Thursday, 19 September 2024

ห้ามดูจอก่อน 2 ขวบ

ห้ามดูจอก่อน 2 ขวบ เป็นคำเตือนที่เราได้ยินทางสื่อต่างๆ อยู่บ่อยๆ ว่าเด็กไม่ควรจะดูจอ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรศัพท์มือถือ หรือ จอโทรทัศน์ เพราะอะไร และ ทำไมถึงเตือนกัน วันนี้ทางอินดี้จะมาหาคำตอบ และ อธิบายรายละเอียดของเรื่องนี้ให้ เตือนเด็กต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรดูจอ เสี่ยงพูดช้า สมาธิสั้น ไอคิวต่ำ

ห้ามดูจอก่อน 2 ขวบ

พ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกวัย 2 ขวบ ดูจอบ่อยๆ หรือ นานเกินไป ส่งผลให้ลูกพูดช้า พัฒนาการช้า ไอคิวต่ำ สมาธิสั้นได้ พราะเห็นว่าลูกใช้แล้วจะอยู่นิ่ง ไม่งอแง หรือ โวยวาย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วหน้าจอจะส่งเสียต่อลูกหลายด้านมากมาย เรามาดูข้อเสียของหน้าจอกัน

7 ข้อเสียของการไม่ ห้ามดูจอก่อน 2 ขวบ

  • ขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร พูดช้า พูดไม่ชัด
  • ความสามารถในการสื่อสารลดลง พัฒนาการทางสมองช้า ไอคิวต่ำ
  • ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่ได้
  • สมาธิสั้น ขาดสมาธิ ไม่มีความใจจดใจจ่อ
  • มีปัญหาด้านสายตาล้า หรือ อักเสบ
  • ร่างกายไม่แข็งแรง เคลื่อนไหวช้า เหนื่อยง่าย
  • ขาดทักษะการเข้าสังคม แยกตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้

ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ใช้หน้าจอทุกชนิด เพื่อป้องกันลูกพูดช้า สมาธิสั้น สำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี ให้จำกัดเวลาการใช้สื่อมีจอ ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมง และ ควรเลือกโปรแกรม หรือ แอปพลิเคชันที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับวัย และ ใช้ไปด้วยพร้อมกันกับเด็ก ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ควรให้หน้าจอเป็นพี่เลี้ยงลูกเพราะเห็นว่าลูกใช้แล้วอยู่นิ่ง ไม่โวยวาย แต่กลับส่งผลเสียมากมายแทน

เตือนพ่อแม่ห่วงมือถือมากกว่าลูก เสี่ยงเด็กมีพัฒนาการช้า

สื่ออังกฤษ พบสัญญาณร้ายเตือนพ่อแม่ยุคใหม่หันมาใส่ใจลูก หลังพบตัวเลขเด็กปฐมวัยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง และ ขาดทักษะทางการพูด โดยชี้ว่าปัญหามาจากพ่อแม่ และ ผู้ดูแลขาดการเอาใจใส่ที่ดีพอ เนื่องจากสนใจสมาร์ทโฟนมากกว่านั่นเอง
       
ปัญหาดังกล่าวถูกรายงานโดยเทเลกราฟ สื่อของอังกฤษ โดยพบว่า เด็กถึง 1 ใน 3 ที่อยู่ในชั้นเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษานั้นยังไม่พร้อมสำหรับเรียนในโรงเรียน เนื่องจากพวกเด็กๆ ขาดทักษะทางสังคม มีปัญหาด้านการพูด บ้างก็ยังไม่เคยถูกฝึกการเข้าห้องน้ำ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา เผยว่า ปัญหาที่เกิดต่อเด็กปฐมวัยเหล่านี้มาจากในวัยเด็ก พวกเขาถูกละเลย ทอดทิ้งโดยผู้ดูแล ซึ่งอาจเป็นพ่อแม่ หรือ พี่เลี้ยง
       
“เราพบว่าการพูดคุยกันระหว่างพ่อ แม่ ลูกมีน้อยลง เด็ก 4 ขวบบางคนรู้วิธีกดปุ่มเพื่อเข้าหน้าจอหลักของโทรศัพท์มือถือ แต่ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง ทุกวันนี้เรามีเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาในการพูด และ ไม่พร้อมสำหรับการเรียนในโรงเรียนมากขึ้นเรื่อยๆ” คุณครูระดับหัวหน้ารายหนึ่ง กล่าว
       
