Thursday, 21 November 2024

เตรียมตัวก่อนท้อง ยาบํารุงครรภ์โฟลิค

ยาบํารุงครรภ์โฟลิค ก่อนตั้งท้องลูกน้อย อย่างแรกที่คุณแม่ คุณพ่อ มือใหม่ มือเก่าควรทำคือ การเตรียมความพร้อมด้วยการกิน ยาบำรุงครรภ์โฟลิค ซึ่งในบทความที่แล้วทาง Indydiary ได้เล่าประสบการณ์ตอนท้อง และมีการกล่าวถึง วิตามินโฟลิค อ่านเพิ่มเติม เล่าประสบการณ์ท้องลูกคนแรก วันนี้ทาง Indydiary จะแนะนำ ยาบำรุงครรภ์โฟลิค

ยาบํารุงครรภ์โฟลิค

กรดโฟลิก (Folic Acid) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ โฟเลต (Folate) คือ วิตามินบี 9 จัดเป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายในน้ำ กรดโฟลิก เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ และมีบทบาทในการสร้างสารคาร์บอน ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของดีเอ็นเอในการถ่ายทอดคำสั่งทางพันธุกรรม เพื่อสร้างโปรตีนชนิดต่างๆ รวมทั้งการควบคุมการเจริญเติบโต และ พัฒนาการของทารก เหมาะเป็น ยาบำรุงครรภ์โฟลิค

ทำไมต้องกินโฟลิก ? ยาบํารุงครรภ์โฟลิค

ภาวะพร่องกรดโฟลิก (folic acid deficiency) หรือ ร่างกายได้รับกรดโฟลิกไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุสำคัญที่สำคัญที่ทำให้ หญิงตั้งครรภ์มีทารกเป็นหลอดประสาทไม่ปิด หรือพิการแต่กำเนิด ภาวะหลอดประสาทไม่ปิดสามารถป้องกันได้ โดยกินวิตามินโฟเลต หรือ กรดโฟลิก แต่เนื่องจากพัฒนาการของสมอง และระบบประสาทเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการปฏิสนธิ โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการปฏิสนธิ (วันที่ 21-28) ซึ่งปกติกว่าที่แม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ โดยสังเกตจากประจำเดือนไม่มาตามกำหนด แล้วจึงไปพบแพทย์ หรือไปฝากครรภ์ก็เข้าสัปดาห์ที่ 3 แล้ว การเริ่มกินกรดโฟลิกในระยะนี้จึงอาจช้าไป

ดังนั้นหากจะให้ได้ผลจริง ๆ ผู้หญิงควรต้องเริ่มกินกรดโฟลิก ก่อนการตั้งครรภ์ประมาณ 1-3 เดือนเป็นอย่างน้อย หรือ หากยังไม่มีลูกก็สามารถกินล่วงหน้ารอไว้ได้ ไม่อันตราย แต่ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม

ยาบํารุงครรภ์โฟลิค ช่วยลดโอกาสเสี่ยงทารกในครรภ์พิการ

  • ลดความพิการแต่กำเนิดโดยรวมลง
  • ลดโอกาสการเกิดความพิการแต่กำเนิดของหลอดประสาท
  • ลดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดลงได้
  • ลดความผิดปกติของแขนขาลงไปได้ประมาณ 50%
  • ลดความพิการของระบบทางเดินปัสสาวะ และ โรคไม่มีรูทวารหนัก (imperforate anus)
  • ลดโอกาสการเกิดปากแหว่งลงไปได้ประมาณ 1ใน 3
  • ลดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะการแท้งบุตร และภาวะครรภ์เป็นพิษด้วย

คนท้องควรกิน ยาบํารุงครรภ์โฟลิค?

