมาก เพราะทั้งตัวลูกที่ใหญ่ขึ้น ท้องใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวแม่ที่เพิ่มมากขึ้น เดินนิดหน่อยก็จะเหนื่อย ง่วงนอน
  • แม่เริ่มจะปวดหลังมากขึ้น นอนไม่ค่อยหลับเพราะท้องใหญ่ไม่สบายตัว รวมทั้งลูกอาจจะตื่นมาถีบท้องแม่ตอนกลางคืนทำให้ไม่ค่อยได้นอน คุณแม่ลองนอนโดยใช้หมอนแม่ท้องช่วยประคองหลัง ประคองท้อง หรือนอนในท่าเอนหลังแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน และใช้วิธีงีบหลับระหว่างวันช่วยได้
  • คุณแม่บางคนเริ่มมีน้ำนมไหล คุณแม่อาจเริ่มสังเกตว่ามีน้ำสีขุ่นๆ ไหลออกมาจากหัวนม น้ำนี้มีความใสกว่าน้ำนม มีรสหวาน เรียกว่า “โคลอสตรัม” (Colostrum) เพื่อให้ทารกได้กินเป็นอาหารในช่วง 3-4 มื้อแรกก่อนที่น้ำนมจริงๆ จากเต้านมจะไหลออกมา นั่นเอง
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น คุณแม่จะเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นมาอีก หลังจากหายไปเมื่อเลย 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์แล้ว คราวนี้อาการปัสสาวะบ่อยนั้นเกิดจากมดลูกที่โต และทารกที่อยู่ภายในเริ่มมีแรงกดต่อกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังกล่าว

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 7 เดือน

  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมแก่ทารก
  •  ช่วงนี้วิตามินซีมีความจำเป็นมาก เพราะนอกจากจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กแล้ว ยังช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกด้วย
  • แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับวิตามินเค ที่จะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้นและช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้แก่คุณแม่ได้

ท้อง 8 เดือน ตัวเท่าสัปรด ถีบท้องแรงมาก

เช็กการตั้งครรภ์อายุครรภ์ 8 เดือน ลูกตัวเท่าสับปะรดและถีบท้องแรงมาก ลูกในท้องมีพัฒนาการครบถ้วนแค่ไหน พร้อมคลอดแล้วหรือยัง คุณแม่ท้องเช็คพัฒนาการทารกในครรภ์ที่มีอายุ 8 เดือนกันได้ตรงนี้ พร้อมวิธีเตรียมตัวคุณแม่ก่อนคลอดค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือน ลูกในท้องตัวเท่าสับปะรด

  • ทารกจะมีความยาวหัวจรดเท้าประมาณ 40 ซม. และมีน้ำหนักตัวประมาณ 1,600 กรัม
  • ผิวหนังยังเหี่ยวย่นเนื่องจากชั้นไขมันยังน้อย
  • ทารกในท้องจะปัสสาวะออกมามาก ดังนั้นในถุงน้ำคร่จึงจะบนด้วยปัสสาวะลูกค่อยข้างมาก
  • ทารกจะขยับแขนและเหยียดขาเตะผนังหน้าท้องของคุณแม่ อาจทำให้คุณแม่นอนไม่ค่อยหลับ คุณแม่สามารถใช้มือลูบท้อง และพูดคุยกับทารกในครรภ์ได้ เดือนนี้ทารกบางคนอาจจะอยู่ในท่าเตรียมตัวคลอดแล้ว (ท่าก้น) ไปจนถึงครบกำหนดคลอด
  • ผมของทารกเริ่มขึ้นเต็มศีรษะ ผิวเริ่มเป็นสีชมพู เพราะมีไขมันสีขาวสะสมใต้ผิวหนัง และเล็บมือเล็บเท้าจะงอกยาว

แม่ท้องอายุครรภ์ 8 เดือน ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • คุณแม่จะเริ่มเคลื่อนไหวได้ช้าลง อุ้ยอ้าย ปวดหลัง เดินแอ่นหลัง ขาถ่างมากขึ้น เนื่องจากท้องเริ่มโตเต็มที่ เดือนนี้คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้น เพราะเป็นช่วงที่พบโรคแทรกซ้อนได้มาก เช่น ครรภ์เป็นพิษ จึงต้องหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตและปัสสาวะของคุณแม่
  • มดลูกขยายตัวใหญ่ขึ้นตามขนาดของทารกในครรรภ์ ยอดมดลูกดันยอดอกและชายโครง จึงอาจทำให้คุณแม่มีอาการจุกเสียด สะดือตื้นขึ้นและคล้ำ เส้นดำกลางลำตัวจะมีสีเข้มขึ้น
  • มดลูกจะฝึกหดตัวเป็นระยะ เพื่อเตรียมเข้าสู่ระยะการเจ็บคลอดจริง มดลูกจะนูนแข็งขึ้นมาเป็นครั้ง คราวละไม่เกิน 30 วินาที คุณแม่อาจรู้สึกว่าท้องตึง แต่ไม่เจ็บมาก