ทั้งนี้ สภาพที่เกิดขึ้นต่อเด็กๆ อาจเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของสถาบันครอบครัวในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้อยู่ห่างจากเทคโนโลยีเสียบ้าง เพราะที่ผ่านมา เราอาจได้เห็นว่า พ่อแม่จำนวนมากหมกมุ่นอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์มือถือมากกว่าจะคุยกับลูกๆ ของตนเองเสียแล้ว
       
สำหรับการสำรวจครั้งนี้ได้มีการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของโรงเรียนประถมมากกว่า 1,100 คน ซึ่งจากการวิจัยประมาณการได้ว่า มีเด็กปฐมวัยในอังกฤษอย่างน้อย 194,000 คนที่ไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างถูกต้องเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนในภาคการศึกษาใหม่นี้
       
ดร.Hayley Van Zwanenberg ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก เผยว่า เด็กที่เติบโตมากับโซเชียลมีเดีย และ บริการส่งข้อความมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาด้านอารมณ์ และ ไม่สามารถจัดการต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวบนโลกจริงได้อย่างเหมาะสม
       
นอกจากนี้ ยังพบว่าคุณครู 4 ใน 5 จากทั้งหมดรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับทักษะสังคมของเด็กๆ และ ปัญหาด้านการพูดช้า อีกทั้ง 2 ใน 3 ของคุณครู ยังพบว่า เด็กช่วยเหลือตัวเองได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นด้วย

โทรศัพท์มือถือ อันตรายต่อสมองเด็กเล็ก

เหมาะแล้ว หรือ ที่เด็กตัวเท่านี้จะมีโทรศัพท์มือถือ! เด็กยุคใหม่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อให้คนไกลใกล้กัน แต่ก็มีโทษหากให้ลูกใช้เกินความจำเป็น

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

อันตรายของโทรศัพท์มือถือ

ผลการวิจัย Lune University Hospital (ประเทศสวีเดน) ระบุว่าคลื่นมือถือ อาจทำให้เด็ก หรือ วัยรุ่น เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือ ความจำเสื่อมได้ ทั้งที่โรคนี้มักจะเกิดกับผู้ป่วยวัยชรา

ผลเสียของการไม่ ห้ามดูจอก่อน 2 ขวบ

ทักษะการพูดและการสื่อสารพัฒนาได้ช้า โดยทั่วไปแล้ว เด็กจะเรียนรู้การพูด และ ภาษาจากคุณพ่อคุณแม่ หรือ บุคคลรอบข้าง ด้วยการสังเกตรูปปาก และ เสียงที่เปล่งออกมา การเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือ อยู่กับหน้าจอนาน ๆ จึงเป็นการลดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารแบบตัวต่อตัวของเด็ก

ขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย เด็กในวัยนี้จำเป็นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อพัฒนาทักษะทางกาย ทั้งการเดิน วิ่ง ขยับมือ หยิบจับสิ่งของ การให้เด็กนั่งนิ่ง ๆ อยู่หน้าจอ อาจทำให้ไม่ได้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ควร

ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เมื่อเลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์ ลูกจะใจจดจ่ออยู่แต่กับโทรศัพท์ หรือ แท็บเล็ต ส่งผลให้มีพฤติกรรมแยกตัว ขาดการพูดคุย ไม่ปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว และ คนรอบข้าง

สมาธิสั้น การให้ลูกดูสื่อต่าง ๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือ หน้าจอโทรทัศน์มากเกินไป ลูกจะเห็นภาพ และ เสียงผ่านเข้ามาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เสียสมาธิได้ เพราะไม่สามารถจดจ่อกับการดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ลุล่วง อีกทั้งเสียงแจ้งเตือนต่าง ๆ ก็รบกวนสมาธิของเด็กเช่นกัน

จอประสาทตาถูกทำลาย  เด็กในวัยนี้ ตา และ ระบบการมองเห็นยังอ่อนไหว และ มีการเปลี่ยนแปลง จึงไม่ควรมองแสงที่สว่างมากเกินไป ซึ่งแสงสีฟ้าจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือสามารถทำลายจอประสาทตาของเด็ก จนนำไปสู่โรคทางสายตา หรือ จอประสาทตาเสื่อมได้

รบกวนการนอนหลับ การให้ลูกเล่น หรือ ดูหน้าจอโทรศัพท์ก่อนนอน แสงจากหน้าจอที่สว่าง ๆ จะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมน “เมลาโทนิน” ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ เนื่องจากการปล่อยฮอร์โมนดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับแสงสว่างเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นปัญหาต่อคุณภาพการนอนหลับ ทำให้เด็กนอนฝันร้าย หรือ นอนไม่หลับ ซึ่งมีผลทำลายการทำงานของเซลล์ประสาท ส่งผลระยะยาวไปถึงตอนโตได้

