Friday, 22 November 2024

สมุนไพรไทยลดไตรกลีเซอไรด์ ลดการสะสมของไขมันอุดตัน

12 Jun 2021
747
สมุนไพรไทยลดไตรกลีเซอไรด์

สมุนไพรไทยลดไตรกลีเซอไรด์ เป็นโมเลกุลของไขมันชนิดหนึ่งที่จับตัวเป็นก้อนภายในเส้นเลือด คุณลองนึกภาพของสายยางน้ำไหลที่เอามือไปอุดดู น้ำจะไหลช้า และ แรงแต่ก็ปริมาณน้อย เทียบกับเส้นเลือดแล้วไม่ต่างกัน หัวใจต้องบีบตัวมากขึ้น แล้วก็จะป็นโรคร้ายต่างๆในที่สุด วิธีแก้ คือ ต้องทานสมุนไพรที่เพื่มความร้อนให้กับร่างกาย เพราะความร้อนจะไปละลายไขมันภายในเส้นเลือด อาจจะทานน้ำมันปลาก็ได้ เป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อปลาทะเลแท้ๆเลย มันจะบริสุทธิ์ แล้วจะไปทำให้ไขมันที่แข็งตัวคล้ายตะกรันในเส้นเลือดอ่อนตัวลงแล้วถูกขจัดออกไป หรือ อีกวิธีหนึ่ง คือ สมุนไพรไทย

ไตรกลีเซอไรด์

ไตรกลีเซอไรด์” เป็นไขมันตัวร้ายในร่างกาย เมื่อสะสมมากๆ สิ่งที่จะสามารถเห็นได้ชัดๆ คือ อ้วน นั่นเอง เพราะไขมันจะสะสมอยู่ตามบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุง ใครที่อ้วนพุงย้อย หรือ ผอมแต่มีพุง นั่นหมายความว่าคุณกำลังมีระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่มาก ไขมันชนิดนี้ถือเป็นภัยร้ายอย่างที่คอยทำลายสุขภาพ ซึ่งผลงานของมันก็มีตั้งแต่อ้วน เหนื่อยง่าย เลือดลมไหลไม่สะดวกเพราะเส้นเลือดตีบ บางคนตีบมากจนเส้นเลือดแตก ซึ่งอันตรายจนถึงแก่ชีวิต นอกจากไตรกลีเซอไรด์แล้ว ร่างกายยังมีไขมันอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “คอเลสเตอรอล” ซึ่งถ้าหากมีมากไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นเดียวกันกับไตรกลีเซอไรด์

ค่าปกติของระดับไขมันในกระแสเลือด

  • ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ถ้าร่างกายขาดแคลนพลังงาน ไตรกลเซอไรด์จะถูกนำมาเผาผลาญเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ ในคนปกติควรมีระดับไตรกลีเซอไรด์ไม่เกิน 200 มก./ดล.
  • คอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่ไม่ได้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ร่างกายจะนำไปใช้ในการสร้างเซลล์ต่างๆ โดยในคนปกติต้องมีคอเลสเตอรอลรวมไม่เกิน 200 มก./ดล.  ซึ่งคอเลสเตอรอลก็สามารถแยกย่อยได้อีก 2 ชนิด ดังนี้
  • LDL Cholesteral หรือ ไขมันเลว ต้องมีไม่เกิน 130 มก./ดล. เป็นไขมันที่ไม่สร้างประโยชน์ใดๆให้กับร่างกาย หากมีมากไปจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดมากยิ่งขึ้น
  • HDL Cholesteral หรือ ไขมันดี ต้องมีมากกว่า 35 มก./ดล. ไขมันดีทำหน้าที่ช่วยจับไขมันไม่ดีไปกำจัดทิ้งที่ตับ

ไม่ว่าจะไตรกลีเซอไรด์ หรือ คอเลสเตอรอล หากปริมาณรวมมีมากกว่า 200 มก./ดล. จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากไขมันจะไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด เลือดจะไหลเวียนไม่สะดวกเพราะหลอดเลือดตีบตัน

สมุนไพรไทยลดไตรกลีเซอไรด์

การใช้งานสมุนไพรไทยเข้ามารักษา และ ลดอาการของโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด ไขมันมากเกินไป โดยจะมีรายละเอียดดังนี้

สมุนไพรไทยลดไตรกลีเซอไรด์ ขิง

ขิง

ขิง ในขิงมีสารในกลุ่มฟีนอลสูง ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคหัวใจ รวมทั้งมีน้ำมันหอมระเหย และ เรซินที่ละลายน้ำได้น้อย มีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับสรรพคุณของขิงที่ช่วยลดไขมัน โดยทดลองกับอาสาสมัคร 2 กลุ่ม ในกลุ่มแรกให้ทานสารสกัดจากขิงในรูปแคปซูล ครั้ง 1 แคปซูล รับประทาน 3 ครั้ง/วัน แต่อีกกลุ่มหนึ่งให้รับประทานยาหลอก ระยะเวลาการทดลองทั้ง 45 วัน พบว่า กลุ่มผู้ทดลองที่ทานสารสกัดขิงมีระดับไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอลลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก มีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่วิจัยโดยให้ผู้ทดลองทานขิงผงวันละ 1 กรัม เป็นเวลา 45 วัน พบว่าไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอลลดลงเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยที่ได้ผลขัดแย้งกับงานวิจัย 2 ชิ้นแรก โดยปกติแล้วหากนำขิงมาปรุงอาหารรับประทาน จะสามารถทานได้อย่างปลอดภัย แต่ถ้าหากจะรับประทานขิงเพื่อรักษาโรค ทานมากๆ ติดต่อกันนานๆ ควรคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้

  • ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ ต้องรับประทานยาใดๆอยู่ก่อนแล้ว เพราะขิงอาจจะไปลดประสิทธิภาพของยาลง หรือ ไปกระตุ้นบางโรคให้ร้ายแรงยิ่งขึ้น
  • ขิงมีฤทธิ์ร้อน ดังนั้นเมื่อทานอาจจะมีอาการแสบร้อนกลางอก ร้อนใน ปากเป็นแผล บางคนอาจจะปวดท้อง แสบร้อนท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือ ท้องเสียได้
  • ไม่ควรรับประทานขิงมากกว่าวันละ 5 กรัม เพราะจะไปกระตุ้นให้ร่างกายแพ้ขิงมากขึ้น
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ การทานน้ำขิงแบบเจือจางจะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่ถ้าทานแบบเข้มข้นสูง หรือ ทานในปริมาณมากอาจจะมีผลต่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ได้

พริกไทยดำ

พริกไทยดำ มีสารพิเพอรีนที่ช่วยขัดขวางการดูดซึมของไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอล ช่วยละลายลิ่มเลือด ป้องกันเลือดจับตัวเป็นก่อน ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง จากการทดลองกับหนูแรทพบว่าผักบุ้งช่วยให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

มะขามป้อม

มะขามป้อม มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง วิตามินซีสูง มีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ และ โพลีฟีนอลซึ่งช่วยลดการสร้าง และ สังเคราะห์ไขมันในร่างกาย จากการทดลองกับกระต่ายที่มีคอเลสเตอรอลสูงด้วยน้ำมะขามป้อม พบว่าปริมาณคอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากช่วยเพื่มการดูดซึมในลำไส้ และ ถูกขับออกไปพร้อมกับอุจจาระ

สมุนไพรไทยลดไตรกลีเซอไรด์ กระเทียม

กระเทียม กระเทียมเป็นผักสวนครัวที่จัดเป็นเครื่องเทศประจำตัวอาหารไทย เพราะต้องใช้ในการปรุงอาหารหลากชนิด ทำให้มีรสชาติดี มีกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น กระเทียมโดยปกติแล้วมีสรรพคุณทางยามากเพราะมีวิตามิน เกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระ และ อีกมากมาย ยังมีสารอัลซิลิน ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยลดไขมันในเลือดได้ จึงจัดเป็นสมุนไพรช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ทดลองในอาสาสมัครที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินกว่า 200 มก./ดล. โดยให้ทานกระเทียมเป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าระดับคอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง สำหรับการทานกระเทียมเพื่อเป็นยา เด็ก คนท้อง และ ผู้ป่วยที่ต้องทานยารักษาโรคอยู่แล้วควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน ส่วนใครที่ต้องผ่าตัดควรงดรับประทานกระเทียมก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 อาทิตย์เพราะกระเทียมช่วยลดการแข็งตัวของเลือด อาจะทำให้เลือดออกมากในขณะผ่า หรือ หลังผ่าตัดได้ และ สำหรับผู้ที่สุขภาพแข็งแรงปกติ การทานกระเทียมในปริมาณมากอาจทำให้มีกลิ่นปาก และ กลิ่นตัวแรง

ชา

 ชา มีสารแทนนินช่วยต่อต้านการย่อยสลายไขมัน ทำให้ไขมันที่รับประทานเข้าไปไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และ ถูกขับออกไปพร้อมกับอุจจาระ ช่วยลดคอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มไขมันดีให้กับร่างกายด้วย จึงเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ดี

หัวหอมใหญ่

มีสรรพคุณช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด กำจัดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยในฮ่องกง พบว่าหัวหอมใหญ่สามารถลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีได้ การบริโภคหัวหอมดิบทุกวันจะช่วยเพิ่มระดับของคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) เพิ่มขึ้นถึง 30% จึงช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล

ข้อควรระวังในการใช้ สมุนไพรไทยลดไตรกลีเซอไรด์

สมุนไพรหลายชนิดมีงานวิจัยสนับสนุนเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ช่วยในลดไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งจัดเป็นแนวทางการรักษาจากธรรมชาติอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะยังมีข้อมูลไม่เพียงพอมาสนับสนุนในด้านความปลอดภัย ดังนั้น ก่อนจะเลือกทานสมุนไพรชนิดใดควรปรึกษาแพทย์ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีที่กำลังให้นมบุตร คนชรา และ ผู้ป่วย เพราะสมุนไพรบางชนิดอาจจะส่งผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ หากสนใจอ่านบทความสมุนไพรไทยรักษาโรคกรดไหลย้อนสามารถอ่านได้ที่ หัวข้อ สมุนไพรไทยรักษากรดไหลย้อน วิธีรักษาให้หายขาด


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save