Saturday, 23 November 2024

พัฒนาการ ทารก 7 เดือน

พัฒนาการ ทารก 7 เดือน ทารก เจ็ด เดือนจะมีการเคลื่อนไหวที่ไว ปรู๊ดปร๊าดมากขึ้น จากเดือนที่แล้วพอนั่งได้ แต่เดือนนี้เริ่ม คืบคลานไปหาสิ่งที่ตนเองชอบ และ สนใจ ที่กล้ามเนื้อทุก ๆ ส่วนจะมีการพัฒนาพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้

พัฒนาการ ทารก 7 เดือน

พัฒนาการ ทารก 7 เดือน พัฒนาการทางร่างกาย และ การส่งเสริมพัฒนา

การเคลื่อนไหวของทารก เจ็ด เดือนจำเป็นต้องมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น เพราะจะต้องใช้ทั้ง กล้ามเนื้อคอ ท้อง ลำตัว สะโพก ขา อีกทั้งต้องทำงานประสานกัน กับ ร่างกายส่วนต่างๆ เช่น เอื้อมมือไปข้างหน้า ดึงตัวเองคืบไป แล้วใช้ขาถีบพื้นดันตัวเองตาม คุณพ่อคุณ คุณแม่ สามารถหลอกล่อให้ลูกหัดคืบคลานได้ด้วยการใช้ของเล่นล่อให้ลูกมาหยิบจับเล่น เขาจะได้มีกำลังใจที่จะคืบคลานไปหาสิ่งที่เขาชอบ อ่านบทความ พัฒนาการ ทารก 6 เดือน

คุณพ่อ คุณแม่ ควรเตรียมพื้นที่เบาะโฟมรองกระแทก หรือ เสื่อน้ำมันที่ล้มแล้วไม่เจ็บ เพื่อให้ลูกฝึกคลานได้เองโดยไม่เกิดอุบัติเหตุจาการกระแทก และ เก็บสายไฟ หรือ เฟอร์นิเจอร์มีคมให้เรียบร้อย เพื่อป้องลูกน้อยเหนี่ยวดึงสิ่งของเหล่านั้นเพื่อยันตัวเองขึ้นมา พัฒนาการทางร่างกายของทารก 7 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • ประคองศีรษะได้ดีเยี่ยม
  • ยันตัวขึ้นในท่าคลาน และ บางครั้งก็อาจจะคลานได้
  • คืบไปข้างหน้าทั้ง ๆ ที่มีของอยู่ในมือ
  • ถ้ามีคนช่วยดึงจะลุกขึ้นยืนได้ ด้วยขาเหยียดตรง
  • อาจจับของเพื่อดึงตนเองลุกขึ้นยืน
  • นั่งได้นานแบบไม่ต้องมีตัวช่วยพยุง
  • ยันตัวเองขึ้นนั่ง หรือ อยู่ในท่าคลานได้
  • ถือของข้างละอัน และ จับมากระทบกัน
  • ชอบเล่นของเล่น

พัฒนาการ ทารก 7 เดือน พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และ การส่งเสริมพัฒนาการ

ลูกน้อยจะสนุกสนานกับเกมง่าย ๆ เช่น จ้ะเอ๋ หรือ การที่ คุณพ่อ คุณแม่ แกล้งทำของหล่น แล้วพูดว่า “อุ๊ย!” ลูกก็จะหัวเราะเบิกบานมาก แต่ สิ่งสำคัญกว่าเสียงหัวเราะ คือ การเชื่อมโยงลักษณะท่าทาง และ อารมณ์เหล่านี้เก็บไว้ในความทรงจำด้วย นอกจากนั้นลูกจะสบายใจเมื่อมีคนมาอยู่ด้วยกัน ไม่ชอบอยู่คนเดียว และ รับรู้ว่าอยู่กับใครแล้วจะรู้สึกปลอดภัยมีความมั่นคงทางจิตใจ บางครั้ง คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะเห็นลูกขว้างของ หรือ ว่าเล่นปึงปังแรง ๆ นั่นมิใช่ว่าลูกกำลังใส่อารมณ์ หรือ กำลังหงุดหงิดอยู่ แต่เป็นเพราะว่าลูกกำลังทดลองเล่นสนุกอย่างเต็มกำลังอยู่ต่างหาก

