Sunday, 24 November 2024

สมุนไพรไทยแก้ปวดเมื่อย

19 Jun 2021
1107
สมุนไพรไทยแก้ปวดเมื่อย

สมุนไพรไทยแก้ปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนั้นมักเกิดกับกลุ่มคนทำงาน และ กลุ่มผู้สูงอายุซะเป็นส่วนใหญ่ และ การรักษาที่ง่ายที่สุด คือ การกินยา แต่ถ้ามีอาการปวดเมื่อยบ่อยๆ แล้วกินยาทุกครั้งอาจทำให้เกิดการสะสมของสารเคมีในร่างกายได้ ยิ่งการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้ที่ต้องเจอกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทุกวันด้วยแล้ว เราขอสนับสนุนให้หันมาใช้สมุนไพรใกล้ตัวเพื่อเป็นทางเลือกใหม่กันดีกว่า ว่าแต่จะมีสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่รู้จักกันสักกี่ชนิด

สาเหตุอาจเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก หรือ เอ็นกล้ามเนื้อมากเกินไป และ ใช้กล้ามเนื้อกลุ่มนั้นซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดภาวะที่กล้ามเนื้อหดตัว นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดจากกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ การใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือ การที่ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานาน เช่น เวลาใส่เฝือก เป็นต้น โดยอาการของการปวดก็จะมีหลากหลาย เช่น ปวดลึกๆ ปวดร้าว ในผู้ป่วยบางรายก็เป็นเฉพาะเวลาใช้กล้ามเนื้อ บางรายก็ปวดตลอดเวลา

ลักษณะอาการปวดเมื่อย และ สมุนไพรไทยแก้ปวดเมื่อย

อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย มักเกิดมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เกิดจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นอยู่ในอริยาบถในนานๆ เช่น นั้นนาน เดินนาน ยืนนาน ซึ่งเมื่อเลือดลมไหลเวียนไม่ดี ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามแขน ขา เป็นต้น ลักษณะอาการปวดเมื่อย ตามตำราสมุนไพร มีพืชหลายชนิดที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อย ซึ่งลักษณะของสมุนไพรแก้ปวดเมื่อย คือ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของระบบเลือด และ ช่วยผ่อนคลาย

สมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณแก้ปวด แก้เมื่อย จะเป็นพืชที่มีสรรพคุณด้านการกระตุ้นไหลเวียนของเลือด และ ช่วยผ่อนคลาย มักจะมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยเพิ่มความร้อนให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่างๆได้ดี การรักษาอาการปวดเมื่อยควรรักษาด้วยแพทย์ที่มีความเชียวชาญ ซึ่งสมุนไพรสามารถเพียงบรรเทาอาการปวดเมื่อย แต่ลักษณะอาการปวดเมื่อยมีหลายลักษณะที่อันตราย อาจเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังในอนาคต ต้องรับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง สามารถสังเกตุลักษณะอาการปวดเมื่อยที่ควรปรึกษาแพทย์ มีดังนี้

  • ปวดศีรษะเรื้อรัง อาการปวดศีรษะแบบตื้อๆ และ ปวดร้าวลามไปบริเวณท้ายทอย กดเจ็บ มักเกิดจากกล้ามเนื้อทำงานหนักอย่างต่อเนื่องเกิดการสะสมของเสียบริเวณกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อ หดตัว และ ขาดออกซิเจน ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค
  • ปวดคอ บ่า ไหล่ มักจะเกิดจากการนั่งยกไหล่บนโต๊ะทำงานที่ความสูงไม่เหมาะสม ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหดเกร็ง และ ตึงรั้งไปถึงบ่า ไหล่ สะบัก และ แผ่นหลัง อาการลักษณะนี้ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค
  • ปวดหลัง สะโพก และ บั้นเอว อาการเจ็บปวดลักษณะนี้อาจเกิดจากหมอนรองกระดูก จากการนั้งไขว่ห้าง บวกกับการไหลเวียนโลหิต และ ออกซิเจนของร่างกายที่ไม่ดี อาการลักษณะนี้ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค
  • ปวดขาและหัวเข่า มักเกิดจากการนั่งขัดสมาธิ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณขา และ เท้าไม่ดีพอ  ทำให้เป็นเหน็บ ปวดหัวเข่า และ เมื่อยขาเรื้อรัง ส่งผลกระทบให้ข้อเข่าเสื่อมง่าย อาการลักษณะนี้ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค

สาเหตุของอาการปวดเมื่อย

สาเหตุของอาการปวดเมื่อยนั้น สามารถแยกสาเหตุของอาการปวดเมื่อย ได้ 5 สาเหตุ คือ สาเหตุจากกล้ามเนื้อ สาเหตุจากเส้นเอ็น สาเหตุจากเส้นประสาทกดทับ สาเหตุจากข้อกระดูก และ สาเหตุจากเส้นเลือด ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุการปวดเมื่อยมี ดังนี้

