Saturday, 23 November 2024

วันแรดโลก 22 กันยายนของทุกปี

22 Sep 2020
987

วันแรดโลก วันที่ 22 กันยายน ของทุกปีเมื่อ “แรด” มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ และ เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ไม่ต่างจากช้างสุมาตรา เสือดาว ลิงอุรังอุตัง หรือ นกเงือก ดังนั้น ในแวดวงของนักอนุรักษ์จึงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ “แรด” สายพันธุ์ต่างๆ ทั่วโลกเป็นอย่างมาก จนเกิดวันสำคัญแห่งการอนุรักษ์เจ้าสัตว์มีนอหนังหุ้งเกราะชนิดนี้อย่าง “วัน แรด โลก” ขึ้นมา

วันแรดโลก

เนื่องใน วัน แรดโลก 22 กันยายน ในปีนี้ IndyDiary.com จะมาแนะนำบทความรู้จักที่มา และ ความสำคัญของ “วัน แรดโลก” กันให้มากขึ้น เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก แรดตัวเป็นๆ และ ไม่สูญหายไปจนเหลือแต่ให้อ่านในหนังสือเท่านั้น บทความที่แล้วได้เขียนเกี่ยวกับ วันเยาวชนแห่งชาติ วันนี้ 22 กันยา คือวันแรดโลก

ทำไมต้องมีวันอนุรักษ์แรดโลก?

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไม “แรด” ถึงมีความสำคัญต่อผืนป่าทั่วโลก? ขอเล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า แรดนั้นถูกจัดให้เป็นสัตว์เลือดอุ่น ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากช้าง โดยแรดทั่วไปมีน้ำหนักเฉลี่ยนมากถึง 1,000 กิโลกรัม และ หากเป็นสายพันธุ์ แรดขาว จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 3,500 กิโลกรัม หรือ มากกว่า 3 ตัน เลยทีเดียว

จากข้อมูลการวิจัยของนักอนุรักษ์ และ นักวิทยาศาสตร์พบว่าขอบเขตพื้นที่ที่ แรด มักเลือกอาศัยอยู่นั้นจะสอดคล้องกับสายพันธุ์พืช และ สัตว์ป่าสำคัญชนิดอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการอนุรักษ์แรดจึงเปรียบเสมือนการดูแล และ ปกป้องสายพันธุ์ชนิดอื่นข้างเคียงไปด้วย

เป้าหมายของ “วันแรดโลก”

วัน แรดโลก ตรงกับ วันที่ 22 กันยายน ของทุกๆ ปี โดยมีเป้าประสงค์สำคัญ คือ เฉลิมฉลองและ สร้างความตระหนักในการ อนุรักษ์แรด ทั้ง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ แรดดำ, แรดขาว, แรดนอเดียว, แรดสุมาตรา และ แรดชวา เนื่องจากพบว่าประชากรแรดทั่วโลกกำลังลดจำนวนลงอย่างหนัก ทำให้แรดเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยสาเหตุหลักมาจากการลักลอบล่าของมนุษย์นั่นเอง

“วันแรดโลก” มีมาตั้งแต่เมื่อไร?

วัน แรดโลก ได้ถูกพูดถึงครั้งแรกโดย WWF (World Wide Fund for Nature) แห่งแอฟริกาใต้ ในปี 2010 ในปีนั้นยังไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรที่ชัดเจนมากนัก แต่ต่อมาในปี 2011 วัน แรดโลก ได้เติบโตสู่ความสำเร็จในระดับสากลโดยครอบคลุมทั้งแรดสายพันธุ์แอฟริกัน และ เอเชียเนื่องจากความพยายามของผู้หญิงสองคนที่มุ่งมั่น

ทุกอย่างเริ่มต้นด้วย อีเมล ฉบับหนึ่งในกลางปี ​​2011 ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีชื่อว่า Lisa Jane Campbell จากชุมชน Chishakwe Ranch ในประเทศซิมบับเว เธอมีความมุ่งมั่นตั้งใจว่าไม่อยากให้แรดสูญพันธุ์ และ ได้วางแผนล่วงหน้าสำหรับ วัน แรดโลก เธอค้นหาแนวคิด และ ผู้ทำงานร่วมกันทางออนไลน์ และ พบบล็อกของ Rhishja Larson

จากนั้น ลิซ่า เจน แคมป์เบล จึงส่งอีเมลถึง Rhishja และ ทั้งสองพบว่าพวกเขามีเป้าหมายร่วมกันในการทำให้ วัน แรดโลก เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองของแรดทั้ง 5 ชนิด ในช่วงหลายเดือนต่อจากนั้นพวกเขาทำงานร่วมกันเพื่อให้ วัน แรดโลก ปี 2011 ประสบความสำเร็จในระดับสากล ทั้งทางออนไลน์ และ ออฟไลน์

ใช้เวลาเพียงไม่นาน “วัน แรดโลก” ก็ได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก โดยการรวมตัวกันขององค์กรพัฒนาสวนสัตว์เอกชน และ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการลดลงของแรด องค์กรทางธุรกิจ และ บุคคลที่เกี่ยวข้องจากเกือบทุกมุมโลก!

แรดในประเทศไทยสุญพันธุ์ไปแล้ว!

มีบันทึกว่า ประเทศไทย นั้นเคยเป็นเเหล่งที่อยู่อาศัยของแรดป่าสองชนิด ได้แก่ แรดชวา และ แรดสุมาตรา (กระซู่) แต่สัตว์ป่าทั้งสองชนิดได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนเเล้วว่าเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ (Extinct in the wild) ไปแล้วในประเทศไทย

รายงานล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับแรด และ กระซู่ใน ประเทศไทย ต้องย้อนกันไปถึงปี 2540 ที่มีการค้นพบร่องรอยของกระซู่บริเวณปลักบนภูเขาสูง ในป่าฮาลา-บาลา แต่จากนั้นก็ไม่มีใครรู้ชะตากรรมของมัน และ มีแนวโน้มว่ามันอาจจะหลบหนีเข้าป่าลึกมาเลเซีย หรือ ไม่ก็อาจจะถูกล่าจากพรานไปเเล้วก็เป็นได้

แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทย ได้จัดให้ แรด เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิด และ จัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญา CITES ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S.Endanger Species แต่มันก็ยังถูกคุกคาม และ ถูกล่าอย่างหนักจนสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยในที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save