Tuesday, 3 December 2024

โทรศัพท์แอนดรอยด์ จุดกำเนินของ OS ที่โดงดังถึงทุกวันนี้

โทรศัพท์แอนดรอยด์

โทรศัพท์แอนดรอยด์ จุดกำเนิดของระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มีความเป็นมายังไงบทความนี้ทางอินดี้จะพาไปรู้จักกับโทรศัพท์ OS ที่มีผู้คนใช้งานมากที่สุดในโลกของโทรศัพท์ทั้งหมด โดย Androids มีจุดกำเนินมายังไง ใครเป็นคนสร้าง และ รายละเอียดต่างๆของระบบปฏิบัติการ หรือ ที่เรียกกันว่า OS ของโทรศัพท์ทุกค่ายที่ใช้งานเจ้าหุ้นเขียวกัน ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร และ ปัจจุบันพัฒนาไปถึง Verison ไหนแล้วบ้าง มาติดตามรายละเอียดกัน

ประวัติความเป็นมา โทรศัพท์แอนดรอยด์

บริษัทแอนดรอยด์ ก่อตั้งขึ้นที่พาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2546 โดยแอนดี รูบิน (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแดนเจอร์) ริช ไมเนอร์(ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไวลด์ไฟร์คอมมูนิเคชัน) นิก เซียส์ (ซึ่งเคยเป็นรองผู้จัดการที่ทีโมบายล์) และ คริส ไวท์ (หัวหน้าฝ่ายออกแบบ และ การพัฒนาอินเตอร์เฟซ ที่เว็บทีวี) สำหรับการพัฒนานั้นจากคำพูดของรูบิน “โทรศัพท์มือถือที่มีความฉลาดขึ้น และ ตระหนักถึงสถานที่ของเจ้าของมากขึ้น” จุดประสงค์แรกของบริษัท คือ การพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับกล้องดิจิทัลแต่เมื่อถูกตระหนักว่าไม่ใช่ตลาดที่กว้างพอ และ ต่อมาได้เบี่ยงเบนความพยายามเพื่อที่จะทำระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ตโฟน เพื่อแข่งกับซิมเบียน และ วินโดวส์โมเบิล (ในขณะนั้นไอโฟนยังไม่ได้วางขาย) แม้จะมีประวัติความสำเร็จของผู้ก่อตั้ง และ พนักงานของบริษัทในช่วงแรกบริษัทแอนดรอยด์ได้ดำเนินการอย่างเงียบๆให้เห็นเพียงว่าเป็นบริษัทที่ผลิตระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือ

กูเกิลได้ซื้อกิจการบริษัทแอนดรอยด์ ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เพื่อให้มาเป็นบริษัทย่อยในเครือของกูเกิล โดยบุคคลสำคัญของบริษัทแอนดรอยด์ ทั้ง รูบิน, ไมเนอร์ และ ไวท์ ยังอยู่กับบริษัทหลังจากถูกซื้อกิจการมีผู้คนไม่มากที่รู้จักบริษัทแอนดรอยด์ในช่วงเวลานั้นแต่หลายคนสันนิษฐานว่ากูเกิลกำลังวางแผนที่จะเข้ามาสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือจากการซื้อกิจการครั้งนี้ที่กูเกิล รูบิน นำทีมที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือซึ่งขับเคลื่อนโดยลินุกซ์ เคอร์เนล ในตลาดมือถือของกูเกิล จะมีสัญญากับผู้ให้บริการเครือข่ายต่อมากูเกิลได้เริ่มวางแผนในเรื่องของส่วนประกอบฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และ ผู้ให้บริการเครือข่ายความตั้งใจของกูเกิล ที่จะเข้าสู่ตลาดเครื่องมือสื่อสาร อย่างโทรศัพท์มือถือได้มาถึงช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ตามรายงานของบีบีซี และ วอลล์สตรีตเจอร์นัล ได้ตั้งข้อสังเกตว่ากูเกิลพยายามที่จะผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใช้สำหรับค้นหา และ ใช้โปรแกรมประยุกต์ หรือ แอปพลิเคชันได้ และ กูเกิลได้ทำงานอย่างหนักเพื่อสิ่งนี้ และ มีข่าวลือว่ากูเกิลจะพัฒนาโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อสินค้าของตนเองบางคนก็สันนิษฐานว่ากูเกิลจะกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของโทรศัพท์มือถือ และ ส่งให้กับผู้ผลิต และ ผู้ให้บริการเครือข่ายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 อินฟอร์เมชันวีก (InformationWeek) ร่วมมือกับ เอแวลูเซิร์ฟ (Evalueserve) เพื่อที่จะศึกษารายงานของกูเกิลในการยื่นสิทธิบัตรเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือในวันที่5พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรในด้านเทคโนโลยี ซึ่งรวมไปด้วยกูเกิล กับผู้ผลิตอุปกรณ์เช่น เอชทีซี, โซนี่ และ ซัมซุง รวมไปถึงผู้ให้บริการเครือข่ายเช่น สปรินต์ เน็กเทล และ ทีโมบายล์ และ บริษัทผลิตฮาร์ดแวร์เช่น ควอล์คอมม์ และ เท็กซัสอินสตรูเมนส์ได้เปิดเผยในเป้าหมายเพื่อการพัฒนาโทรศัพท์มือถือที่มีมาตรฐานเปิด ในวันเดียวกัน แอนดรอยด์ได้เปิดตัวสินค้าชิ้นแรก ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ สร้างบนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6 ส่วนโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์คือเอชทีซี ดรีม เปิดตัวเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

 ในปี พ.ศ. 2553 กูเกิลได้เปิดตัว กูเกิล เน็กซัส ซึ่งเป็นซีรีส์ หรือ ตระกูลของอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์โดยไม่ปรับแต่งใดๆ จากผู้ผลิต ซึ่งผลิตโดยผู้ผลิตที่เป็นพาร์ตเนอร์กับกูเกิลโดยเอชทีซี ร่วมมือกับกูเกิล ในการเปิดตัวสมาร์ตโฟนเน็กซัสรุ่นแรก มีชื่อว่า เน็กซัสวัน โดยซีรีส์นี้จะได้รับการอัปเดตรุ่นใหม่ก่อนอุปกรณ์อื่นๆ กูเกิลได้เปิดตัวโทรศัพท์ และ แท็บเล็ตซึ่งเป็นรุ่นเรือธงของแอนดรอยด์ โดยจะใช้ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุดของแอนดรอยด์ ต่อมาในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 แอนดี รูบิน ได้ถูกย้ายจากฝ่ายแอนดรอยด์ไปยังฝ่ายการผลิตใหม่ของกูเกิล ซึ่งตำแหน่งของ รูบิน ถูกแทนที่ด้วยซันดาร์ พิชัย ที่จะทำงานในตำแหน่งหัวหน้าของฝ่ายกูเกิล โครมด้วย ซึ่งเขาเป็นผู้พัฒนาโครมโอเอส

 Android เป็นระบบปฏิบัติการสาหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งประกอบไปด้วยระบบปฏิบัติการ (Operating System) มิดเดิ้ลแวร์ (Middleware) และ โปรแกรมประยุกต์หลัก (Key Application) โดย Android มีพื้นฐานอยู่บนระบบปฏิบัติการลินุกซ์(Linux)ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกในฐานะ Open Source ที่ถูกนามาจาหน่าย หรือ แจกฟรีในลักษณะเป็นแพ็คเกจโดยผู้จัดทาซอฟแวร์จะรวมซอฟแวร์สาหรับใช้งานในด้านอื่นๆเป็นชุดเข้าด้วยกันส่วนในการพัฒนาซอฟแวร์บน Android นั้นจะใช้ภาษาจาวา (JAVA) ในกระพัฒนาระบบงานต่างๆโดยภาษา JAVA เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming Language หรือ OOP) ซึ่งข้อดีของภาษา JAVA คือ การไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มใดๆทำให้ภาษา JAVA มีอิสระในการใช้งานสูงนอกจากลักษณะต่างๆที่กล่าวมานั้น Android ยังมีลักษณะเป็นซอฟแวร์ OpenSource เหมือนกับ Linux ซึ่งส่งเป็นผลดีที่ทาให้ Android ได้รับความนิยมอย่างสูง และ ยังมีการรวมตัวกันของกลุ่มบริษัทพัฒนาอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อสนับสนุน Android อีกด้วยทาให้ Android หรือ Google Android เป็นระบบปฏิบัติการได้รับความตอบรับสูง และ มีการพัฒนา Smartphone และ Tablet ออกมารองรับเป็นจานวนมากเช่น HTC, LG, Motorola, Samsung และ Sony Ericsson เป็นต้นและเนื่องจาก Android เป็น Open Source ทาให้มีการพัฒนา และ สร้าง Android ในฉบับของตนเองขึ้นซึ่งสามารถแบ่ง Android ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

