Thursday, 21 November 2024

สมุนไพรไทยแก้โรคเก๊าท์

17 May 2021
687
สมุนไพรไทยแก้โรคเก๊าท์

สมุนไพรไทยแก้โรคเก๊าท์ เก๊าท์ คือ โรคข้ออักเสบที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) ส่งผลให้กรดยูริกสะสมในร่างกายจนตกผลึกเป็นเกลือยูเรตอันเป็นสาเหตุของข้ออักเสบ บวมแดง และ รู้สึกปวด ซึ่งผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงขึ้น และ บรรเทาอาการปวดตามข้อได้โดยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารที่เหมาะกับสุขภาพของตนเอง และ รับประทานยารักษาภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีงานวิจัยบางส่วนพบว่าการรับประทานสมุนไพร และ อาหารบางชนิด อย่างผักกาดน้ำเล็ก เชอร์รี่ หรือ กาแฟ อาจช่วยลดระดับกรดยูริกในร่างกาย และ บรรเทาอาการปวดตามข้อได้

เชอร์รี่ สมุนไพรไทยแก้โรคเก๊าท์

เชอร์รี่ สมุนไพรไทยแก้โรคเก๊าท์

เชอร์รี่ ผลไม้ที่หลายคนชื่นชอบ และ เชื่อว่าอาจมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเก๊าท์ได้ โดยมีงานวิจัยหนึ่งศึกษาคุณสมบัติของเชอร์รี่ในด้านนี้ด้วยการให้ผู้หญิงสุขภาพดีอายุ 22-40 ปี จำนวน 10 ราย รับประทานเชอร์รี่ 280 กรัมขณะท้องว่าง และ เปรียบเทียบปริมาณยูเรตในเลือด และ ในปัสสาวะช่วงก่อน และ หลังรับประทานเชอร์รี่ ผลปรากฏว่าปริมาณยูเรตในเลือด และ ในปัสสาวะลดลงหลังจากรับประทานเชอร์รี่

สอดคล้องกับอีกหนึ่งงานวิจัยที่ให้อาสาสมัครผู้เป็นโรคเก๊าท์ 633 รายบันทึกข้อมูลถึงวันที่เริ่มมีอาการของโรคเก๊าท์ อย่างอาการปวดข้อที่เกิดขึ้น ลักษณะ และ ความรุนแรงของอาการ ยาที่รับประทาน รวมถึงการรับประทานเชอร์รี่ หรือ สารสกัดจากเชอร์รี่ในช่วง 2 วันก่อนเกิดอาการปวด หลังผ่านไป 1 ปี เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน พบว่าการรับประทานเชอร์รี่ช่วยลดโอกาสการเกิดอาการปวดข้อจากเก๊าท์กำเริบลงได้ 35 เปอร์เซ็นต์ และ การรับประทานเชอร์รี่ควบคู่กับยาอัลโลพูรินอลช่วยลดโอกาสเกิดอาการปวดข้อได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับประทานในลักษณะดังกล่าว

แม้ผลลัพธ์จะเป็นไปในทางบวก แต่ยังไม่สามารถพิสูจน์คุณสมบัติของเชอร์รี่ในด้านนี้ได้อย่างชัดเจนนัก จึงจำเป็นต้องบทสรุปที่แน่ชัดในทางวิทยาศาสตร์ และ การแพทย์ต่อไป ส่วนผู้ที่ต้องการรับประทานเชอร์รี่เพื่อรักษาโรคเก๊าท์ ควรรับประทานแต่ในปริมาณที่พอเหมาะ และ ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด

  • เลือกซื้อเชอร์รี่ที่เก็บอยู่ในที่แห้ง และ เย็น โดยผลเชอร์รี่ควรมีขนาดใหญ่ มีเนื้อแน่น มันวาว และ มีสีเข้ม
  • เก็บเชอร์รี่ไว้ในตู้เย็นตลอดเวลา เพื่อคงความสดใหม่ไว้ให้นานที่สุด
  • ล้างเชอร์รี่ก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง

กาแฟ สมุนไพรไทยแก้โรคเก๊าท์

กาแฟ สมุนไพรไทยแก้โรคเก๊าท์

กาแฟ ในปัจจุบันมีงานวิจัยพบว่าการดื่มกาแฟที่มีสารคาเฟอีนระดับปกติในปริมาณที่พอเหมาะอาจช่วยรักษาโรคเก๊าท์ได้ โดยงานวิจัยหนึ่งได้ศึกษาความสัมพันธ์ของการดื่มกาแฟกับปริมาณกรดยูริกในเลือด เมื่อแบ่งอาสาสมัครที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 14,758 รายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ดื่มกาแฟ กับกลุ่มที่ดื่มชา พบว่ากลุ่มที่ดื่มกาแฟ 4-5 แก้วต่อวัน (โดยทั่วไป กาแฟ 1 แก้วจะมีคาเฟอีนประมาณ 80 มิลลิกรัม) มีระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดื่มกาแฟ 0.26 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ กลุ่มที่ดื่มกาแฟวันละ 6 แก้วขึ้นไปจะมีระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดื่มกาแฟถึง 0.43 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนกลุ่มที่ดื่มชากลับไม่พบความแตกต่างของระดับกรดยูริกแต่อย่างใด จึงคาดว่าคุณสมบัติในการรักษาโรคเก๊าท์ของกาแฟจึงไม่ได้เป็นผลมาจากคาเฟอีน แต่อาจเป็นเพราะสารชนิดอื่นในกาแฟ

