Tuesday, 3 December 2024

ลูกชอบตีคนอื่น

ลูกชอบตีคนอื่น

ลูกชอบตีคนอื่น ทำไมลูกชอบตีหน้าพ่อแม่ กับหลายๆคำถาม เคยสงสัยกันไหม เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเด็กเล็กๆ เวลาถูกใจอะไรก็ชอบเอามือตีหน้าแม่ บางทีก็ไม่ใช่หน้าแม่ แต่เป็นใบหน้าของคนที่เขารู้จัก คนที่อยู่ใกล้ ๆ หรือ คนที่อุ้มเขาอยู่ 

ทำไม ลูกชอบตีคนอื่น

เรื่องนี้มีคำตอบ เนื่องจากเด็กมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือมากขึ้น แขนขาขยับได้ดีขึ้นแต่ก็ยังควบคุมได้ไม่ดีนัก และ หลายครั้งที่เด็กทำเด็กจะมองหน้าแม่ ถ้าลูกเล่นกับแม่แล้วแม่ยิ้ม ตรงนี้เองที่จะเป็นตัวบอกเด็กว่าอันนี้แม่ชอบ และ สนุกสนานด้วย จนทำให้เด็กมองเห็นว่าสิ่งที่เขาทำนั้นดี ยิ่งอารมณ์ดีมากๆ ก็ยิ่งชอบใจมาก ก็จะตีหน้าแม่รัวมากๆ เช่นกัน

สิ่งที่คุณแม่จะทำได้ขณะนั้น อาจจะต้องหยุดการเล่น แล้วบอกกับลูกอย่างจริงจังว่าทำอย่างนี้ไม่ได้นะ แม่เจ็บ อาจจะจับมือลูกแล้วมองหน้าเขา พร้อมกับพูดเหตุผลให้เขาฟัง ลูกจะยอมหยุด และ เล่นอย่างอื่นแทน หากครั้งต่อไปลูกยังตีอีก คุณแม่ก็ควรใช้วิธีเดิมในการจัดการ เพื่อให้เขาเกิดการย้ำคิดย้ำทำ และ ไม่ทำอีกในที่สุด 

ซึ่งคุณแม่สามารถฝึกให้ลูกพัฒนากล้ามเนื้อมือได้อย่างเหมาะสม มากกว่าร้องร้องห้ามเวลาลูกตีค่ะ เช่น ให้ลูกใช้มือหยิบข้าวของ ใช้มือจับช้อนตักข้าวเข้าปาก ใช้มือในการเล่นเกม หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น เป็นต้น

เล่นกับลูกยังไงไม่ขัดพัฒนาการ กับการจัดการ ลูกชอบตีคนอื่น

  • เวลาอุ้มลูกแล้วไม่อยากให้ลูกตีหน้า ควรอุ้มแบบหันหน้าออกข้างนอก ระวังอย่างให้ลูกหันหน้าเข้าหาแม่ เพราะลูกจะมีโอกาสตีหน้าแม่ได้
  • เวลาเล่นกับลูก เช่น เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นชี้หน้า ไหนจมูก ไหนปาก คิ้ว ตา ต้องทำท่าทางให้ชัดเจนว่าคุณแม่กำลังชีอวัยวะบนใบหน้าอยู่ หรือ จะจับมือลูกมาชีเองเลยก็ได้ ช่วยลดโอกาสที่ลูกจะตีหน้าแม่ลง 
  • เมื่อถูกลูกตี ห้ามโวยวายเด็ดขาด เพราะเด็กบางคนจะรู้สึกสนุกเมื่อแม่ส่งเสียงร้องดังๆ ยิ่งทำยิ่งสนุก ให้นิ่งเงียบแล้วบอกลูกว่าอย่าตี แล้วกลับไปเล่นในสิ่งที่เราต้องการให้เล่น เช่น กลับไปเล่นจ๊ะเอ๋ กลับไปเล่นชี้จมูก ชี้ตา แต่ถ้าลูกไม่ยอมจะตีอย่างเดียว ให้ลุกขึ้นยืนทันที เพื่อตัดโอกาสที่เด็กจะตีหน้าได้  
  • เมื่อรู้ว่าลูกจะตี ทันทีที่ลูกเอื้อมมือ ขยับมือทำท่าจะตี รู้ให้รีบจับมือลูกไว้เลย 
  • ทุกคนในบ้านต้องทำแบบเดียวกัน ห้ามปล่อยโอกาสให้ลูกตีพี่เลี้ยง หรือ ปู่ย่าตายายได้ และ ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ  

เมื่อลูกตีหน้าแม่ การดุด่าไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล หรือ แม่แต่การตีตอบก็ไม่ควร เพราะนอกจากจะเป็นการปลูกฝังเรื่องความรุนแรงแล้วยังอาจไม่ได้ผลอีกด้วย