  • Android Open Source Project (AOSP) เป็น Android ประเภทแรกที่ Google เปิดให้สามารถ “ต้นฉบับแบบเปิด” ไปติดตั้งใช้งานในอุปกรณ์ต่างๆโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • Open Handset Mobile (OHM) เป็น Android ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ที่ร่วมกับ Google ในนาม Open Handset Alliances (OHA) ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะพัฒนา Android ในแบบฉบับของตนเองออกมาพร้อมได้รับสิทธิในการมีบริการเสริมต่างๆจาก Google ที่เรียกว่า Google Mobile Service (GMS) ซึ่งเป็นบริการเสริมที่ทาให้ Android มีประสิทธิภาพแต่การจะได้มาซึ่ง GMS นั้นผู้ผลิตอุปกรณ์จะต้องทาการทดสอบระบบ และ ขออนุญาตทาง Google ก่อน
  • Cooking หรือ Customize เป็น Android ที่นักพัฒนานาเอารหัสต้นฉบับจากแหล่งต่างๆมาปรับแต่งในฉบับของต้นเองโดนจะทาการปลด Look สิทธิ์การใช้งานอุปกรณ์หรือ Unlock เครื่องก่อนจึงจะสามารถติดตั้งได้โดย Android ประเภทนี้มีความสามารถมากที่สุดเท่าที่อุปกรณ์เครื่องนั้นๆจะรองรับได้เนื่องจากได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับอุปกรณ์นั้นจากผู้ใช้งาน

ขอขอบพระคุณบทความจาก ปิ่นเลิศ

ก้าวแรก Android 1.0 จนมี โทรศัพท์แอนดรอยด์ ถึงทุกวันนี้

โทรศัพท์แอนดรอยด์

ในปี 2007 Apple ได้เปิดตัว iPhone รุ่นแรก พร้อมระบบปฏิบัติการ iOS ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการพลิกโฉมวงการมือถือให้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล โดยในขณะที่ Apple ได้พัฒนา และ เปิดตัว iPhone ไปแล้วนั้น ทาง Google ยังคงง่วนอยู่กับการพัฒนา Android OS และ วางแผนพัฒนาระบบเพื่อนำมาสู้ศึกกับ Apple และ ในเดือนกันยายน ปี 2008 สมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android OS ก็ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการในชื่อ HTC Dream ที่มาพร้อมบริการจาก Google เช่น Google Maps, YouTube, HTML Browser (พัฒนาเป็น Google Chrome ในเวลาต่อมา) ที่ใช้ระบบ Search Engine ของ Google และ ที่สำคัญก็คือ ระบบ Android Market เวอร์ชันแรกที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Play Store ศูนย์รวมแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ในปัจจุบัน

หากท่านเจอปัญหาเวลาโทรศัพท์ตกน้ำ เรามีบทความที่จะช่วยแก้ปัญหาของท่าน ตอนที่โทรศัพท์ตกน้ำ โดยสามารถเข้าไปอ่านบทความเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ โทรศัพท์ตกน้ำ สามารถคลิกอ่านรายละเอียดและการปฏิบัติตอนโทรศัพท์ตกน้ำได้เลย

