ยาแก้แพ้ เนื่องจาก IndyDiary.com ได้เดินทางไปทำงาน ต่างจังหวัดบ่อยมาก และ ที่สำคัญ คือ เจอสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย และ อีกทั้งยังมี โรคประจำตัวคือ โรคภูมิแพ้อากาศ ไปเจออากาศเปลี่ยนเข้าบ่อยๆ ก็มีอาการเป็นหวัดได้เหมือนกัน
จากบทความที่แล้ว ได้เขียนถึง การใช้น้ำเกลือจุกแหลมในการ ล้างโพรงจมูก เพื่อให้ลดอาการภูมิแพ้ลงได้ สามารถไปอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ วิธีล้างโพรงจมูก ลดอาการภูมิแพ้ ซึ่งการใช้น้ำเกลือล้าง โพรงจมูก ช่วยลดอาการ ภูมิแพ้ ได้อย่างดี แต่มีบางครั้งที่ เราต้องพึ่งยาเหมือนกัน อาการแพ้ถึงจะบรรเทาลงได้
ยาแก้แพ้ และ อาการแพ้เกิดจากอะไร
อาการแพ้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมที่สามารถกระตุ้นให้เซลล์หลั่งฮีสตามีน (histamines) ออกมาซึ่ง ฮีสตามีนเป็นสารที่มีอยู่ในเซลล์ทั่วร่างกาย ทั้งระบบประสาท ทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อฮีสตามีนถูกหลั่งออกมาจะทำให้เกิดอาการคัน ผื่นแดงที่ผิวหนัง อาจมีหลอดลมตีบ หายใจลำบาก ที่ทางเดินหายใจ และถ้าไปออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหารจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ยาแก้แพ้ ที่ใช้บ่อย
ยากแก้แพ้ที่ห้อ Cetirizine [hydrochloride] เป็นยาแก้แพ้ที่ทางอินดี้ใช้บ่อยที่สุด เลยนนำข้อมูลของยายี่ห้อนี้มาแชร์
เป็นยาแก้แพ้ที่ออกฤทธิ์ที่ H1-Receptor ยานี้เป็นยาต้านฮิสตามีนใช้รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ เนื่องจากโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล เยื่อบุตาอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้ อาการคันและลมพิษ
ข้อบ่งชี้ในการใช้ ยาแก้แพ้
- ยานี้เป็นสารต้านฮิสตามีน ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการไข้ละอองฟาง Hey fever (มีสาเหตุจากการแพ้สารพวกละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง หรือสารอื่นในอากาศ) ได้แก่ จาม น้ำมูกไหล ตาแดง คันที่ตาและน้ำตาไหล คันจมูกและลำคอ
- นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัน และผิวหนังแดงที่เกิดจากผื่นลมพิษ แต่ไม่สามารถป้องกันอาการผื่นลมพิษหรือการแพ้อื่นๆ ทางผิวหนังได้
- โรคภูมิแพ้ Seasonal allergic rhinitis
- ลมพิษ
ขนาดและวิธีใช้ ยาแก้แพ้
- ผู้ใหญ่และเด็กมากว่า 12 ปีให้ขนาด 5-10 มิลิกรัม วันละครั้ง
- เด็กอายุ 6-11 ปีให้ขนาด 5 มิลิกรัมต่อวัน
- ผู้ป่วยไตวายให้ครั้ง 2.5 มิลิกรัมวันละครั้ง
วิธีการใช้ยา
- ยานี้อยู่ในรูปแบบยาเม็ดใช้สำหรับรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละครั้ง ห้ามรับประทานเกินแพทย์สั่ง
- รับประทานยานี้ได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร แต่ควรรับประทานยาในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน
- ต้องรับประทานยาหลายวันก่อนที่อาการจะดีขึ้น
- ห้ามใช้ยานี้รักษาตุ่มผื่นลมพิษซึ่งมีการฟกช้ำ พุพอง มีสีผิดปกติ หรือผื่นลมพิษที่ไม่มีอาการคัน และแจ้งให้แพทย์ทราบหากท่านมีอาการผื่นดังกล่าว
- หยุดใช้ยานี้หากอาการผื่นลมพิษไม่ดีขึ้นภายใน 3 วันหลังจากเริ่มใช้ยา หรือในกรณีที่ผื่นลมพิษมีอาการยาวนานมากกว่า 6 สัปดาห์ และควรปรึกษาแพทย์ถึงสาเหตุของผื่นดังกล่าว
รูปแบบของยา
- ชนิดเม็ดขนาด 10 มิลิกรัม
- ชนิดน้ำขนาด 1 มิลิกรัม/1ml
- การรับประทานยาเกินขนาด เท่าที่มีรายงานพบเพียงมีอาการง่วงซึมเท่านั้น
ข้อห้ามใช้