  • การปวดเมื่อยสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ หากกล้ามเนื้อของมนุษย์ทำงานหนักมาก ทำให้เกิดอาการล้า และ กล้ามเนื้อเกิดการหด เกร็ง ในการปวดจากปัญหาของกล้ามเนื้อ ที่มีอาการหนักก็จะเป็นกล้ามเนื้อบริเวณหลังศอก และ เอว เกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน การยกของหนักในท่ายกที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง และ เกิดการอักเสบ หรือ ฉีกได้
  • การปวด การเมื่อย ที่มีสาเหตุมาจากเส้นเอ็น อาการปวดจากเส้นเอ็นจะเกิดกับส่วนที่มีการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นบ่อย เช่น หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เป็นต้น สาเหตุของการปวดเอ็น คือ อาการอักเสบของเส้นเอ็น
  • การปวด การเมื่อย จากสาเหตุของเส้นประสาทถูกกดทับ อาการปวดที่มาจากเส้นประสาทจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้าว อาการที่พบบ่อย คือ บริเวณกระดูกคอ สันหลัง นอกจากคอ หลัง และ เอวแล้ว หากเกิดอาการเส้นประสาททับหมอนรองกระดูก จะเกิดอาการปวดหลังมาก อาการปวดจะร้าวไปถึงขา ต้องพักผ่อนมากๆ
  • การปวด สาเหตุจากข้อกระดูก ข้อกระดูกที่ทำให้ปวดมากที่สุด คือ ข้อเข้า เนื่องจากอาการข้อเข่ามีเสื่อมได้ง่าย เนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีการรับแรงกระแทกมากที่สุด การปวดข้อ นั้นอาจะเกิดได้หลายสาเหตุนอกจากการเสื่อมของข้อกระดูก เช่น โรคเก๊าท์ การติดเชื้อที่ข้อกระดูก โรคอื่น เช่น โรครูมาตอยด์ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การควบคุมอาหาร ช่วยลดอาหารปวดข้อได้มาก
  • การปวด การเมื่อย สาเหตุจากเส้นเลือด ความผิดปรกติของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง ทำให้ปวดตัว ลักษณะของการปวดจะแตกต่างกันออกไป ต้อเส้นเลือดตีบ ทำให้เลือดเดินทางไปกล้ามเนื้อลำบาก อาการปวด อาการเมื่อย จะเกิดที่กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ  ถ้าเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ แต่เลือดไปเลี้ยงขาไม่ได้ ทำให้กล้ามเนื้อทำงานต่อไปไม่ไหว เกิดอาการปวด และ อาการปวดจะค่อยๆลดลงเมื่อเลือดเดินทางได้สะดวก

สมุนไพรไทยแก้ปวดเมื่อย

สำหรับสมุนไพรที่สามารถรักษาการปวดได้มีหลายชนิดด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น รางจืด มีงานวิจัยที่ได้ทำการสกัดสาร Rosmarinic acid ออกมาจากใบรางจืดด้วยแอลกอฮอล์ นำมาทดสอบฤทธิ์การลดการอักเสบ และ ฤทธิ์แก้ปวด ด้วยการป้อนให้สัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัด Rosmarinic acid สามารถลดการอักเสบ และ สามารถลดอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่พบผลข้างเคียงในการศึกษา

พิมเสน สมุนไพรไทยแก้ปวดเมื่อย

พิมเสนมีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมเย็น และละลายในน้ำได้ยาก พิมเสนบริสุทธิ์ที่ได้จากการระเหยของยางไม้จะมีรูปร่างหกเหลี่ยม เปราะแตกง่าย สมัยก่อนนิยมนำไปใส่ในหมากพลูสำหรับเคี้ยวเพื่อเพิ่มรสชาติหอมเย็น ส่วนในปัจจุบันนิยมนำพิมเสนมาใช้เป็นยาดม ผสมกับบาล์ม หรือ สเปรย์น้ำสมุนไพรเพื่อใช้งาน

พิมเสนมีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน เมารถ เมาเรือ ปวดศีรษะ หน้ามืด ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยกระตุ้นสมอง กระตุ้นหัวใจ กระตุ้นการตื่นตัวของร่างกาย ช่วยรักษาแผลสดแผลเปื่อยต่างๆ นอกจากนี้ยังลดอาการผิวหนังอักเสบ เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ลดอาการปวดบวมตามผิวหนัง รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน โรคกลากเกลื้อน ช่วยแก้ปวดเมื่อยและคลายเส้นได้เป็นอย่างดี

การบูร สมุนไพรไทยแก้ปวดเมื่อย

การบูรมีลักษณะเป็นเกล็ดผลึกสีขวาแทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูรทั่วทั้งต้น โดยเฉพาะในส่วนของรากและแก่น ผงการบูรเป็นเกล็ดกลมขนาดเล็ก สีขาว แตกง่าย และหากทิ้งโดยไม่เก็บรักษาให้มิดชิดก็สามารถระเหิดได้