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 8 เดือน

  • กินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี และโอเมก้า 3 จะช่วยให้กะโหลกศีรษะของทารกแข็งแรงและพร้อมผ่านช่องคลอดไปได้ด้วยดี
  • กินอาหารที่มีธาตุเหล็ก เพราะคุณแม่ต้องการปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นทั้งในช่วงตั้งครรภ์และการคลอด

ท้อง 9 เดือน ลูกเท่าแตงโม และ เตรียมคลอด

เช็กการตั้งครรภ์อายุ 9 เดือน ลูกตัวเท่าแตงโมและเตรียมคลอดแล้ว พร้อมคลอดลูกแล้วนะคุณแม่ ก่อนคลอดลูกเรามาเช็กพัฒนาการลูกในท้องกันค่ะว่าพร้อมออกมาลืมตาดูโลกมาน้อยแค่ไหน และเช็กไปถึงคุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอดด้วยว่าจะต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้างในการต้อนรับเบบี้ที่กำลังจะคลอด

พัฒนาการทารกในครรภ์ 9 เดือน ลูกในท้องตัวเท่าแตงโม

  • ทารกมีความยาวตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 50 ซม. น้ำหนักตัวประมาณ 3,000 – 3,500 กรัม
  • ผิวลูกจะเป็นสีชมพู เนียบ ไม่ย่นมากเหมือนเดือนก่อนๆ
  • ผมยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
  • ปอดทำงานได้ดี และสามารถทำงาน หายใจได้เองเมื่อคลอดออกมาแล้ว
  • ทารกในครรภ์จะอยู่ในท่าพร้อมคลอด คือ กลับตัวเอาหัวลง ซึ่งอาจะมีทารกบางคนที่ไม่กลับหัว แต่จะอยู่ใน “ท่าก้น” คือเอาก้นคลอด ท่านี้ค่อนข้างอันตราย ดังนั้นเมื่อทารกไม่กลับหัว คุณหมอและพยาบาลจะมีท่าและการนวดท้องที่จะช่วยให้ลูกกลับหัวได้ หรือหากมีความเสี่ยงมากอาจจะต้องผ่าคลอดแทนการคลอดธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับขนาดตัวของลูก และความแข็งแรงร่างกายของแม่ค่ะ

แม่ท้องอายุครรภ์ 9 เดือน ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • เมื่อคุณแม่มีอาการท้องลด จะรู้สึกสบายบริเวณลิ้นปี่และหายใจดีขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ศีรษะของทารกลงไปอยู่ในช่องเชิงกราน นั่นเอง
  • มีอาการเจ็บเตือนก่อนคลอดบ่อยขึ้น
  • เดือนนี้คุณแม่จะมีความวิตกกังวลมากขึ้น ทำให้นอนไม่หลับ เนื่องจากท้องที่โตมากขึ้น อึดอัดไม่สบายตัว ดังนั้น หากพอมีเวลาคุณแม่ควรงีบหลับบ้าง จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่น และอย่าลืมหนุนเท้าให้สูงกว่าลำตัวเวลานอนด้วยนะคะ


เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

  1. หายใจล้างปอด คือการสูดหายใจลึกๆ โดยใช้มือข้างหนึ่งวางไว้ที่ท้อง ถ้าหายใจถูกต้อง ท้องจะต้องป่อง จากนั้นผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ
     
  2. หายใจระดับอก คือ การสูดหายใจถึงแค่ระดับอก โดยใช้มือข้างหนึ่งวางไว้ที่อก ถ้าหายใจถูกต้อง อกจะต้องพองขึ้น จากนั้นผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ
     
  3. หายใจระดับคอ คือ การสูดหายใจตื้นๆ เร็วๆ โดยหายใจถึงแค่ระดับคอ แล้วหายใจออกทางปากถี่ๆ ซึ่งการหายใจแต่ละระดับจะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายและบรรเทาความเจ็บปวดในระยะต่างๆ ของการคลอด
     
  4. เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวสังเกตจากการมีอาการปวดท้องนำมาก่อน ให้คุณแม่หายใจล้างปอด 1 ครั้ง จากนั้นหายใจระดับอก นับ 1-2-3 แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปาก นับ 1-2-3 ทำเช่นนี้ 6-9 ครั้งต่อนาที
     
  5. เมื่อมดลูกคลายตัวเต็มที่ให้หายใจล้างปอดอีก 1 ครั้ง สำหรับการหายใจแบบ ตื้นๆ ถี่ๆ จะใช้ในช่วงที่อยากเบ่งเหลือเกิน แต่ปากมดลูกยังไม่เปิดเต็มที่ (ซึ่งพยาบาลมักจะบอกว่า “อย่าเพิ่งเบ่ง”) โดยให้คุณแม่หายใจทางปาก เข้านับ 1 ออกนับ 2 ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าปากมดลูกจะเปิดนะคะ

ขอขอบคุณบทความบางส่วนจาก rakluke.com

เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save