- ผู้ที่เคยแพ้ยานี้
ข้อควรจะระวัง
ถึงแม้ยานี้จะจัดเป็นยาต้านฮิสตามีนชนิดไม่ทำให้ง่วง แต่ในบางคนอาจเกิดอาการง่วงซึมได้ จึงควรระมัดระวังเมื่อขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
- ยานี้อาจจะทำให้กิดอาการง่วงในผู้ป่วยบางคนดังนั้นไม่ควรจะขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
- ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับยาที่กดการทำงานของสมอง เช่นยานอนหลับ หรือสุรา
- จาการทดลองในสัตว์ยานี้ไม่ก่อให้เกิดผลเสีย แต่การให้ยาในคนตั้งครรภ์ยังไม่มีรายงานยืนยันความปลอดภัย
- ยานี้ขับออกทางน้ำนม ดังนั้นไม่แนะนำให้ในคนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- สามารถใช้ได้ดีในผู้สูงอายุ
ผลข้างเคียงของยา
อากาผลข้างเคียงที่ต้องหยุดยาและพบแพทย์ทันที
อาการที่ต้องพบแพทย์โดยรีบด่วนได้แก่อาการของแพ้ยาอย่างรุนแรงได้แก่ มีผื่นขึ้น หายใจลำบาก บวมใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น คอ
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ง่วงซึม มึนงง อ่อนเพลียหรือเหนื่อยมาก ปากแห้ง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง ปวดท้อง
ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์
สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท B
การใช้ยานี้ร่วมกับยาชนิดอื่น
- ยาชนิดนี้มีความปลอดภัยเมื่อต้องให้ยาร่วมกับยาชนิดอื่น
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
- ประวัติแพ้ยา cetrizine hydroxyzine หรือยาอื่นๆ
- ใช้หรือกำลังจะใช้ ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร
- มีหรือเคยมีโรคตับหรือโรคไต
- ตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
สรุปยาแก้แพ้
ยาแก้แพ้หรือ ยาต้านฮีสตามีน เป็นยาที่หาซื้อได้ง่าย ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ทราบความแตกต่างของยาแก้แพ้ จึงมักเลือกยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ง่วงนอน ในการบรรเทาอาการอาการจาม คันจมูก นํ้ามูกไหล จากข้อมูลข้างต้น ยาแก้แพ้ทั้งสองกลุ่มใช้บรรเทาอาการแพ้ที่เกิดจากการหลั่งฮีสตามีนได้คล้ายกัน อาการที่เกิดจากการหลั่งฮีสตามีนเช่น อาการจาม คันจมูก คันตา ผื่น อาการบวมแดงที่เยื่อบุและผิวหนัง แต่ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ทำให้ง่วงซึมสามารถลดนํ้ามูก อาการเมารถ เมาเรือ ได้ดีกว่า กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม สำหรับ คีโตติเฟน และ ออกซาโทไมด์ นอกจากจะสามารถใช้ในการรักษาอาการแพ้ได้แล้วยังสามารถป้องกันอาการแพ้ได้ แต่ต้องใช้ยาอย่างสมํ่าเสมอก่อนสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ส่วนอาการง่วงซึม จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า จะพบในยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ทำให้ง่วงซึม ได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม และยาแก้แพ้แต่ละกลุ่มมีข้อควรระวังและข้อห้ามใช้แตกต่างกัน เพื่อความปลอดภัยจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาอาการแพ้ที่ดีที่สุดคือ สังเกตว่าอาการแพ้เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสหรือรับประทานสิ่งใด เมื่อทราบแล้วควรกำจัดหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้น เช่นหากสารก่อภูมิแพ้คือแมลงสาบ ควรใช้กับดักที่มียาฆ่าแมลงสาบซึ่งเป็นวิธีกำจัดแมลงสาบที่ได้ผลดีที่สุดในการลดจำนวนและปริมาณสารก่อภูมิแพ้