Thursday, 21 November 2024

แก้ปัญหาลูกชอบดูดนิ้ว

แก้ปัญหาลูกชอบดูดนิ้ว

แก้ปัญหาลูกชอบดูดนิ้ว สังเกตว่าเด็กวัย 1-3 ปี มักจะมีปัญหา หรือ พฤติกรรมชอบดูดนิ้ว ความจริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเมื่อโตขึ้นเด็กก็จะหยุดไปเอง หากช่วงที่ติดนี้กลับสร้างปัญหามากมาย เช่น นิ้วลูกจะเป็นเนื้อปูด แล้วฟันก็จะเหยิน และ ยิ่งจะมีผลต่อขากรรไกร รวมถึงการออกเสียงอีกด้วย ซึ่งพ่อแม่ต้องมีวิธีจัดการกันหน่อยแล้ว

สารบัญ

สาเหตุที่ลูกชอบดูดนิ้ว เพื่อเป็นแนวทาง แก้ปัญหาลูกชอบดูดนิ้ว

ลูกน้อยรู้สึกสบายใจ และ มีอารมณ์ผ่อนคลาย

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า อาการอมนิ้ว หรือ ดูดนิ้วมือของเจ้าตัวเล็ก ถือเป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดจากการได้ดูดบางสิ่งบางอย่าง ทางการแพทย์ได้บอกไว้ว่า เมื่อเด็กทารกในช่วงอายุ 0-1 ปี ซึ่งอยู่ในระยะ Oral Stage จะมีความสุขกับการได้ดูด และ สัมผัสสิ่งของเป็นอย่างมาก การดูดนิ้วของเด็กในวัยนี้จึงถือว่าเป็นพัฒนาการตามปกติของช่วงวัยอีกด้านที่ร่างกายตอบสนอง ซึ่งเด็กเล็กมักจะเริ่มดูดนิ้วตัวเอง เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน เเต่เด็กทุกคนก็ไม่จำเป็นจะต้องดูดนิ้วเสมอไปนะ บางคนไม่ดูดเลย แต่บางคนก็อาจจะดูดนิ้วในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้เช่นกัน

รู้สึกสนุกสนานที่ได้อมนิ้วมือ หรือเล่นนิ้วมือตัวเอง

เจ้าตัวเล็กมักจะชอบสังเกต และ สำรวจร่างกายของตัวเอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เจ้าตัวเล็กจะรู้สึกสนุกสนาน และ เพลิดเพลินกับการได้อมนิ้วมือของตัวเองไปเรื่อยๆ เหมือนกับการที่ผู้ใหญ่อย่างเรา มักจะชอบนั่งสั่นขานั่นเอง

เรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ แก้ปัญหาลูกชอบดูดนิ้ว

แต่ในเด็กบางคนอาจจะทำพฤติกรรม เพราะต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ก็ได้เช่นกัน นั่นเพราะพวกเขาขาดความเอาใจใส่ดูแล จึงพยายามทำให้ตัวเองเป็นจุดสนใจ โดยการทำพฤติกรรมที่ไม่ดี เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มาว่ากล่าวตักเตือน หรือ สนใจพวกเขาเพิ่มขึ้นนั่นเอง

เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจ หากหันไปทีไรก็เจอแต่เจ้าตัวเล็กดูดนิ้วมือของตัวเองนะ แต่ว่าเราต้องช่วยกันรักษาความสะอาดให้กับนิ้วมือ หรือ สิ่งของที่ลูกมีโอกาสที่จะหยิบมันเข้าปาก เพราะว่าเชื้อโรคอาจจะเข้าสู่ร่างกายผ่านช่องปากได้ง่ายมากขึ้น โดยการหมั่นพาลูกไปล้างมือบ่อยๆ ก่อนทำกิจกรรมใดๆ นั่นเอง

ทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยดูดนิ้วมือ? เพื่อ แก้ปัญหาลูกชอบดูดนิ้ว

เข้าใจว่าการดูดนิ้ว คือความสุขของลูกน้อย

คุณพ่อคุณแม่ต้องศึกษาข้อมูล และ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “การดูดนิ้ว” ของลูกให้มากๆ เพราะบางครั้งมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดร้ายแรงอะไร แต่ต้องดูดให้พอเหมาะ ไม่มากเกินไปเท่านั้นเอง เพราะว่าการดูดนิ้ว มันคือความสุขของลูกน้อยนั่นเอง

อย่าดุ หรือ อารมณ์เสียใส่ลูกเรื่องดูดนิ้วมือเด็ดขาด!!

อย่าอารมณ์เสียใส่ลูกด้วยเรื่องการดูดนิ้วเด็ดขาด เพราะว่าพวกเขาเด็กเกินกว่าที่จะรู้เรื่องว่าอะไรดี หรือ ไม่ดี แต่ควรพูดให้ลูกฟังด้วยเหตุผลมากกว่า

เบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อย

เมื่อเห็นว่าลูกกำลังจะดูดนิ้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของเจ้าตัวน้อยให้ไปทำอย่างอื่นแทน เช่น พาไปเล่นของเล่น หรือ เล่นกับคุณพ่อคุณแม่ หรือ จะพาไปทานอาหารก็ได้เช่นกัน ให้ลูกอิ่มอาหารย่อมดีกว่าให้ลูกอิ่มรสชาติของนิ้วมือใช่ไหม