4 วิธีปราบ ลูกชอบตีคนอื่น

มีคุณแม่หลายๆ คนที่สงสัยว่า เมื่อลูกอายุประมาณ 1 ขวบกว่าๆ เวลาอุ้มลูกเข้าหาตัวเอง ทำไมลูกชอบตีหัว ตบหน้า ดึงผม คุณพ่อคุณแม่ แม้จะดุ หรือ บอกก็ไม่ฟัง ยิ่งดุยิ่งตี แบบนี้จะต้องแก้ไขอย่างไรดี มาอ่านคำตอบของคุณหมอกัน

เข้าใจลูกวัย 1 ขวบ

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ขวบ ยังมีความเข้าใจหลายอย่างที่ไม่เหมือนผู้ใหญ่ และ มีขีดจำกัด ดังนั้นจึงไม่เข้าใจในการห้าม การดุ หรือ การสั่งสอนของผู้ใหญ่ที่ใช้การพูดเป็นตัวสั่งสอน ฉะนั้นเด็กจะเรียนรู้ผ่านการดูท่าทีปฏิกิริยามากกว่าคำพูดที่แม่พูดออกมา เขาอาจพอเข้าใจว่า อย่า ไม่เอา แต่รายละเอียดคำพูดยาวๆ อาจยังไม่รู้เรื่อง

หลายครั้งที่คุณพ่อ คุณแม่ ปากห้ามแต่หน้ายิ้ม เช่น บอกไม่เอานะ แต่เราก็ให้โอกาสเด็กเล่น จะทำให้เด็กสับสนในความหมายที่ผู้ใหญ่พูดกับเขา สิ่งที่เขามองเห็น สีหน้าท่าทาง แววตาของผู้ใหญ่ แต่คำพูดของผู้ใหญ่อาจจะบอกว่าไม่พอใจ เขาจะเลือกตอบสนองต่อท่าทีที่เขาเห็นมากกว่าคำพูด

วิธีแก้ไข เมื่อลูกตีหน้าคุณพ่อคุณแม่

พ่อแม่ต้องรู้ก่อน

ทำให้ลูกรู้ว่าเมื่อหันหน้าเข้าหากันจะเล่นกัน ไม่มีการตีหน้า ตีหัว หรือ ดึงแว่นตาเรามาเล่น ต้องไม่จะสนับสนุน และ ต้องตัดโอกาสไม่ให้ลูกเล่น ด้วยการต้องระวังตัวให้ดี เพราะลูกมักจะเลือกเล่น หรือ เลือกทำในสิ่งที่เขาชอบ และ ยิ่งทำไปแล้วพ่อแม่โวยวาย เขาอาจเห็นเป็นเรื่องสนุก ดังนั้นพ่อแม่ต้องรู้ก่อนว่านั่งท่านี้เพื่อจะเล่นอะไรกัน

มีท่าทีที่ชัดเจนว่าไม่เล่น

ท่าทางที่แสดงออก ขณะที่ลูกทำ ต้องชัดเจน ไม่จำเป็นต้องดุ ไม่จำเป็นต้องโกรธ แต่ท่าทีต้องชัดเจนว่าไม่ได้ และ เราก็ให้ลูกเล่นในสิ่งที่เราต้องการให้เล่น เช่น เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นชี้จมูก ชี้ตา แต่ถ้าเด็กไม่ยอมเด็กจะตีอย่างเดียว พ่อแม่ก็ต้องลุก ขึ้น ลุกเพื่อตัดโอกาสไม่ให้เด็กได้มีโอกาสมาตี หรือ มาดึงผมเรา

ทุกคนในบ้านต้องเข้าใจตรงกัน

ที่สำคัญทุกคนต้องทำในลักษณะแบบเดียวกัน ไม่ใช่ว่าเด็กสามารถตี หรือ ดึงหัวพี่เลี้ยงได้ ทำกับพ่อไม่ได้ แต่ทำกับแม่ได้ ฉะนั้นท่าทีของทุกคนต้องทำแบบเดียวกัน คือ อย่าเปิดโอกาส และ อย่าปล่อยให้เด็กทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

ทำอย่างสม่ำเสมอ

ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใดก็ตาม จำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ติดต่อกันไประยะเวลานานก่อน ไม่ใช่ว่าวันนี้ทำ พรุ่งนี้ไม่ทำ วันนี้ให้โอกาสดึงแว่นตา ตบหน้า หรือ ตีหัวได้ อีกวันยอม แบบนี้เรียกว่าไม่สม่ำเสมอ จะต้องทำแบบนี้ไปทุกคน และ ในระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน 6 เดือน

อ่านบทควมพัฒนาการลูก 12 เดือน อ่านได้ที่ พัฒนาการลูกวัย 12 เดือน


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save