พัฒนาการทางภาษา และ การส่งเสริมพัฒนาการทารก 7 เดือน

ลูกจะออกเสียงเป็นภาษาพอให้เราเข้าใจได้เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น พยัญชนะที่เริ่มต้นจากริมฝีปาก เช่น มา ปา เพราะออกเสียงง่าย ซึ่งพ้องกับคำว่า ปาป๊า มาม๊า หรือ พ่อ แม่ พอดี ทั้งนี้ การฝึกให้ลูกพูดชัดเจนขึ้นคุณควรจะมองตาลูกแล้วพูดนำ แล้วพูดช้าๆ ชัดๆ ซ้ำๆ ด้วยประโยคง่ายๆ เพื่อให้ลูกได้เลียนการออกเสียงทางริมฝีปากของคุณด้วย พัฒนาการทางภาษาของทารกวัย 7 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • สามารถส่งเสียงได้ทั้งสระและพยัญชนะ
  • พูดคำเฉพาะที่มีความหมายส่วนตัวได้ อย่างเช่น ปา มา
  • ส่งเสียงหลายเสียงรวดเดียว แล้วจึงค่อยหายใจ
  • ตั้งใจฟังเสียงตนเองและเสียงผู้อื่น
  • พยายามเลียนเสียงและออกเสียงไปด้วย

พัฒนาการทางสังคม และ การส่งเสริมพัฒนาการทารก 7 เดือน

ลูกจะติด คุณแม่ มากขึ้น และ เนื่องจากเขาเคลื่อนไหวได้ดีแล้วก็จะเริ่มอยากไปไหนกับคุณแม่ด้วย รู้สึกปลอดภัย และ วางใจในตัวคุณแม่คนเดียว แม้จะเล่นอยู่ก็จะหันกลับมามองว่าคุณแม่อยู่ใกล้ๆ หรือเปล่า หรือ มีเสียงของคุณแม่ให้ได้ยินอยู่ไหม ถ้าคุณแม่ไม่อยู่เจ้าหนูจะเริ่มโยเยจนกว่าคนอื่นจะมาดึงความสนใจไป หรือ ชวนเล่นอย่างอื่นลูกจะสามารถลืมได้อีกพักหนึ่ง แต่คนอื่นที่ว่านี้จะต้องเป็นคนคุ้นเคย เช่น ญาติๆ หากเป็นคนแปลกหน้าลูกจะร้องไม่ยอมหยุดเลย พัฒนาการทางสังคมของทารกวัย 7 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • เริ่มกลัวคนแปลกหน้า
  • แสดงอารมณ์ขันเมื่อเห็นอะไรตลก ๆ
  • แสดงความต้องการ และ อยากเป็นหนึ่งในสังคม
  • เริ่มขัดขืนเมื่อถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
  • แยกความแตกต่างกับเสียงที่เป็นมิตรกับเสียงที่กำลังโกรธอยู่ได้
  • สำรวจร่างกายตนเอง และ ร่างกายผู้อื่น

พัฒนาการทางสมอง และ การส่งเสริมพัฒนาการทารก 7 เดือน

วัยนี้จะโฟกัสที่รายละเอียดเล็ก ๆ ที่แปลกตา เช่น ดวงตาคุณแม่ ลูกจะจับจิ้ม และ ลองหยิบดูของเล่นว่ามันจะออกมาได้ไหมนะ โดยเฉพาะวัยนี้ที่เพิ่งนั่งได้อย่างแข็งแรง เขาจะก้มมองเห็นอวัยวะเพศตนเอง และ จับคลำเล่น คุณพ่อคุณแม่ ยังไม่ต้องตกใจเพราะเป็นแค่การเรียนรู้ของลูกเท่านั้น เมื่อร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้น สมองก็มีการเชื่อมโยงต่อยอดขึ้นไปเรื่อย ๆ รู้ว่าเสียงเหมียว ๆ คือเสียงของแมว รู้ว่าเสียงช้อนดังแสดงว่าใกล้ถึงเวลาอาหาร และ เมื่อมีสิ่งใดที่ลูกไม่เคยเห็นลูกก็จะจดจำ เปรียบเทียบ สังเกตรายละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลสะสมในสมองน้อย ๆ ของเขา เพื่อการปะติดปะต่อเหตุการณ์ในอนาคตได้ พัฒนาการทางสมองของทารกวัย 7 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • มีความสนใจในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • ชอบของเล่นที่มีเสียง
  • เคลื่อนตัวไปหาและหยิบของด้วยมือข้างเดียวได้
  • แบมือเพื่อดูของในมือ และย้ายของจากมือหนึ่งไปมือหนึ่งได้
  • จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และเรียงลำดับขั้นได้
  • มีปฏิกิริยาตอบโต้เงาตัวเองในกระจก
  • เรียนรู้ถึงความซับซ้อนของกิริยาท่าทางคนอื่นได้
  • แยกระยะความไกลใกล้ของวัตถุได้
พัฒนาการเด็กวัย 7 เดือน

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก รักลูก

เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save