พัฒนาการ ทารก 9 เดือน วัยแห่งการตั้งไข่ล้มต้มไข่กิน คุณจะรู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหว และ พยายามไปนู่นนี่ด้วยตัวเอง ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่ ไม่สามารถปล่อยสายตาไปจากลูกได้เลย เพราะเขาจะทำตามใจตนเองมากขึ้น และ มุ่งไปทางสิ่งที่เขาชอบทันที
พัฒนาการทางร่างกาย และ การส่งเสริม พัฒนาการ ทารก 9 เดือน
ลูกเริ่มคลานมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว เวลานี้คือเวลาที่ลูกจะเริ่มตั้งไข่ และ พร้อมที่จะยืนได้เพียงลำพัง แต่การก้าวเดินยังไม่มั่นคงนัก โดยมากจะเป็นการยืนนิ่งๆ ย่อตัว และ นั่งลงมากกว่า ลูกจะมีความสุขมากที่ตัวเองยืนได้แล้ว และ นอกเหนือจากการยืนลูกจะชอบการเหนี่ยว และ การดึงเพื่อเป็นหลักให้ตนเอง ดังนั้นจึงเป็นช่วงพัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะบันได ตู้ และ ประตู อ่านเพิ่มเติม พัฒนาการ ทารก 8 เดือน
พัฒนาการทางร่างกายของทารกวัย 9 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- คลานหมุนไปรอบๆ ได้ หรือ อาจคลานขึ้นบันไดได้
- คลานโดยแขนขาเหยียดตรงได้ ถือของเล่นด้วยมือหนึ่งขณะคลานไปด้วยได้ จับให้ยืนได้ บางคนยืนค้างได้โดยลำพังครู่หนึ่งได้
- ลุกยืนได้โดยไม่ต้องเกาะเครื่องเรือน นั่งเก้าอี้ได้ดี นั่งหลังตรงโดยไม่ล้ม นั่งลงจากท่ายืนได้ สนุกกับการใช้นิ้วชี้ แคะ และ แหย่รู
- ใช้นิ้วชี้ และ นิ้วโป้งหยิบกระดุม หรือ เชือกได้
- ต่อบล๊อกได้ 2 ชั้น
- ถือขนมปัง หรือ ผลไม้เข้าปากได้เอง
- ถือขวดนมได้เอง และ ดื่มนมจากถ้วยที่มีหูจับได้
พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และ การส่งเสริม พัฒนาการ ทารก 9 เดือน
พัฒนาการของเด็กวัย 9 เดือนนี้จะแปลกไปสักนิด เพราะลูกจะเริ่มกลัวโดยไม่มีเหตุผล หรือจากที่เคยไม่กลัวกลับกลายเป็นกลัว ทำให้คุณพ่อ คุณแม่ ทำตัวไม่ถูกเหมือนกัน โดยเฉพาะการกลัวความสูงที่ค่อนข้างขัดแย้งกัน เพราะว่าเจ้าหนูชอบปีน แต่ก็จะร้องเพราะตนเองกลัวความสูง หรือ กลัวสิ่งของที่เคลื่อนไหวไปมา หากลูกมีอาการกลัวคุณควรอยู่ใกล้ๆ กอดเขาแน่นๆ และ บอกว่ามันไม่มีอะไร อาจจะชวนลูกลองจับสัมผัสสิ่งที่ลูกกลัว เพื่อให้ลูกรู้ว่ามันไม่มีอะไรจะสามารถทำอะไรเข้าได้ ค่อยๆ ให้ลูกเอาชนะความกลัวด้วยตัวเขาเอง คุณพ่อคุณแม่จะต้องแยกแยะให้ดีๆ เพราะบางครั้งการที่ลูกร้องไห้อาจจะไม่ได้หมายถึงความกลัวเสมอไป อาจจะเป็นเพราะความตกใจ หรือ เพราะความไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรจะไขปัญหาด้วยการกอด และ ปลอบประโลม พร้อมหาคำตอบไปพร้อมกับเขา แล้วลูกก็จะมีความกลัวลดน้อยลง วัยนี้ลูกจะมีความมั่นคงทางจิตใจบ้างแล้ว คุณอาจจะสังเกตได้จากการที่ลูกต้องการทำอะไรด้วยตนเอง ทำบางสิ่งซ้ำๆ ต้องการพึ่งตนเองโดยเอาประสบการณ์เก่าเข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้วย
พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจของทารกวัย 9 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- กลัวความสูง กลัวการอาบน้ำ ทั้งๆ ที่ชอบเล่นน้ำ
- พัฒนาการทางภาษา และ การส่งเสริม
- ลูกมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาได้สูงขึ้นมาก ซึ่งการเรียนรู้หลักมาจากการเลียนแบบน้ำเสียง และ คำศัพท์ต่างๆ จากคนใกล้ชิด ดังนั้นหากอยากให้ลูกพูดเร็ว และ พูดชัด คุณพ่อ คุณแม่ ก็ควรพูดให้ชัดเจน และ พูดกับลูกเป็นประโยคสั้นๆ เพื่อให้เขาเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ก็จะช่วยลูกฝึกพัฒนาการด้านภาษาแล้วเช่นกัน
- พัฒนาการทางภาษาของทารกวัย 9 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- จับอารมณ์ตามระดับเสียงของผู้อื่น บอกอารมณ์ และ ความต้องการด้วยการใช้เสียง
- เลียนแบบการส่งเสียงโดยใช้ลิ้นทำเสียง
- เริ่มใช้คำที่มีความหมาย อย่างเช่น ปาปา มาม๊า
- อาจจะพูดได้ 1-2 พยางค์ซ้ำๆ กัน ไม่ สามารถเข้าใจ และ ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ อย่างเช่น เอาตุ๊กตามาให้หน่อย
พัฒนาการทางสังคม และ การส่งเสริมพัฒนาการ ทารก 9 เดือน
ด้วยร่างกายที่สามารถขยับเขยื้อนตนเองได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ลูกน้อยยังชื่นชอบการเข้าสังคม ดังนั้นหากทุกคนตื่นเต้นที่ลูกสามารถตั้งไข่ได้ ส่งเสียงเชียร์เวลาลูกปีน ก็จะทำให้ลูกมีกำลังใจในการฝึกฝนพัฒนาการของตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ
พัฒนาการทางสังคมของทารกวัย 9 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- ชอบเป็นคนเด่นในบ้าน ถ้าได้รับเสียงปรบมือ หรือ คำชมเชยจะทำซ้ำใหม่อีกครั้ง
- เรียนรู้การป้องกันตนเอง และ แสดงความเป็นเจ้าของ อย่างเช่น กรณีการถูกแย่งของ มีความอ่อนไหวกับสังคมภายนอก อย่างเช่น ถ้าเห็นเด็กอื่นร้องไห้ก็มักจะร้องไห้ตาม
- ให้ความสำคัญกับอารมณ์ และ ท่าทีผู้อื่น รวมทั้งจะสร้างวิธีเล่นกับคนอื่นขึ้นเอง
พัฒนาการทางสมอง และ การส่งเสริมพัฒนาการ ทารก 9 เดือน
ลูกจะลำดับความสำคัญ และ เรียงเหตุการก่อนหลังได้ พร้อมกับเชื่อมโยงการเล่นระหว่างสิ่งของต่างๆ ได้อย่างดีขึ้น สังเกตได้ว่าลูกจะชอบของเล่นที่มีการทำงานของมิติ อย่างเช่น บล๊อกไม้ เล่นซ่อนของ หรือ แม้แต่การหยิบของลงภาชนะที่ ลูกจะเพลิดเพลินยิ่งนัก
นอกจากนี้สมองส่วนซีรีเบลลัม (Cerebellum) ยังมีการพัฒนามากขึ้น โดยสมองส่วนนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาสมดุล การทรงตัว และ ช่วยให้กล้ามเนื้อของเด็กทำงานสัมพันธ์กันในการควบคุมการเคลื่อนไหว สมองส่วนนี้เองที่เมื่อพัฒนาไปด้วยดีจะช่วยให้เด็กสามารถเปลี่ยนจากคว่ำไป เป็นคลาน และ จากคลานไปเป็นเดินได้ และ ประสานการเคลื่อนไหวอย่างอัตโนมัติ รวมถึงไขว่คว้าสิ่งของต่างๆ ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
พัฒนาการทางสมองของทารกวัย 9 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- สนใจมิติของสิ่งของ หากหยิบของชิ้นเล็กจะใช้ 2 นิ้วคือนิ้วชี้ และ นิ้วโป้ง แต่ถ้าของชิ้นนั้นหนักจะใช้สองมือยก
- หาของที่คนแอบเอาไปซ่อนไว้
- เบื่อการเล่น หรือ กระตุ้นซ้ำซาก
- จำเกมที่เคยเล่นได้ จะทิ้งของสิ่งหนึ่ง หรือ ใช้ปากคาบแทน เพื่อหยิบของชิ้นที่ 3
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก รักลูก