เริ่มกินโฟลิก ก่อนตั้งครรภ์ อย่ารอจนตั้งครรภ์ หากวางแผนตั้งครรภ์ ควรเริ่มกินโฟลิกได้เลย อย่างน้อย 1-3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ จนถึง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือจะกินจนครบกำหนดคลอด ยาวไปถึงตอนให้นมบุตรได้เลยก็ได้ เพราะเมื่อต้องให้นมลูก โฟลิกก็มีความสำคัญ และโฟลิกสามารถกินได้ ไม่เป็นอันตราย เพียงแต่กินในปริมาณที่พอดีในแต่ละวัน

กินโฟลิก คนท้องกินเท่าไหร่ดี

– คนท้องทั่วไป ควรเสริมด้วยวิตามิน หรือ กรดโฟลิกแบบเม็ด โดยคนท้อง หญิงตั้งครรภ์ ควรกินวิตามินโฟลิกให้ได้อย่างน้อย 0.4 มิลลิกรัม ต่อวัน ทั้งนี้ควรกินไม่ให้เกิน 1 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากร่างกายได้รับกรดโฟลิกมากเกินไป กรดโฟลิกนี้จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 12 ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เป็นโรคโลหิตจางได้

– คนท้องที่มีประวัติลูกพิการแต่กำเนิด สำหรับคนท้องที่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์ ครั้งก่อน มีทารกเป็นหลอดประสาทไม่ปิด ควรได้รับโฟเลต หรือ กรดโฟลิก 4 มิลลิกรัม ต่อวัน หรือเพิ่มปริมาณขึ้น 10 เท่า โดยให้ก่อนตั้งครรภ์ 1 – 3 เดือน (ความสำคัญของโฟเลตในการป้องกันความพิการแต่กำเนิด. โดย ศ.เกียรติคุณ พรสวรรค์ วสันต์) เพื่อป้องกันทารกพิการแต่กำเนิด แต่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ไม่ควรกินโฟลิกเพิ่มขนาดด้วยตัวเอง

ประเภทของ “วิตามินโฟลิก” ที่วางจำหน่าย มี 2 รูปแบบ

1.วิตามินโฟลิกเดี่ยว ๆ เป็นวิตามินโฟลิกอย่างเดียว ขนาด 5 มิลลิกรัม หาได้ตามร้านขายยาทั่วไป
2.วิตามินรวมโฟลิก หรือ วิตามินคนท้อง ซึ่งเป็นวิตามินโฟลิก ที่ผสมรวมอยู่กับวิตามินอื่น ๆ ด้วย เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน ฯลฯ เมื่อไปฝากครรภ์คุณหมอมักจะจ่ายยา หรือ วิตามินคนท้อง วิตามินโฟลิกให้ด้วย

อาหารที่มีโฟลิกสูง

นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ควรกินอาหารที่มีโฟลิกสูงเป็นประจำ อาหารที่มีโฟลิกสูง ได้แก่ กุยช่าย ตำลึง ผักกาดหอม กะหล่ำมะเขือเทศ บรอคโคลี่ คึ่นช่าย ตับไก่ วัว หมู ส้ม องุ่น สตรอเบอรี่ เป็นต้น

ทิปส์ สำหรับการกินโฟลิกของคนท้อง

– กรดโฟลิก ช่วยลดโอกาสเกิดความพิการแต่กำเนิดของทารก แต่ไม่ได้แปลว่า ถ้าไม่ได้กินแล้วลูกจะพิการเสมอไป ดังนั้นหากกินช้าไป หรือไม่ได้กินก็ไม่ต้องกังวลเกินไป

– โฟลิก สามารถกินได้ตลอดช่วงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร หรือสามารถกินรอไว้ได้เลย ถึงแม้จะไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ ไม่อันตราย

 การกินโฟลิก ไม่ควรกินพร้อมกับยาลดกรด เพราะยาจะขัดขวางการดูดซึม

– แม้ไม่ได้วางแผนมีลูก หรือไม่ได้ตั้งครรภ์ก็กินได้ เพราะโฟลิกช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรค NCDs ได้แก่ เบาหวาน ความดัน หัวใจ ด้วย

ขอขอบพระคุณบทความจาก ชีวิตดีดี GoodLife

เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save