Friday, 22 November 2024

สมุนไพรไทยขมิ้นชัน

20 Jun 2021
1027
สมุนไพรไทยขมิ้นชัน

สมุนไพรไทยขมิ้นชัน  (Turmeric) เป็นพืชที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อของเหง้ามีสีเหลืองเข้มไปจนถึงสีแสด เอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือ รสชาติที่จัดจ้าน สีสันมีความสวยงาม อีกทั้งยังได้มีการนำเอาสมุนไพรมาประยุกต์ผสมผสานลงไปในอาหารไทย ทำให้ได้รสชาติที่ดูแตกต่างแต่ลงตัว เมื่อพูดถึงเรื่อง สมุนไพร ที่คนไทยนิยมนำมาทำอาหาร เราคงจะพลาดที่จะเอ่ยถึง ขมิ้นชัน ไม่ได้ เพราะว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ทำให้อาหารมีสีสันสะดุดตา ตลอดจนมีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มพูนเป็นลำดับถัดมาจากความอร่อย ตอนนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดกันให้มากขึ้น เพราะเหตุใดจึงเป็นที่นิยม และ ประโยชน์ที่ได้จากสมุนไพรชนิดนี้มีอะไรบ้าง หากพร้อมแล้วมาเริ่มเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน

วิตามินและแร่ธาตุใน สมุนไพรไทยขมิ้นชัน

นอกจากเราจะเราสามารถนำขมิ้นชันไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหาร ใช้ย้อมสี หรือ ใช้เพิ่มกลิ่นให้กับอาหารแล้ว ในขมิ้นชันยังมีวิตามิน และ แร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบีรวม วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เกลือแร่ เส้นใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต และ โปรตีน

เริ่มเล่าเท้าความถึงขมิ้นชันนั้น เป็นไม่ล้มลุกอายุหลายปี ความสูงของลำต้นเพียง 30 – 90 เซนติเมตรเท่านั้น มีเหง้าใต้ดิน ส่วนตรงกลางมีขนาดใหญ่รูปไข่ มีแขนงแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ที่อยู่ตรงข้ามกันคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม คนไทยรู้จักกันในฐานะของพืชสมุนไพร และ เครื่องเทศ นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ปัจจุบันยังได้เพิ่มการแต่งสี แต่งกลิ่น เพิ่มรสชาติให้อาหารมีความน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น อาหารที่นิยมใส่ขมิ้นชัน ได้แก่ แกงเหลือง ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ ขนมเบื้องญวน ไก่ทอด แกงไตปลา มัสตาร์ด เนย มาการีน เป็นต้น

จุดเริ่มต้นของการที่คนเราหันมารับประทานขมิ้นชันนั้น เชื่อกันว่ามีต้นตอมาจากชาวอินเดีย หรือ ที่เรียกว่า ชาวภารตะ ที่นิยมกินขมิ้นชันกันมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ส่วนคนไทยก็มีความนิยมกินขมิ้นชันเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และ ภาคใต้นิยมใส่ขมิ้นชันลงไปในอาหารประเภทแกงเผ็ดเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้มีสีเหลือง และ ยังช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้อีกด้วย รวมทั้งการใส่ลงไปในอาหารก็จะช่วยไม่ให้อาหารบูดเสียง่าย เพราะในขมิ้นชันมีคุณสมบัติที่ช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนั้น การใช้ขมิ้นชันในอาหารจะช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ป้องกันการเหม็นหืนของน้ำมัน และ ไขมันเมื่อต้องเก็บไว้เป็นเวลานานๆ นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบในการช่วยถนอมอาหาร และ ยังมีคุณค่าทางโภชนาการให้อาหารได้อีกด้วย

คุณประโยชน์และสรรพคุณของขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน มีสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) พบได้ในพืชมีเหง้าและพืชวงศ์ขิง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดอาการอักเสบ และ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ทำให้มีการนำขมิ้นชันมาประยุกต์ใช้ในอาหาร และ ยาอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีประโยชน์ และ สรรพคุณ ดังนี้

