Wednesday, 4 December 2024

ท่านั่ง W ของเด็ก ระวังอันตรายมาก

การนั่งท่า w (w sitting) คือ การนั่งโดยบั้นท้ายอยู่ตรงกลาง ระหว่างขาทั้งสองข้างที่งอพับหันฝ่าเท้าออกไปทางด้านข้าง ทำให้เป็นรูป w เด็กๆ อาจค้นพบท่านั่งนี้ เนื่องจากเป็นท่าต่อเนื่อง จากการคลานไปคลานมา แล้วต้องการหยุดเพื่อนั่งเล่น เขาจะทิ้งน้ำหนักตัวมาที่บั้นท้ายโดยแยกต้นขา และ หัวเข่าออกจากกัน การนั่งแบบนี้ จะทำให้เด็กรู้สึกมั่นคง ไม่เอนล้มง่าย แต่ทำไมทางการแพทย์จึงแนะนำว่า ไม่ควรให้เด็กนั่งท่านี้ มาอ่านรายละเอียดกัน

ท่านั่ง W ของเด็ก

ท่านั่ง W ของเด็ก ระวังอันตรายมาก เมื่อ ลูกน้อยของเราเริ่มจะหัดนั่งได้ หรือ หัดเดินได้แล้ว ท่านั่งที่สบายที่สุดของลูกคือท่านั่งที่เป็นรูปตัว ดับเบิ้ลยู หากลูกของบ้านไหนนั่งท่านี้ให้ระวั่งเอาไว้ เพราะเป็นท่านั่งที่อันตรายมาก ทางอินดี้แนะนำเลยถ้าเห็นลูกนั่งท่านี้ ให้จับลูกจัดท่านั่งใหม่เลย เพื่อผลดีในอนาคตของลูก ซึ่งวันนี้เรามาทำความรู้จักกับท่านั่ง ตัวดับเบิ้ลยู กันว่ามันอันตรายแค่ไหนสำหรับลูกของเรา

พ่อแม่จะพบว่าเด็กเล็กหลาย ๆ คน ชอบนั่งในท่างอเข่า เข่าชิดกันขาท่อนล่างแบะออก ในท่าที่เรียกว่า ท่า W เพราะนั่งท่านี้ช่วยเด็กทรงตัวได้ดี ทำให้เด็กชอบนั่ง แต่ทำไมคุณหมอถึงไม่อยากให้นั่งท่านี้ มาดูรายละเอียดกัน

ท่านั่ง W ของเด็ก คืออะไร

คุณพ่อ คุณแม่  เด็กแทบจะทุกคนเวลาที่นั่งกับพื้นนั้น จะชอบนั่งท่า W (W Sitting)  คือ การนั่งแบะขาออกสองข้าง  โดยหันฝ่าเท้าออกไปทางด้านข้างโดยที่สะโพกนั้น อยู่ตรงกลางระหว่าง ขาทั้งสอง  ซึ่งขานั้นดูแล้วเหมือนกับตัว W นั่งเองซึ่งการที่เด็กเล็กๆนั่งแบบนี้เพราะว่า  เป็นท่าที่นั่งสบาย  ไม่ต้องออกแรงทรงตัวมาก  ไม่เอนล้มง่าย

าเหตุที่ไม่ควรให้นั่ง ท่านั่ง W ของเด็ก

เพราะการนั่งท่านี้อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดกระดูกขาท่อนบนบิดเข้าด้านในมาก ผิดปกติ (Internal Femoral Torsion) เด็กอายุช่วงระหว่าง 2-5 ปี จำนวนไม่น้อยที่เดินโดยมีปลายเท้านิ้วเท้า บิดเข้าด้านใน แทนที่จะชี้ตรงไปข้างหน้า เมื่อเด็กโตขึ้นกลับพบว่ามีการปรับเป็นปกติได้เอง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังมีการบิดจนต้องผ่าตัดรักษา แต่การยืน เดิน แบบนี้มักทำความลำบากใจให้ผู้ปกครองเสมอเนื่องจากเกรงว่าลูก ๆ จะพิการ

