Wednesday, 4 December 2024

14 เมษายน วันครอบครัว

15 Apr 2021
774
14 เมษายน วันครอบครัว

14 เมษายน วันครอบครัว รัฐบาล กำหนดให้เป็น วันครอบครัวไทย ของทุกปี เพื่อสนับสนุน และ ส่งเสริมให้ประชาชน ตระหนักถึงคุณค่าของสถาบันครอบครัว และ ใช้เวลาว่างในวันหยุดยาวช่วงเทศกาล สงกรานต์ ให้สมาชิกในครอบครัว ได้อยู่พร้อมหน้า และ ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เป็นการกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัว และ สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว อีกทั้งช่วงเทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นโอกาสที่ประชาชนจะได้เดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อรวมญาติ พบปะครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว รดน้ำดำหัวขอพรผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล ความอบอุ่น และ ความสุขของครอบครัว ตามประเพณีไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา แต่โบราณ

14 เมษายน วันครอบครัว และ ความสำคัญ

ครอบครัว คือ สถาบันมูลฐานของมนุษย์ชาติ เป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้าง และ กำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคล อันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็น สถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอด วัฒนธรรม และ พัฒนา ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และ บุตร การที่ทางราชการ กำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากต้องการให้ประชาชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว ให้มากขึ้น เพราะการที่วิถีชีวิตของคนในสังคมไทย เปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้ครอบครัว มีความขัดแย้ง และ ห่างเหินกันมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคม ตามมาทีหลังได้

14 เมษายน วันครอบครัว และ ประวัติ

สืบเนื่องจากคนไทยสมัยก่อน จะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ลักษณะเป็นครอบครัวขยาย ประกอบด้วย พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ รวมกันอยู่ในบริเวณบ้านเดียวกัน ความใหญ่เล็กของบ้านขึ้นอยู่กับจำนวนคน และ ต่อเติมขนาดของบ้านเรื่อยไป ตามจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น ถึงเทศกาล ก็ทำข้าวของอาหารไปทำบุญที่วัดใกล้บ้าน ญาติพี่น้องจะเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือกัน ข้าวของอาหารที่เหลือ ก็จะแบ่งปันแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่ด้วยวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทย เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมือง เพื่อหางานทำ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่ ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูก และ ครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะสร้างปัญหา ให้กับสังคม

ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 คณะ รัฐมนตรี ซึ่งมี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยคุณหญิง สุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และ อนุมัติให้วันที่ 14 ม.ย. ของทุกปี เป็น “วันครอบครัว” ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัว มีโอกาสพบปะกันได้โดยสะดวก จึงให้ถือโอกาสเดียวกันนี้เป็นวันแห่งการรวมญาติ รวมครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ตลอดจนการขอพรผู้ใหญ่ ตามประเพณีไทย ที่เคยปฏิบัติกันมา

14 เมษายน วันครอบครัว

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวที่พึงปฏิบัติต่อกัน

  • ให้ความรัก ความอบอุ่น และ ความเอื้ออาทร ต่อกัน
  • หันหน้าเข้าหากัน และ ยอมรับฟังความคิด เห็นซึ่งกัน และ กัน
  • ช่วยเหลือ ดูแล เกื้อกูล ซึ่งกัน และ กัน
  • ดูแลเอาใจใส่ และ ให้เวลากับครอบครัว มากขึ้น
  • รู้จักวางแผนการใช้จ่ายอย่างประหยัด และ ไม่ฟุ่มเฟือย
  • รู้จักให้อภัยซึ่งกัน และ กัน
  • ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ร่วมกัน เช่น การเข้าวัด อบรมปฏิบัติธรรม นำครอบครัวอบอุ่น ครอบครัวสนุกกับห้องสมุด ศิลปะสุดสัปดาห์ เป็นต้น

กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันครอบครัวไทย

สำหรับกิจกรรม ในวันครอบครัวของหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน มักจัดกิจกรรมมอบรางวัลให้แก่ ครอบครัวดีเด่น ครอบครัวต้นแบบ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว ที่มีแบบอย่างที่ดี เพื่อส่งเสริม และ ให้กำลังใจในการปฏิบัติตนเป็นสถาบัน ตัวอย่างที่ดีให้แก่ สังคม ส่วนคนไทยมักนิยมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่ามักจะเข้าไปไหว้ ขอพรผู้หลักผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ยังนิยมใช้เวลาส่วนใหญ่ในการรับประทานอาหารร่วมกัน ถามไถ่ทุกข์สุข ถือ เป็นวันสำคัญที่สมาชิกในครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

วันครอบครัว เป็นวันที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว ซึ่งไม่จำเป็นว่าเราจะต้องให้ความสำคัญกับพ่อแม่ หรือ สมาชิกภายในบ้านเฉพาะวันนี้เท่านั้น แต่ยังสามารถดูแลเอาใจใส่กันได้ในทุกๆ วัน โดยนอกจากวันครอบครัว จะเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลวันสงกรานต์แล้ว ยังสะท้อนค่านิยม และ วัฒนธรรมของคนไทยได้อีกด้วย


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save