  • ล้างพิษตับ ขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยขับพิษที่สะสมในตับ เนื่องจากมีฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ ช่วยบำรุงตับ และ ฟื้นฟูตับ โดยมีการใช้ขมิ้นชันทดลองรักษาโรคตับแข็งในหนู ผลปรากฏว่าอาการไม่ลุกลามเพิ่ม ทำให้นิยมใช้เป็นสมุนไพรยาที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ และ ล้างพิษออกจากตับ
  • รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ขมิ้นชันสามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังได้ เช่น โรคผื่นคัน กลาก เกลื้อน ผิวหนังอักเสบจากอาการแพ้ คนไทยสมัยก่อนใช้เหง้าสดของขมิ้นชันมาฝน และ บดให้ละเอียด ก่อนจะนำไปทาบริเวณที่มีอาการคัน แต่ปัจจุบันสามารถใช้ผงขมิ้นชันสำเร็จรูปผสมน้ำเปล่า หรือ น้ำมันมะพร้าว นำไปทาบริเวณที่อักเสบ หรือ คันได้
  • แก้อาการท้องร่วง ใครที่กินของผิดสำแดงเข้าไปแล้วเกิดอาการท้องร่วง สามารถหาขมิ้นชันในครัวมาใช้เป็นยาได้ โดยนำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตำพร้อมผสมน้ำเปล่า หลังจากนั้นคั้นเฉพาะน้ำให้ได้สัก 1 ถ้วยตวง แบ่งกินคราวละ 2 ช้อนโต๊ะ จะช่วยสร้างสมดุลให้ระบบขับถ่าย และ ระบบย่อยอาหาร
  • รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการรักษาอาการอักเสบ จึงสามารถช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้น นอกจากนี้หากหั่นขมิ้นชันผสมกับน้ำผึ้ง จะช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และจุกเสียดแน่น เรียกว่าเป็นสมุนไพรที่มอบประโยชน์ให้คนกินอย่างครบสูตร ทั้งในรูปแบบอาหารและรูปแบบยา
  • ชะลอการแก่ก่อนวัย เนื่องจากขมิ้นชันออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงถูกนำมาสกัดเป็นยาเสริมอาหารที่ใช้บำรุงร่างกาย ป้องกันโรค ป้องกันการเสื่อมโทรมของเซลล์ และป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมไปตามวัย ถือเป็นสรรพคุณด้านความงามที่น่าจะถูกใจใครหลายคน
  • รักษาริดสีดวง สำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารและมีแผลบริเวณทวารหนัก ให้ใช้ผงขมิ้นทาหัวริดสีดวง จะช่วยสมานแผลให้แห้งและหายเร็วขึ้น เพราะขมิ้นชันจะช่วยลดการอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค และทำให้เนื้อเยื่อบริเวณแผลกระชับเร็วขึ้น
  • แก้พิษแมลงกัดต่อย หากถูกแมลงกัดจนเป็นแผล มีอาการบวมแดง สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ผงขมิ้นชันผสมกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำไปเคี่ยวบนไฟ จะได้น้ำมันนวดสำหรับทาแก้พิษแมลงกัดต่อย หรือจะนำผงขมิ้นชันไปผสมกับน้ำปูนใสเพื่อนำมาพอกแผลก็ได้เช่นกัน
  • ป้องกันโรคข้อเข่าอักเสบ ในผู้สูงอายุนิยมใช้ขมิ้นชันรักษาอาการข้อตึง ปวดเมื่อยตามข้อเข่า ซึ่งอาจจะเป็นไปตามวัยหรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน แต่ขมิ้นชันสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยมีการนำมาใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันอย่างแพร่หลาย
  • ดระดับไขมันในเส้นเลือด สารไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) ที่อยู่ในพืชธรรมชาติอย่างขมิ้นชันจะช่วยยับยั้งคอเลสเตอรอล มีฤทธิ์ในการลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันและโรคหัวใจ
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ขมิ้นชันสามารถช่วยปรับสมดุลและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยเฉพาะในปัจจุบันมีปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้เป็นภูมิแพ้ได้ง่าย จึงนิยมกินขมิ้นชันเพื่อเป็นตัวช่วยเสริมร่างกายให้แข็งแรงต่อมลพิษ

สมุนไพรไทยขมิ้นชัน สรรพคุณทางยา

ขมิ้นชันนอกจากที่จะมีคุณค่าทางอาหารแล้ว ก็ยังถือเป็นพืชที่มีคุณค่าทางยาอีกด้วย ซึ่งชาวไทยนิยมนำส่วนต่างๆ มาใช้เป็นยาเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นรับร่างกาย โดยสามารถดูรายละเอียดได้ดังนี้