ตามธรรมชาติเด็กทุกคนกระดูกขาท่อนบนจะบิดเข้าด้านในอยู่แล้วเช่นกันแต่ในขนาดที่น้อยกว่านี้ และ เมื่อเด็กโตขึ้นจะปรับสภาพได้เองโดยการบิดของกระดูกจะลดลงเหลือเพียงเล็กน้อย เมื่ออายุประมาณ 7 ปีขึ้นไป และ จะคงสภาพการบิดเท่านี้จนเป็นผู้ใหญ่ การปรับสภาพดังกล่าวเกิดได้ในเด็กที่มีปลายเท้าบิดเข้าด้านในเช่นกัน

W sitting เป็นแบบไหน

W-Shape Sitting เป็นท่านั่งที่เรามักจะเห็นเด็กนั่งอยู่บ่อยๆ คือ การที่เด็กนั่งอยู่บนพื้นแบบที่ก้นแนบพื้นอยู่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง โดยเข่างอพับ และ ขาแบะออกทางด้านข้าง เท้าชี้ไปด้านหลัง มองแล้วคล้ายรูป W ซึ่งเป็นท่านั่งที่ต่อเนื่องมาจากการคลานไปมา แล้วหยุดนั่งเพื่อเล่นของเล่น พอเด็กนั่งแล้วจึงรู้สึกสบาย และ มั่นคง ตัวไม่โอนเอนไปมา เพราะว่ามีฐานรองรับน้ำหนักตัว ที่กว้าง แต่อาจจะสังเกตเห็นได้ว่าเขาจะไม่สามารถ เอื้อมมือไปหยิบของในระยะไกลๆ ได้ 

การนั่งแบบ w sitting

W sitting ทำไมถึงนั่งไม่ได้

การนั่งแบบ W-Shape Sitting ถึงจะดูเหมือนสบาย และ เด็กชอบนั่ง แต่ว่าก็มีผลเสียกว่าที่คิด เพราะการนั่งแบบนี้เป็นท่านั่งที่ไม่ดีต่อสรีระร่างกาย คือ เด็กจะหมุน หรือ เอี้ยวตัวไม่ถนัด ทำให้เสียสมดุล ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในเด็กควรได้พัฒนาการทรงท่าที่มีความสมดุล (Balance reactions) จากการเอื้อมมือ หรือ เอี้ยวตัวไปหยิบของ

W sitting

นอกจากนี้พอนั่งท่านี้แล้วกล้ามเนื้อหลังของเด็กจะไม่ได้ออกแรงเพื่อการทรงตัวนั่ง เพราะแรงจะไปอยู่ที่บริเวณต้นขาหมด จึงส่งผลต่อกระดูกสันหลัง โดยอาจทำให้กระดูกสันหลังเรียงตัวผิดปกติไปจากแนวเดิม อีกทั้งยังมีแรงบิดที่ผิดปกติต่อข้อสะโพก และ ข้อเข่าของเด็กจากการนั่งท่า W-Shape Sitting อีกด้วย

การรักษากระดูกขาท่อนบนบิดเข้าด้านในมากผิดปกติ (INTERNAL FEMORAL TORSION)

จะมีการปรับสู่ปกติได้เอง การนั่งท่าขัดสมาธิแทนการนั่งรูปตัวอักษร W อาจมีส่วนช่วยในการปรับสภาพ สำหรับการรักษาการผ่าตัดแก้ไขทำเฉพาะในรายที่เป็นมาก และ ทำในเด็กอายุเกิน 10 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยพิการทางสมอง

ท่านั่งที่เหมาะสม

ท่านั่งที่เหมาะสมสำหรับเด็กก็คือ ท่านั่งที่ทำให้เขาได้ใช้กล้ามเนื้อหลังในการทรงตัว นั่งได้เต็มก้น ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่วางอย่างผิดสรีระ สำหรับท่านั่งที่แนะนำก็คือ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งเหยียดขาตรง และ นั่งบนเก้าอี้ โดยถ้านั่งขัดสมาธิ หรือ พับเพียบก็อาจต้องสลับซ้าย-ขวาให้สมดุลกัน และ ถ้าเห็นลูกนั่งแบบ W-Shape Sitting ก็ควรปรับให้ลูกนั่งท่าอื่นก็จะดีกว่า

บทความที่แล้วทางอินดี้ได้แนะนำบทความเกี่ยวกับ การหลอกให้ลูกกลัว ซึ่งการหลอกให้ลูกกลัวจะทำให้พัฒนาการของลูก ถดถอย หากสนใจอ่านบทความสามารถอ่านได้ที่ เรื่อง หลอกให้ลูกกลัว พัฒนาการถดถอย


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save