ปวดเมื่อยคอ ส่วนใหญ่แล้วเวลาที่เด็กก้มมองจอโทรศัพท์ มักจะก้มคอราว 60 องศา ซึ่งเป็นท่าที่ไม่เหมาะสม เพราะจะส่งให้เกิดอาการปวดคอได้หากก้มเป็นเวลานาน ๆ

ปวดหัว ปวดตา การใช้โทรศัพท์มือถือ หรือ จ้องหน้าจอเป็นเวลานาน จะส่งให้ได้รับรังสีจากคลื่นโทรศัพท์ที่แผ่ออกมามากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งรังสีดังกล่าวอาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา นั่นคือปวดศีรษะ ปวดตา หรือ บางรายก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่านั้น

พฤติกรรมก้าวร้าว หากเด็ก ๆ เล่นโทรศัพท์มือถือจนติด หรือ พ่อแม่ใช้โทรศัพท์เป็นสิ่งหลอกล่อให้เด็กทำตามคำสั่ง ผลเสียที่ตามมาก็คือเมื่อเด็กไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือในเวลาที่ต้องการ มักจะเกิดอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว เพราะไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กที่ติดเล่นเกมในโทรศัพท์มือถือ

 จินตนาการหดหาย  จินตนาการในวัยเด็กเป็นของขวัญที่มหัศจรรย์ที่สุดอย่างหนึ่ง แต่การปล่อยให้เด็กเรียนรู้ผ่านรายการในโทรศัพท์ หรือ โทรทัศน์ ซึ่งมักจะบอกแนวความคิดว่าเด็กต้องทำอย่างไร คิดอย่างไร ผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร ทำให้เกิดการจำกัดจินตนาการของเด็ก ๆ ได้

บทความก่อนหน้าทางอินดี้ได้อธิบายถึง อันตรายจากแสงสีฟ้าของหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากสนใจอ่านบทความเกี่ยวกับแสงสีฟ้าที่หน้าจอโทรศัพท์ สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่ แสงสีฟ้า กับการถนอมดวงตาด้วยการลด แสงสีฟ้า บน iOS

โทรศัพท์มือถือไม่ใช้สิ่งจำเป็นสำหรับเด็กต่ำกว่า 9 ขวบ

เด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ขวบไม่ควรใช้มือถือ  เนื่องจากระบบประสาทยังพัฒนาไม่เต็มที่  โครงสร้างของศีรษะยังไม่แข็งแรง การใช้มือถือนั้น คือ การเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในสมองซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของนักวิจัย 7 ชาติ แห่งสหภาพยุโรป ที่พบว่าคลื่นโทรศัพท์มือถือ ทำอันตรายแก่ DNA และ เซลล์ ของสิ่งมีชีวิต

ข้อ ห้ามดูจอก่อน 2 ขวบ

  • ห้ามเด็กใช้โทรศัพท์มือถือ หรือ ใช้ให้น้อยที่สุด
  • อย่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ศีรษะตลอดเวลาโดยเฉพาะเวลานอนหลับ                                                                                   
  • อย่าเหน็บโทรศัพท์มือถือไว้ที่เอว เพราะเอวมีอวัยวะสำคัญๆ ที่ผลิตเม็ดเลือดแดงมากกว่า 80% ของทั้งร่างกาย
  • เลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะอยู่ในสถานที่แคบที่ทำด้วยโลหะ เช่น รถยนต์ ลิฟท์ เครื่องบิน

ข้อแนะนำใช้มือถืออย่างปลอดภัย

  •  จำกัดเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือให้น้อยที่สุด
  • ใช้โทรศัพท์บ้านธรรมดาปลอดภัยที่สุด
  • ควรวางโทรศัพท์มือถือให้ไกลศีรษะที่สุดอย่างน้อย 2 เซนติเมตร และ มากที่สุดคือ 5 นิ้ว ในระหว่างกานสนทนา
  • หูฟังแบบพิเศษ Ferrite จะช่วยป้องกันคลื่นได้
  • เปิดลำโพงระหว่างคุยโทรศัพท์มือถือแทนการแนบโทรศัพท์กับหูโดยตรง
  • เลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือในสถานที่ที่สัญญาณอ่อน เพราะอาจปล่อยสัญญาณ EMR เข้าสู่สมองได้เช่นกัน
ให้ ลูกเล่น โทรศัพท์ กี่ ขวบ

เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save