  • เหง้า เหง้ารสฝาดหวานเอียด ใช้สำหรับแก้อาการไข้เรื้อรัง ผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะและโลหิต แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ธาตุพิการ ขับผายลม แก้ผื่นคัน ขับกลิ่น และ สิ่งสกปรกในร่างกาย คุมธาตุ หยอดตาแก้ตาบวม ตาแดง น้ำคั้นจากเหง้าสดทาแก้แผลถลอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ลดอาการอักเสบ ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง นำมาอัดเม็ดทำเป็นยารักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอ่อนแอ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด
  • ผงขมิ้น (น้ำเหง้าแห้งมาบดเป็นผง) นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด
  • ขมิ้นสด (ใช้เหง้าสดล้างให้สะอาด) ตำกับดินประสิวเล็กน้อย ผสมน้ำปูนใสพอกบาดแผล และ แก้เคล็ดขัดยอก เผาไฟ ตำกับน้ำปูนใส รับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด

นอกจากขมิ้นชัน จะสามารถนำมาประกอบอาหารประเภทต่างๆ รวมถึงยังใช้เป็นยารักษาโรค และ บรรเทาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ทั้งภายใน และ ภายนอกร่างกายได้แล้ว สมุนไพรชนิดนี้ยังสามารถนำไปใช้รักษาโรคที่คาดว่าน่าจะเกิดจากอนุมูลอิสระ อย่าง โรคมะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือด เป็นต้น สำหรับในโรคมะเร็งเองแล้ว ขมิ้นชัน จะมีฤทธิ์ช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการแพร่กระจาย อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ปกติเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็ง โดยจากการทดสอบในห้องทดลองพบว่า ฤทธิ์ของขมิ้นชันจะช่วยยับยั้งการเติบโต หรือ การแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเซลล์มะเร็งหลายๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ และ มะเร็งตับอ่อนต่างก็ได้ผลที่ดีทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงเป็นข้อดีต่อผู้ป่วยมะเร็งระยะต้นๆ ที่จะหันมารับประทานขมิ้นชันในรูปแบบของการปรุงอาหาร ที่ถือได้ว่าเป็นวิธีการที่สะดวก และ ปลอดภัยที่สุด หรือ อาจนำผงขมิ้นชันผสมลงในเครื่องดื่มก็ได้ แต่หากต้องการจะรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมอาจต้องระวังสักเล็กน้อย เพราะจากงานวิจัยในผู้ป่วยมะเร็งบางรายช่วงที่ได้เคมีบำบัด อาหารเสริมอาจเข้าไปรบกวนประสิทธิภาพของยาได้

ขมิ้นชันแคปซูล สารสกัดจากธรรมชาติ

ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมถึงได้ขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้ได้รับความนิยมในการกินทดแทนยาแผนปัจจุบัน โดยทั่วไปถือว่าเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากใช้ประกอบอาหารอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันมีการนำขมิ้นชันมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบแคปซูลเพื่อให้สะดวกในการรับประทาน บ้างก็อยู่ในรูปแบบอาหารเสริม ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้ หากจะซื้อ “ขมิ้นชันแคปซูล” ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ และมีฉลากรับรองชัดเจน

อย่างไรก็ตาม การกินขมิ้นชันแคปซูลติดต่อกันนานๆ ก็อาจทำให้ร่างกายมีสารตกค้างได้ ควรจำกัดในปริมาณที่เหมาะสมพอดี และหากจะกินเพื่อรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เนื่องจากสรรพคุณในขมิ้นชันมีผลกระทบข้างเคียงต่อผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่เป็นท่อน้ำดีอุดตัน และนิ่วในถุงน้ำดี

ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้นชัน

สำหรับในสตรีมีครรภ์ ขมิ้นชันอาจทำให้เกิดการแท้งได้ในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีผลต่อการตกไข่ เพราะฉะนั้นจึงควรระวังในการใช้ขมิ้นชันกับหญิงมีครรภ์ โดยการใช้ขมิ้นชันในปริมาณมากๆ อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ การใช้ขมิ้นชันเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด งุ่นง่าน หรือ ตื่นกลัว เป็นต้น

สมุนไพรพื้นบ้านขมิ้นชัน พืชที่มากอรรถประโยชน์ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีมาเป็นเวลานาน ถึงแม้ว่าจะเป็นสมุนไพรแต่ก็ไม่ได้มีข้อดีเสมอไป หากเราไม่ศึกษาวิธีการใช้งานให้ดีเสียก่อน อย่างไรก็ตามขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการรักษา โดยจากผลการวิจัยก็ยังไม่พบพิษที่เกิดเฉียบพลันในมนุษย์ ซึ่งคนไทยโดยเฉพาะชาวภาคใต้นั้นรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เป็นอาหารกันเป็นเวลานาน อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขยังได้แนะนำให้ใช้ขมิ้นชันในโครงการสาธารณสุขมูลฐานอีกด้วย นับได้ว่าขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ และ อย่าลืมออกกำลังกายกันด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากตัวเอง


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save