Sunday, 24 November 2024

พัฒนาการ ทารก 8 เดือน

พัฒนาการ ทารก 8 เดือน

พัฒนาการ ทารก 8 เดือน พัฒนาการทารก และ การส่งเสริมพัฒนาการทารก แปด เดือน ทารกวัย แปด เดือนวัยแห่งการเคลื่อนไหว และ การล้มอย่างเป็นธรรมชาติ คุณพ่อ คุณแม่ ไม่ต้องห่วงเพราะว่ากะโหลกของเด็กวัยนี้ยังเป็นกะโหลกอ่อนอยู่ เวลาหัวกระแทกจะไม่มีอาการรุนแรงเท่าผู้ใหญ่ โดยกะโหลกนั้นจะเชื่อมต่อกันสมบูรณ์เมื่อลูกอายุครบ 2 ปี  ส่วนพัฒนาการลูกเดือนที่ 7 อ่านได้ที่บทความ พัฒนาการ ทารก 7 เดือน

พัฒนาการทางร่างกาย และ การส่งเสริม พัฒนาการ ทารก 8 เดือน

วัย 8 เดือนนี้ลูกจะต้องล้มเป็นตุ๊กตาล้มลุกอยู่บ่อยครั้ง เพราะว่าสรีระของลูกนั้นศีรษะยังมีความใหญ่กว่าร่างกาย ทำให้เวลาลุกขึ้นยืน หรือ นั่งโดยไม่มีอะไรพิง เด็กจะหงาย หรือ คว่ำง่ายๆ จวบจนที่กล้ามเนื้อต่างๆ เริ่มพัฒนา ทำให้อวัยวะทุกส่วนมีความแข็งแรงขึ้น แม้จะล้มไปบ้างแต่เขาก็จะเรียนรู้ และ ฝึกฝนทักษะกล้ามเนื้อต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตามการยืนได้ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ลูกตื่นเต้นมาก และ อยากลองอยู่ตลอดเวลา จนทำให้คิดว่าลูกอยู่ไม่สุขเอาเสียเลย

คุณพ่อ คุณแม่ สามารถเสริมเรื่องพื้นเพื่อป้องกันการล้มของลูก รวมทั้งนำเฟอร์นิเจอร์ที่มีล้อออกไป เพราะว่าลูกอาจจะทำให้ลูกเหนี่ยวจนเกิดอุบัติเหตุได้ ลูกสามารถควบคุมกล้ามเนื้อนิ้วมือได้ดีขึ้น ด้วยการทดลองหยิบ ขว้าง ปา ของลูกเอง เขาจะเล่นสนุกอย่างนี้ได้ทั้งวัน พร้อมกับสังเกตการใช้งานมือของตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย

พัฒนาการทางร่างกายของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • คลานได้ เคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วยวิธีถัดก้น
  • ยืนเกาะเครื่องเรือน และ เอื้อมตัวไปพร้อมกับก้าวขาเพื่อทรงตัว
  • เกาะเครื่องเรือน และ ดันตัวยืนขึ้น แต่ต้องใช้คนช่วยจึงจะลงจากท่ายืนได้
  • เมื่อจับยืนจะยื่นขาข้างหนึ่งออกไปข้างหน้า นั่งหลังตรงโดยลำพังได้นาน
  • ขณะนั่งขาข้างหนึ่งจะเหยียดออก อีกข้างจะงอในท่าพัก
  • ลุกขึ้นนั่งได้เองจากการยันแขนขึ้น หรือ จากท่าคลาน
  • พยายามหยิบลูกปัดเล็กๆ หรือ เชือก
  • ถือของเล่นเขย่าได้นานอย่างน้อย 3 นาที ถือขวดนมเองได้

พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และ การส่งเสริม พัฒนาการ ทารก 8 เดือน

วัยนี้จะเริ่มมีความกลัวเข้ามาครอบงำ ซึ่งแสดงว่าลูกเริ่มมีการนึกภาพในใจมากขึ้น ซึ่งแสดงถึงสติปัญญา และ พลังแห่งจินตนาการได้อย่างดี แต่ว่าเวลาที่ลูกกลัว และ ติดแม่นั้นคุณแม่ไม่ควรทำโทษด้วยการตี แต่ควรสร้างความมั่นใจด้วยน้ำเสียงที่เบาแต่หนักแน่นว่า “เดี๋ยวแม่จะกลับมาตอนเย็น” และ ต้องรักษาสัญญานั้นเพราะลูกจะจดจำ การรักษาสัญญาเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย และ มีความมั่นคงทางอารมณ์อีกด้วย

หากครอบครัวจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น แม่จะต้องกลับไปทำงาน ควรเตรียมตัวให้มีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย เพื่อลดความกังวล และ ความกลัวของลูกได้

พัฒนาการทางภาษา และ การส่งเสริมพัฒนาการทารก 8 เดือน

ลูกจะพูดคำง่ายๆ ซ้ำไปซ้ำมา บางครั้งก็ตะโกนแผดเสียงออกมาเมื่อหัวเราะดีใจ เลียนแบบคนที่อยู่ใกล้คิด และ เรียนรู้เข้าใจคำศัพท์ได้มากขึ้น

พัฒนาการทางภาษาของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • ส่งเสียงเลียนแบบต่าง ๆ
  • บางครั้งก็ส่งเสียงพูดคุย แม้อยู่คนเดียว ส่งเสียงดังเหมือนตะโกน
  • จีบปากจีบคอเริ่มเคลื่อนไหวกราม
  • ใช้คำซ้ำๆ อย่างเช่น มามา จิ๊บจิ๊บ
  • จะหันหน้า หรือ หันตัวเมื่อได้ยินเสียงคุ้นหู

พัฒนาการทางสังคม และ การส่งเสริมพัฒนาการทารก 8 เดือน

แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าลูกเป็นเด็กน่ารักเข้ากับคนง่าย แต่เด็กวัยนี้จะระแวงคนแปลกหน้า และ ร้องไห้โยเยเอาง่ายๆ คุณแม่อาจจะต้องบอกเพื่อน หรือ ญาติผู้ใหญ่ว่าอย่าเพิ่งพุ่งเข้ามาหาเด็กตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอกัน แต่ควรทำความคุ้นเคย พูดคุยด้วย และ รอให้เด็กเป็นผู้เข้าหาเองดีกว่า พัฒนาการทางสังคมของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • ตีเรียก ยิ้มให้ และ หอมภาพในกระจก
  • กลัวคนแปลกหน้า
  • กลัวการแยกจาก ติดแม่
  • ตะโกน หรือ ทำเสียงดังเรียกร้องความสนใจ
  • สนใจแต่การเล่นของเล่น ผลัก และ ปัดสิ่งที่ไม่ต้องการ

พัฒนาการทางสมอง และ การส่งเสริมพัฒนาการทารก 8 เดือน

สมองของลูกมีการพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยคุณจะมองเห็นได้จากการเล่นที่ลูกจะชื่นชอบการเล่นเชิงปริมาณ เช่น ใส่ของชิ้นหนึ่งในกระป๋องแล้วหยิบออกมา หรือ ว่าใส่ของลงไปในกระป๋องเรื่อยๆ อีกทั้งลูกจะคอยสังเกตสิ่งแวดล้อมด้วยการนำตนเองเข้าไปสัมผัสมากขึ้น เช่น การดึงเครื่องเรือนเพื่อยันตัวเองขึ้นมา เด็กจะมีการลองก่อนแล้วว่าเครื่องเรือนนั้นมีความมั่นคงแค่ไหน หรือ ว่าการลองตบโต๊ะ หรือ เคาะสิ่งของเพื่อให้เสียงดัง ชอบทำซ้ำไปซ้ำมาจนคุณพ่อคุณแม่รำคาญด้วย นอกจากนั้นลูกยังชอบมองภาพกลับหัว เชื่อว่าเป็นเพราะเขาติดการมองภาพแบบนี้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารกตัวเล็กๆ ที่ชอบนอนหงาย และ มองแต่ภาพกลับหัวนั่นเอง พัฒนาการทางสมองของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • สำรวจสิ่งของ ดูภายนอกภายใน กว้างยาวลึก
  • มองมือตนเองเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น หยิบหรือโยนของสำรวจภาชนะต่างๆ ด้วยการนำของใส่เข้าออก
  • จะค้นหาของที่ซ่อนเอาไว้ในที่ง่ายๆ ได้ อย่างเช่น หลังม่าน
  • เลียนแบบกิริยท่าทางของคน มีลักษณะการเรียนรู้เฉพาะตน
  • ชอบการเรียนรู้
  • ชอบเล่นน้ำ
  • จดจำเวลาได้จากกิจวัตรประจำวันที่ทำสม่ำเสมอ
พัฒนาการ ทารก 8 เดือน

ขอขอบพระคุณ บทความจาก รักลูก

เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save