การบูรเมื่อนำมาผสมเป็นขี้ผึ้งจะเป็นยาร้อน ใช้เป็นยาทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวด ขัด ยอกตามกล้ามเนื้อ และอาการปวดร้าวตามเส้นเอ็น ไปจนถึงโรคปวดกล้ามเนื้อต่างๆ สามารถนำมาทาถูนวดแก้อาการปวด แก้เคล็ดขัดยอก เคล็ดบวม ข้อเท้าแพลง ข้อบวม ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาทและปวดขัดตามเส้นประสาทได้ดี

สมุนไพรไทยแก้ปวดเมื่อย กระดูกไก่ดำ

กระดูกไก่ดำ (Gendarussa vulgaris Nees.) ชื่อนี้ไม่ใช่กระดูกของไก่ แต่เป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยามากมาย ซึ่งมีงานวิจัยว่า สารสกัดจากใบสามารถลดอาการอักเสบในสัตว์ทดลองได้ ซึ่งตรงกับวิธีการใช้ในภูมิปัญญาที่นำใบมาพอกไว้บริเวณที่มีการบาดเจ็บของกระดูก

ยอ

สำหรับยอ ได้มีงานวิจัยที่ได้มีการรวบรวมสรรพคุณเอาไว้อย่างเป็นระบบ ในบางประเทศใช้ใบนำมาพอกบริเวณตามข้อที่อักเสบ หรือ มีอาการปวด และ ยังสามารถรับประทานเป็นผงแห้งลดอาการปวดได้ดีทีเดียว

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน ถือ เป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออันดับต้นๆ ที่ใช้รักษา และ บรรเทาอาการปวดเมื่อยกันมาตั้งแต่โบราณ ช่วยคลายอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ขัดยอก บำรุงเส้นเอ็นได้ดีมาก ส่วนใหญ่จะเอาเถามาต้มกิน

โคคลาน

โคคลาน มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามข้อ บรรเทาอาการเส้นตึง ครั่นตัว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ รวมทั้งยังช่วยบำรุงเลือด แก้กระษัย แก้โรคผิวหนัง

ดีปลี

ดีปลี นอกจากดีปลีจะเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้เส้นเอ็นได้แล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ได้มากมาย เช่น แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม ช่วยแก้อาการปวดบวม คลายเส้น บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือ แก้อาหารปวดหลัง ปวดเอวได้เป็นอย่างดี

หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว มีสรรพคุณบรรเทาอาการความดันโลหิต และ โรคเบาหวาน และ ยังเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อย หรือ รักษาโรคปวดข้อ ไขข้ออักเสบได้อีกด้วย

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง สามารถใช้รักษาไขข้ออักเสบ ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกตามชายโครง คอเคล็ด มือเคล็ด และ แก้อาการอักเสบ บำรุงร่างกาย

สมุนไพรไทยแก้ปวดเมื่อย ไพล

ไพล ใช้เป็นยาช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม หรือ ข้อเท้าแพลง ช่วยลดอาการอักเสบ ปวดบวม เส้นตึง เมื่อยขบ รวมถึงเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกายด้วย

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียงสมุนไพรไทยชิ้อไพเราะ ส่วนสรรพคุณก็ไม่น้อยหน้าสมุนไพรชนิดอื่น ลักษณะเป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ มีใบย่อยรูปไข่ เป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นช่อสีขาว ผลเป็นฝักแบนเล็กๆ ภายในจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-4 เมล็ด สรรพคุณของเถาวัลย์เปรียงช่วยแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อรักษาอาการปวดหลังและปวดข้อต่างๆ ได้อีกด้วย

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยเท่าไรนัก แต่คนไทยโบราณนิยมนำมาใช้เพื่อรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอกต่างๆ เพชรสังฆาตมีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย เปลือกเถาเรียบเป็นข้อต่อกัน เถาของเพชรสังฆาตมีลักษณะเหมือนกระดูก มีสรรพคุณในการบำรุงกระดูก แก้ปวด แก้อักเสบ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ที่มีส่วนช่วยบำรุงให้เส้นเลือดแข็งแรง

การป้องกันและรักษาหากเกิดอาการปวดเมื่อย

การป้องกัน และ รักษาอาการปวดเมื่อย มีหลักการในการป้องกัน และ รักษาอาการปวดเมื่อย ดังนี้

  • ต้องถนอมใช้งานร่างกาย ควรใช้งานอวัยวะต่างๆอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมส่งผลต่อการบาดเจ็บของร่างกาย
  • เพิ่มศักยภาพของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรงช่วยลดอาการปวดเมือย เมื่อต้องใช้กล้ามเนื้อหนักๆ การฝึกกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ทำให้ข้อนั้นมีความมั่นคงไม่เกิดการบาดเจ็บง่าย ๆ
  • แนวทางการพยาบาล เมื่อมีอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน คือ การหยุดพักร่างกาย ในส่วนที่มีอาการปวดเมื่อย


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save