ส่วนอีกหนึ่งงานวิจัยที่ศึกษาคุณสมบัติของกาแฟในการป้องกันโรคเก๊าท์ โดยใช้แบบสอบถามกับผู้ชายที่ไม่มีประวัติเป็นโรคเก๊าท์มาก่อนจำนวน 45,869 ราย และ ติดตามผลเป็นเวลา 12 ปี พบว่ากลุ่มที่ดื่มกาแฟทุกวัน ทั้งกาแฟธรรมดา และ กาแฟไร้คาเฟอีน ทำให้มีโอกาสเกิดโรคเก๊าท์ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ดื่มกาแฟ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จำเป็นต้องรอผลลัพธ์งานวิจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อยืนยันประสิทธิภาพ และ ความปลอดภัยของกาแฟก่อนนำมารักษาอาการของโรคเก๊าท์ นอกจากนั้น ผู้ป่วยควรระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะการดื่มกาแฟในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยผู้บริโภคควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ ปัญหาสุขภาพใด ๆ อย่างผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดื่มกาแฟ เพื่อให้แพทย์แนะนำปริมาณการดื่มกาแฟที่เหมาะสมกับสุขภาพของตน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟที่ใส่น้ำตาล ครีมเทียม หรือ ผสมสารปรุงแต่งใด ๆ
  • ศึกษาปริมาณกาแฟที่ไม่ควรบริโภคเกินต่อวัน โดยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดียกเว้นหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ควรได้รับคาเฟอีนมากเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ เท่ากับกาแฟประมาณ 5 แก้ว เพราะคาเฟอีนในกาแฟอาจก่อให้เกิดการเสพติด หากหยุดดื่ม หรือ ลดปริมาณการดื่มกาแฟอย่างฉับพลัน อาจทำให้เกิดภาวะถอนยา เช่น ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า กระวนกระวาย เป็นต้น

ผักกาดน้ำเล็ก

ผักกาดน้ำเล็ก สมุนไพรไทยแก้โรคเก๊าท์

ผักกาดน้ำเล็ก สมุนไพรพื้นบ้านแถบเอเชียตะวันออกที่หลายคนเชื่อว่ามีสรรพคุณรักษาโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคตับ โรคในทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่นำสารสกัดจากผักกาดน้ำเล็กมาทดลองกับหนูที่ถูกฉีดสารเพื่อทำให้มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ผลปรากฏว่าระดับกรดยูริกในร่างกายลดลงอย่างเห็นได้ชัด จึงคาดว่าผักกาดน้ำเล็กอาจมีผลรักษาโรคเก๊าท์ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม งานค้นคว้าดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองในสัตว์เท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีการทดลองกับมนุษย์เพิ่มเติมต่อไป เพื่อยืนยันประสิทธิภาพ และ ความปลอดภัยของสมุนไพรชนิดนี้ก่อนนำมาประยุกต์ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเก๊าท์

ความปลอดภัยในการใช้สมุนไพรรักษาโรคเก๊าท์

แม้ปัจจุบันจะมีงานวิจัยพบว่า สมุนไพร หรือ อาหารบางชนิดอาจช่วยลดระดับกรดยูริกในร่างกาย และ อาจช่วยลดอาการปวดข้อจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ผู้ป่วยก็ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนตัดสินใจรับประทานสมุนไพรหรืออาหารชนิดใด ๆ ก็ตามเพื่อหวังรักษาโรคนี้ นอกจากนั้น การรักษาโรคเก๊าท์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดมักจำเป็นต้องรักษาหลายวิธีร่วมกัน โดยผู้ป่วยควรควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ และ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะกับสุขภาพของตน

การรักษาโรคเก๊าท์ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน

แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อ ป้องกันการเกิดอาการปวด รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นด้วย โดยผู้ป่วยแต่ละรายอาจได้รับยาชนิดที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสุขภาพ และ ดุลยพินิจของแพทย์เป็นหลัก นอกจากนี้ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างอาจช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์ทุเลาลงได้ ดังนี้

  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล สัตว์ปีก เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และ เครื่องดื่มที่มีรสหวานมาก ๆ อย่างน้ำอัดลม
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ และ พยายามรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ขอขอบพระคุณบทความจาก พบแพทย์


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save