นาง สงกรานต์ ปี 2564 นางสงกรานต์นั้นเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือ ท้าวมหาสงกรานต์ และ เป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ 1 ในทั้งหมด 6 ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือ ในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด 7 องค์
นาง สงกรานต์ ปี 2564 รู้จักนางสงกรานต์ทั้ง 7 องค์
นางสงกรานต์ทุงษะเทวี
ทุงษะเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ อุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ
นางสงกรานต์โคราคะเทวี
โคราคะเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทัดดอกปีป มีมุกดาหาร (ไข่มุก) เป็นเครื่องประดับภักษาหาร คือ เตละ (น้ำมัน) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์ (เสือ)
นางสงกรานต์รากษสเทวี
รากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมรา (หิน) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ โลหิต (เลือด) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ (หมู)
นางสงกรานต์มณฑาเทวี
มัณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ นม และ เนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)
นางสงกรานต์กิริณีเทวี
กิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกมณฑา(ยี่หุบ) มีมรกตเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ ถั่วและงา อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือปืน เสด็จไสยาสน์เหนือปฏษฎางค์ชสาร (ช้าง)
นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ กล้วย และ น้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)
นางสงกรานต์มโหทรเทวี
มโหทรเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ เนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)
นาง สงกรานต์ ปี 2564 ทรงนามว่า รากษสเทวี
ประกาศสงกรานต์ปีฉลู 2564 นางสงกรานต์ทรงนาม “รากษสเทวี” เสด็จไสยาสน์หลับเนตรเหนือหลังวราหะ เริ่มเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ 16 เมษายน ซึ่งทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จัดทำภาพวาดนางสงกรานต์ ประจำปี 2564 พร้อมเผยแพร่ประกาศสงกรานต์ของฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ดังนี้ ปีฉลู (มนุษย์ผู้ชาย ธาตุดิน) ตรีศก จุลศักราช 1383 ทางจันทรคติ เป็น อธิกมาส ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน วันที่ 14 เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 เวลา 3 นาฬิกา 39 นาที 40 วินาที
นางสงกรานต์ ทรงนามว่า รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมราภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูลพระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาเหนือหลังวราหะ เป็นพาหนะ วันที่ 16 เมษายน เวลา 07 นาฬิกา 37 นาที 12 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1383 ปีนี้ วันอาทิตย์เป็นธงชัย วันจันทร์เป็นอธิบดี วันเสาร์เป็นอุบาทว์ วันพุธเป็นโลกาวินาศ
โดยวันเสาร์เป็นอธิบดีฝนบันดาลให้ฝนตก 400 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 40 ห่า ตกในมหาสมุทร 80 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 120 ห่า ตกในเขาจักรวาล 160 ห่า นาคให้น้ำ 6 ตัว เกณฑ์ธัญญาหารได้เศษ ๐ ชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล 1 ส่วน เสีย 9 ส่วน มหาชนร้อนใจด้วยอาหารแลเกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีอาโป (น้ำ) น้ำมาก
นางสงกรานต์ มีตัวตนจริงหรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีหลายคนสงสัยว่า “นางสงกรานต์” มีตัวตนจริงหรือไม่? คำตอบคือ นางสงกรานต์ไม่ได้มีตัวตนจริง แต่เป็นเพียงคติความเชื่อที่ปรากฏอยู่ใน “ตำนานสงกรานต์” ซึ่งเป็นอุบายของคนโบราณให้สามารถจดจำวันปีใหม่ไทย หรือ วันมหาสงกรานต์ได้ง่าย โดยสมมติให้นางสงกรานต์ทั้ง 7 คน มาเทียบเคียงกับวันแต่ละวันในหนึ่งสัปดาห์นั่นเอง
นาง สงกรานต์ ปี 2564 กับความเชื่อเกี่ยวกับพรหมโลก
มีจารึกที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม บอกเล่าเกี่ยวกับตำนานของ “นางสงกรานต์” ทั้ง 7 คนเอาไว้ว่า นางสงกรานต์มีความเกี่ยวข้องกับ “ท้าวกบิลพรหม” หรือ “ท้าวมหาพรหม” เทพผู้สถิตอยู่บนพรหมโลกชั้นที่ 3 มีหน้าที่สอดส่องดูแลมวลมนุษย์ และ สรรพสัตว์ทั้งหลาย และ พระองค์ทรงมีพระธิดา 7 องค์ ซึ่งก็คือนางสงกรานต์ทั้ง 7 คนอย่างที่บอกไปข้างต้น
ตามตำนานเล่าว่าครั้งหนึ่ง “ท้าวกบิลพรหม” เกิดอยากทดสอบปัญญาของมนุษย์หนุ่มผู้หนึ่งนามว่า “ธรรมบาลกุมาร” (ผู้เป็นบุตรของเศรษฐี ที่พระอินทร์ประทานให้ลงมาจุติ) จึงเสด็จลงมาจากสวรรค์เพื่อมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อว่า “ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และ ตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน”
โดยมีเงื่อนไขว่าหากตอบไม่ได้ ท้าวกบิลพรหมจะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย แต่ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ ท้าวกบิลพรหมก็จะตัดเศียรของตนเพื่อบูชาแก่กุมาร ด้านธรรมบาลกุมารขอเวลา 7 วันเพื่อไปหาคำตอบ
ธรรมบาลกุมารคิดหาคำตอบอยู่นานก็คิดไม่ออก จนล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารบังเอิญได้ยินนกอินทรีสองผัวเมียคุยกัน เกี่ยวกับเรื่องคำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามตนเอง ซึ่งนกอินทรีเผลอเฉลยคำตอบออกมา ธรรมบาลกุมารพอได้ฟังก็จดจำคำตอบนั้นไว้ วันถัดมาซึ่งครบกำหนด 7 วัน ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้มาไปตอบท้าวกบิลพรหมได้ถูกต้อง ดังนั้นท้าวกบิลพรหมจึงต้องทำตามคำพูดของตนที่ลั่นวาจาไว้ นั่นคือตัดเศียรของตนเอง
นาง สงกรานต์ ปี 2564 ทำไมต้องผลัดกันในแต่ละปี
หลังจากที่ “ท้าวกบิลพรหม” รู้ตัวว่าจะต้องตาย จึงตรัสเรียกธิดาทั้ง 7 องค์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่าพ่อจะตัดเศียรตัวเองเพื่อบูชาธรรมบาลกุมาร แต่เศียรของพ่อนี้หากตั้งไว้บนแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก หากโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง หากนำไปทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง ดังนั้นจึงให้ธิดาทั้ง 7 ต้องหาพานมารองรับเศียรของตน ไม่ให้ตกลงบนพื้นโลก หรือ พื้นน้ำ หรือ บนอากาศ
จากนั้นมาทุกๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธุลี ณ เขาไกรลาศ แต่ละปีนางสงกรานต์จึงต้องมาทำหน้าที่นี้ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์นั่นเอง หากสนใจอ่านบทความเกี่ยวกับ พระสีวลี สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่ คาถาบูชาพระสีวลีเรียกทรัพย์