ทำเป็นไม่สนใจ เมื่อลูกดูดนิ้ว

บางครั้งที่เด็กดูดนิ้วก็คงเป็นเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจจากคนเป็นพ่อเป็นแม่ ดังนั้น เราลองทำเป็นไม่ต้องสนใจ เมื่อเขาดูดนิ้ว แต่ต้องให้เวลากับลูก เล่นกับลูก ใส่ใจลูกให้มากขึ้น เพื่อให้พวกเขาไม่รู้สึกขาด และ จะได้ไม่ต้องเรียกร้องความสนใจด้วยการดูดนิ้วมือนั่นเอง

พูดกับลูกให้รู้เรื่อง และ เข้าใจถึงผลเสียของการดูดนิ้วมือตอนโต

บอกถึงผลเสียของการดูดนิ้วมือให้ลูกเข้าใจด้วยเหตุผล และ อย่าใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง

ทาครีมที่มือ แก้ปัญหาลูกชอบดูดนิ้ว

ลองทาครีมเหนอะๆ ที่มือลูก แล้วบอกลูกว่าห้ามอมนิ้วนะ เพราะนั่นหมายถึงว่า ลูกได้กินครีมเข้าไปแล้วนั่นเองจ้า

ให้รางวัล เมื่อเลิกดูดนิ้วได้

ถ้าหากลูกโตแล้ว แต่ยังไม่สามารถเลิกดูดนิ้วมือได้ ลองให้รางวัลในความพยายามของพวกเขาดูสิ ไม่แน่นะ อาจจะเลิกได้เร็วกว่าที่เราคิดด้วยซ้ำ

สุดท้ายนี้ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คิดว่าการที่ลูกดูดนิ้วนั้นไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร จึงไม่ควรทำโทษกับเจ้าตัวเล็กที่ชอบดูดนิ้ว และเมื่อผ่านช่วงอายุไปสักพัก เด็กๆ ก็จะเลิกดูดนิ้วมือเองค่ะ เเต่สิ่งที่เราควรใส่ใจเมื่อลูกอมนิ้ว นั่นก็คือ เรื่องความสะอาดของนิ้วมือ ควรหมั่นล้างมือลูกบ่อยๆ เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรค และสิ่งสกปรกเข้าสู่ร่างกาย

บทความที่แล้วทางอินดี้ได้เขียนเกี่ยวกับ พัฒนาการลูกวัย 12 เดือน สามารถเข้าไปอ่านย้อนหลังกันได้

เคล็ดลับช่วย แก้ปัญหาลูกชอบดูดนิ้ว

  • วันที่ 1- 2 พาเด็กไปนั่งหน้ากระจกตอนกำลังดูดนิ้วอย่างเมามัน พร้อมชี้ชวนให้ลูกดูว่าการดูดนิ้วไม่น่าดูเลย และ ไม่มีใครเขาทำกัน
  • วันที่ 3 เล่านิทานที่แม่แต่งเองให้ลูกฟังอย่างเช่น เรื่องพี่นิ้วโป้ง และ ผองเพื่อน บอกว่าพี่นิ้วโป้งเป็นเพื่อนหนู ดูดนิ้วทำให้พี่นิ้วโป้งเจ็บ แค่นี้ลูกก็ไม่อยากทำร้ายพี่นิ้วโป้งแล้ว
  • วันที่ 4 ทำ Finger Food อาหารอร่อยๆ ให้เด็กกัดๆ แทะๆ แทนการดูดนิ้วที่ไม่อร่อยเอาเสียเลย
  • วันที่ 5 ใส่ถุงมือให้เด็ก หรือ พันนิ้วเวลานอน (ถุงมือเลือกแบบมีลายที่ลูกชอบ)
  • วันที่ 6 ให้ลูกมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกอย่างที่ต้องใช้มือ เช่น ถือช้อน หยิบจับของช่วยแม่ ฯลฯ
  • วันที่ 7 ตั้งเงื่อนไขว่าถ้าลูกไม่ดูดนิ้ว 5 นาทีได้ แล้วแม่จะให้รางวัลเป็นสติกเกอร์ความดี หรือ ตุ๊กตาตัวจิ๋ว (โดยให้เงื่อนไขเวลาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)

ฝึกลูกให้เลิกพฤติกรรมดังกล่าว

  • คำชม ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะลูกต้องการแรงจูงใจ และ กำลังใจจากผู้เป็นพ่อแม่
  • ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังคนเดียว ควรเข้าไปอยู่กับลูกให้คลายเหงา ปลอบโยน และแก้ไขปัญหาร่วมกัน(เพราะการดูดนิ้วบางครั้งเกิดจากความรู้สึกเครียด เหงา กังวล)
  • การใช้บอระเพ็ดทาที่นิ้วเพื่อให้ลูกเลิกการดูดนิ้วด้วยรสขม ไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะการหักดิบแบบนี้ยิ่งจะทำให้เด็กเลิกยาก บางคนอาจจะไม่กล้าเอานิ้วออกจากปากด้วยซ้ำเพราะกลัวว่าพ่อกับแม่จะเอายาขมๆ มาทาให้
  • การห้ามปราม หรือ เตือนบ่อยๆ นั้นยิ่งจะทำให้ลูกเลิกดูดนิ้วยากขึ้น ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ แก้ไข และ พยายามสร้างความเข้าใจ และ ให้เหตุผลแก่ลูกจะดีกว่า


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save