ชื่อขนมหวานของ Android แต่ละเวอร์ชันมีตั้งแต่ตอนไหน

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ Android OS ที่ผู้ใช้ทุกคนน่าจะทราบกันดีก็คือ การตั้งชื่อ Android แต่ละเวอร์ชันด้วยชื่อของขนมหวานชนิดต่างๆ แต่ว่าในการเปิดตัว Android 1.0 เวอร์ชันแรกนั้น ไม่ได้มีการตั้งชื่อมาตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นชื่อโค้ดเนมในบริษัท หรือ ชื่อแบบสาธารณะ แต่ Android 1.1 ในเวอร์ชันถัดมา ทีมงานในบริษัทเรียกโค้ดเนมของ Android เวอร์ชันนี้ว่า Petit Four (ชื่อขนมหวานชนิดหนึ่งของฝรั่งเศส) ในขณะที่กำลังพัฒนาระบบ แต่ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อจริงจังมากนัก

Android OS ไม่เคยมีชื่อเรียกจนกระทั่งหลังจากการเปิดตัว Android 1.5 ในเดือนเมษายน ปี 2009 เพียงไม่กี่เดือน Android 1.5 ก็ได้รับการตั้งชื่อว่า Cupcake โดยเครดิตในการตั้งชื่อนี้เป็นของ Ryan Gibson หัวหน้า Project Manager ของ Google ซึ่งเหตุผลว่าทำไมเขาถึงได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นมาก็ยังไม่มีใครทราบจนทุกวันนี้ แต่กระแสการตั้งชื่อเวอร์ชัน Android ด้วยชื่อขนมหวานได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และ ในการเปิดตัว Android 4.4 KitKat ทาง Google ก็ประกาศอย่างเป็นทางการว่า “Since these devices make our lives so sweet, each Android version is named after a dessert”

โลโก้หุ่นกระป๋องตัวเขียวมาจากไหน

สิ่งที่คุ้นหน้าคุ้นตาเหล่าสาวกแอนดรอยด์ทุกคนก็ คือ โลโก้หุ่นเขียว ที่เป็นการผสมผสานดีไซน์ระหว่างหุ่นยนต์ และ แมลง โดยโลโก้นี้เป็นผลงานการออกแบบของ Irina Blok ที่เคยถูกว่าจ้างโดย Google ซึ่ง Blok เคยเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับ The New York Times ในปี 2013 ว่า บรีฟที่ทาง Google ส่งมาสำหรับการออกแบบโลโก้ใหม่นั้น ระบุสั้นๆ เพียงว่า “ทำให้มันเหมือนหุ่นยนต์” และ เธอก็ยังเปิดเผยอีกว่า ต้นฉบับแบบ Final Design นั้นได้แรงบันดาลใจมาจากสัญลักษณ์ห้องน้ำรูปคนเพศชาย/หญิงนั่นเอง

นอกจากนี้ Blok และ Google ได้ตัดสินใจร่วมกันว่า พวกเขาอยากทำให้ Android OS เป็นระบบเปิด ดังนั้น โลโก้ Android ที่เป็นหุ่นยนต์ตัวเขียวนี้สามารถเปิดให้ผู้ใช้ หรือ ใครก็ตามนำเอาไปตกแต่งเพิ่มเติม หรือ ตัดต่ออย่างไรก็ได้ ซึ่งแตกต่างจากแบรนด์ยักษ์ใหญ่รายอื่นๆ ที่มักจะสงวนลิขสิทธิ์สัญลักษณ์, โลโก้ หรือ มาสคอตประจำบริษัทไว้

หากสนใจอ่านบทความเกี่ยวกับการ Block SMS ในโทรศัพท์ระบบ iOS สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ขั้นตอนการบล๊อกเบอร์ SMS ของ iOS ซึ่งจะช่วยให้เราทำการบล๊อก SMS ที่เราไม่ต้องการได้

ขอขอบพระคุณบทความจาก Thaimobile Center


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save